“3Rs ประชารัฐ
เพื่อมุ่งสู่จังหวัดสะอาด”
การคัดแยกขยะและจัดการขยะในชุมชนโดยแปรสภาพขยะเปียกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามอัตราการขยายตัวของประชากร ประกอบกับมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราชจึงยังไม่มีระบบการเก็บขยะจากส่วนกลาง ทำให้ภาระการจัดการขยะดังกล่าวตกเป็นของแต่ละครัวเรือนที่ต้องกระทำกันเอง โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งมิได้มีการคัดแยกประเภทของขยะ เช่น ขุดหลุมฝัง การเทราด หรือสาดตามโคนต้นไม้ และด้วยวิธีการจัดการเช่นนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ
องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช จึงได้ดำเนิน “โครงการคัดแยกขยะและจัดการขยะในชุมชนโดยแปรสภาพขยะเปียกเป็นปุ๋ยอินทรีย์” จุดเด่นอยู่ที่การเน้น กระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน
๑.การมีส่วนร่วมในการศึกษาชุมชน จะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้ร่วมกันเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต และสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำงานและร่วมกันค้นหาปัญหา สาเหตุ ตลอดจนลำดับความสำคัญของปัญหา
๒.การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยมีการอภิปรายปัญหา แสดงความคิดเห็น เพื่อกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ วิธีการ แนวทางการดำเนินการ ทรัพยากรที่ต้องใช้
๓.การมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาโดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ แรงงาน เงินทุน หรือเข้าร่วมการบริหารงาน การใช้ทรัพยากร การประสานงาน และการดำเนินการขอความช่วยเหลือ
๔.สร้างการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกันจากการพัฒนา เป็นการนำกิจกรรมเอามาให้เกิดประโยชน์ ทั้งทางด้านวัตถุ จิตใจ โดยอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของบุคคลและสังคม
๕.การมีส่วนร่วมในการติดตาม และการประเมินผลการพัฒนา ที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ทันที
ผลลัพธ์ความสำเร็จ “ครัวเรือนต้นแบบ”
การดำเนินการของโครงการสามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนในตำบลเทพราช เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ได้แก่ อบต.เทพราช และโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลเทพราช 6 แห่ง จนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน ๒,๖๒๓ ครัวเรือนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้ จนทำให้ประชาชนในชุมชนตระหนักรู้และเห็นคุณประโยชน์ของการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจที่พบว่าประชาชนจํานวน ๙๐ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ยังคงต้องการที่จะดําเนินการแยกขยะและจัดการขยะในชุมชนโดยแปรสภาพขยะเปียกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปในอนาคต อีกทั้งการนําขยะที่ย่อยสลายได้ไปทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ใส่ต้นไม้ หรือพืชผักสวนครัว ซึ่งสามารถนำมาบริโภคเองหรือขายก็ได้ ยังเป็นทั้งการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
การตระหนักรู้รวมทั้งพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ก็ได้สะท้อนให้เห็นคุณธรรมต่างๆ ดังนี้
๑.พอเพียง การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตาม สภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งพาตนเองได้อ ตามปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้ พระราชทานไว้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีหลัก คิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
๒. จิตอาสา จากมีการรวมกลุ่มของประชาชนดำเนินกิจกรรม เพื่อส่วนรวม เช่น ศูนย์การเรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบ การจัดทำคู่มือและดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับชุมชน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างสมดุล โดยการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจนก่อให้เกิดเป็นพหุภาคีเครือข่าย มีการนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน สนับสนุนการจัดทำ บัญชีรับ-จ่าย ครัวเรือนเพื่อสร้างวินัยทางการเงิน จนสามารถลดค่าใช้ที่ไม่จำเป็น เกิดการสร้างอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น บนพื้นฐานของการรู้จักพึ่งตนเอง
ผู้ประสานงานติดต่อในพื้นที่ :
นางสาวอวยพร อรุณกมล
โทรศัพท์ ๐๙๕ ๔๒๗ ๔๕๔๔
แสดงความคิดเห็น