community image

ชุมชนคุณธรรมวัดโคกเหล็ก

อ.ห้วยราช ต.โคกเหล็ก จ.บุรีรัมย์
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 1 คน
cover

วัดโคกเหล็กชุมชนคุณธรรมต้นแบบชมปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

ตะวันลอดช่องสาดส่องแสงสีทองตรงประตูมณฑปสวยงามมาก


รางวัลเสาเสมาธรรมจักร

รางวัลพระราชทานผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาสงเคราะห์ประชาชนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

จากพระหัตถ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



พิธีเถราภิเษกสรงน้ำพระอุปัชฌาย์ใหม่เพื่อเป็นศิริมงคล


"พระครูปริยัติธรรมวิบูล,ดร.เจ้าอาวาสวัดโคกเหล็กองค์ปัจจุบันได้ขับเคลื่อนโครงการชุมชนคุณธรรมต้นแบบมาอย่างต่อเนื่องและพัฒนาทุกด้านเพื่อสงเคราะห์ประชาชน เช่นการสร้างถนนหนทางเพื่อขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร แก้พื้นที่ตาบอดชาวบ้านเดือดร้อนทางเข้าออกไปทำไร่ทำนาได้ถนนหลายสายโดยการบิณฑบาตที่ดินที่ตัดถนนผ่านชาวบ้านก็ร่วมมือเป็นอย่างดีน่าอนุโมทนา ทางวัฒนธรรมจังหวัดได้ส่งประวัติเข้ารับพระราชทางรางวัลเสาเสมาธรรมจักรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาสงเคราะห์ประชาชน เมื่อพ.ศ.๒๕๖๒ร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนโครงการรักษาศีล๕ที่ชุมชนใกล้เคียงเพื่อสร้างความสามัคคีของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ร่วมแต่งชุดผ้าไหมพื้นเมือง นุ่งโสร่ง โจงกระเบนซึ่งเป็น"



สังคมไทยเราทุกวันนี้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากในด้านเทคโนโลยีที่เข้ามีบทบาทกับเยาวชนอย่างมากชนิดที่ว่าขาดไม่ได้เลยทีเดียว ปัญหาต่างๆ ก็ตามมาอย่างมากมายในสังคม เช่น พ่อแม่ต้องทำงานหนักมากกว่าเดิมเพราะลูกใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่พ่อแม่หามา บางครอบครัวต้องทิ้งลูกให้อยู่กับตายาย ส่วนพ่อแม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดเพื่อหารายได้มาเสริม ทำให้เกิดช่องว่าง เด็กขาดความอบอุ่น บางครั้งตายายสอนลูกไม่ได้ เกิดการตามใจจนเด็กติดเป็นนิสัยและไม่ค่อยเชื่อฟังคำสอนของผู้ปกครอง

แม้เราจะเป็นเมืองพระพุทธศาสนาแต่ปัจจุบันเด็กๆ กลับไม่มีโอกาสได้เข้าวัดเพื่อศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง ตื่นเช้าแล้วก็แต่งตัวไปโรงเรียนทันที ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่และผู้ปกครอง จะเข้าวัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาก็ต่อเมื่อมีวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เด็กๆ อาจไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ทางวัดจึงมีแนวความคิดริเริ่มในการจัด “โครงการวันพระสำหรับนักเรียน” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้เด็กๆ หรือนักเรียนมีโอกาสเข้าวัดฟังธรรมตามสมควรแก่วัย โดยการประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำเด็กนักเรียนเข้ามาทำบุญตักบาตรในวัดทุกๆ เดือนหรือตามที่โรงเรียนมีความพร้อมไม่ขัดต่อการเรียนการสอน และก็ได้รับการตอบรับจากสถานศึกษาเป็นอย่างดีและได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดอย่างต่อเนื่อง จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ได้รับการยอมรับสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี


ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้เด็กซึมซับกับพระพุทธศาสนามากขึ้น เข้าใจหลักและหน้าที่ของความเป็นชาวพุทธที่ดี มีความนอบน้อมต่อพระสงฆ์ มีการบูชาพระรัตนตรัย ไหว้พระสวดมนต์ อาราธนาศีล อาราธนาธรรมได้อย่างถูกต้อง และได้มีโอกาสศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกจิตโดยการนั่งสมาธิและแผ่เมตตา เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และคุณของบิดามารดา

นอกจากอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำบุญตักบาตรแล้ว ทางวัดยังสอนให้เด็กๆ ฝึกการอดออมประหยัดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิด “ โครงการเด็กดีเศรษฐีน้อย” โดยการหาแรงจูงใจและอธิบายให้เด็กอยากจะร่วมกิจกรรมการออม เช่น ถ้าเราออมวันละบาท ก็จะได้เงิน ๓๖๕ บาทต่อปี ถ้าเราออมอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราเรียนจบมัธยมปีที่ ๓ เราสามารถมีเงินติดตัวอย่างแน่นอน เป็นการยกตัวอย่างให้เด็กๆเข้าใจและสร้างจูงใจให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

๑.ใช้ทฤษฎี “สอนลูกให้เลี้ยงปลา อย่าหาปลาให้เขากินอย่างเดียว”การสอนลักษณะอย่างนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ซึมซับทุกวันและสร้างนิสัยการออมอย่างมีระบบสม่ำเสมอและต่อเนื่องและมีหลักประกันที่มั่นคง โดยทุกๆ เช้าเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. เด็กจะต้องแวะที่วัดก่อนทุกครั้งเพื่อมาออมเงิน

๒.ใช้หลักจิตวิทยา เสริมแรงจูงใจ นั่นก็คือ ให้เด็กเขียนเอง วางบาตรเล็กๆพร้อมเงินทอนในบาตรให้เด็กๆ ได้จัดการและทอนเงินเอง เขียนตัวเลขลงในสมุดรับฝากเอง โดยมีสัญลักษณ์ มงกุฎเป็นแรงจูงใจ


มงกุฎคือเงินปันผลหรือดอกเบี้ยแต่เด็กไม่เข้าใจเรื่องดอกเบี้ย เขาเข้าใจว่าถ้าออม ๑๐๐ บาท จะได้เพิ่ม ๑๐ บาทฟรีและมีมงกุฎครอบอยู่บนเลข ๑๐ สัญลักษณ์มงกุฎนี้สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับเด็กเป็นอย่างมาก และขยันที่จะมาฝากอย่างสม่ำเสมอเพราะอยากได้มงกุฎ


เด็กจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเมื่อเสร็จสิ้นโครงการคือเมื่อเรียนจบชั้นม. ๓ หลังจากการดำเนินการออมได้ระยะหนึ่ง ปรากฏเป็นผลสัมฤทธิ์เกิดเศรษฐีน้อยๆ อย่างน่าภาคภูมิใจ


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

๑.เด็กเล็กๆ มีเงินเพิ่มขึ้นจากการออมอย่างเห็นได้ชัด เป็นการปลูกฝังคุณธรรมเรื่องวินัย เพราะถ้าเด็กมีวินัย ทำจนเป็นนิสัยก็จะเกิดการออมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีโครงการเด็กดีเศรษฐีน้อยนั้น เคยมีแนวคิดและให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนมาตลอดทุกปี แต่ปรากฏว่าเด็กที่ได้รับทุนไม่เห็นเส้นทางการเงินของตนเอง ไม่รู้สึกถึงคุณค่าที่ได้รับเท่ากับการออมด้วยตนเองและการได้รับมงกุฎ จากการออมในโครงการฯ

๒.เด็กมีเงินติดตัวเป็นต้นทุนไปเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นไปเมื่อเรียนจบชั้น ม.๓ เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นผลงานที่เขาได้ปฏิบัติด้วยตนเอง

๓.เกิดคุณธรรมคือความพอเพียง วินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีหิริโอตตัปปะ การละอายความชั่วกลัวต่อความผิด ไม่กล้าทุจริต ใช้หลักหัวใจเศรษฐีคือ ขยันหา รักษาทรัพย์ให้ดี มีกัลยามิตรและเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ พร้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน คือไม่ใช่จ่ายเกินตัว ใช้เท่าที่จำเป็น เหลือฝากหรือออมไว้เพื่อการศึกษาและอนาคตที่ดีในภายภาคหน้าต่อไป


ตะวันลอดช่องสาดส่องแสงสีทองตรงประตูมณฑปสวยงามมาก

สังคมไทยเราทุกวันนี้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากในด้านเทคโนโลยีที่เข้ามีบทบาทกับเยาวชนอย่างมากชนิดที่ว่าขาดไม่ได้เลยทีเดียว ปัญหาต่างๆ ก็ตามมาอย่างมากมายในสังคม เช่น พ่อแม่ต้องทำงานหนักมากกว่าเดิมเพราะลูกใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่พ่อแม่หามา บางครอบครัวต้องทิ้งลูกให้อยู่กับตายาย ส่วนพ่อแม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดเพื่อหารายได้มาเสริม ทำให้เกิดช่องว่าง เด็กขาดความอบอุ่น บางครั้งตายายสอนลูกไม่ได้ เกิดการตามใจจนเด็กติดเป็นนิสัยและไม่ค่อยเชื่อฟังคำสอนของผู้ปกครอง

แม้เราจะเป็นเมืองพระพุทธศาสนาแต่ปัจจุบันเด็กๆ กลับไม่มีโอกาสได้เข้าวัดเพื่อศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง ตื่นเช้าแล้วก็แต่งตัวไปโรงเรียนทันที ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่และผู้ปกครอง จะเข้าวัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาก็ต่อเมื่อมีวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เด็กๆ อาจไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา

ทางวัดจึงมีแนวความคิดริเริ่มในการจัด “โครงการวันพระสำหรับนักเรียน” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้เด็กๆ หรือนักเรียนมีโอกาสเข้าวัดฟังธรรมตามสมควรแก่วัย โดยการประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำเด็กนักเรียนเข้ามาทำบุญตักบาตรในวัดทุกๆ เดือนหรือตามที่โรงเรียนมีความพร้อมไม่ขัดต่อการเรียนการสอน และก็ได้รับการตอบรับจากสถานศึกษาเป็นอย่างดีและได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดอย่างต่อเนื่อง จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ได้รับการยอมรับสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้เด็กซึมซับกับพระพุทธศาสนามากขึ้น เข้าใจหลักและหน้าที่ของความเป็นชาวพุทธที่ดี มีความนอบน้อมต่อพระสงฆ์ มีการบูชาพระรัตนตรัย ไหว้พระสวดมนต์ อาราธนาศีล อาราธนาธรรมได้อย่างถูกต้อง และได้มีโอกาสศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกจิตโดยการนั่งสมาธิและแผ่เมตตา เด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และคุณของบิดามารดา

         นอกจากอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำบุญตักบาตรแล้ว ทางวัดยังสอนให้เด็กๆ ฝึกการอดออมประหยัดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิด “ โครงการเด็กดีเศรษฐีน้อย” โดยการหาแรงจูงใจและอธิบายให้เด็กอยากจะร่วมกิจกรรมการออม เช่น ถ้าเราออมวันละบาท ก็จะได้เงิน ๓๖๕ บาทต่อปี ถ้าเราออมอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราเรียนจบมัธยมปีที่ ๓ เราสามารถมีเงินติดตัวอย่างแน่นอน เป็นการยกตัวอย่างให้เด็กๆเข้าใจและสร้างจูงใจให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

๑.ใช้ทฤษฎี “สอนลูกให้เลี้ยงปลา อย่าหาปลาให้เขากินอย่างเดียว”การสอนลักษณะอย่างนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ซึมซับทุกวันและสร้างนิสัยการออมอย่างมีระบบสม่ำเสมอและต่อเนื่องและมีหลักประกันที่มั่นคง โดยทุกๆ เช้าเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. เด็กจะต้องแวะที่วัดก่อนทุกครั้งเพื่อมาออมเงิน

๒.ใช้หลักจิตวิทยา เสริมแรงจูงใจ นั่นก็คือ ให้เด็กเขียนเอง วางบาตรเล็กๆพร้อมเงินทอนในบาตรให้เด็กๆ ได้จัดการและทอนเงินเอง เขียนตัวเลขลงในสมุดรับฝากเอง โดยมีสัญลักษณ์มงกุฎเป็นแรงจูงใจ

“มงกุฎ” คือเงินปันผลหรือดอกเบี้ยแต่เด็กไม่เข้าใจเรื่องดอกเบี้ย เขาเข้าใจว่าถ้าออม ๑๐๐ บาท จะได้เพิ่ม ๑๐ บาทฟรีและมีมงกุฎครอบอยู่บนเลข ๑๐ สัญลักษณ์ “มงกุฎ “ นี้สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้กับเด็กเป็นอย่างมาก และขยันที่จะมาฝากอย่างสม่ำเสมอเพราะอยากได้มงกุฎ เด็กจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเมื่อเสร็จสิ้นโครงการคือเมื่อเรียนจบชั้นม. ๓ หลังจากการดำเนินการออมได้ระยะหนึ่ง ปรากฏเป็นผลสัมฤทธิ์เกิดเศรษฐีน้อยๆ อย่างน่าภาคภูมิใจ 


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

๑.เด็กๆและเยาวชนในโรงเรียนวัดบ้านโคกเหล็กและใกล้เคียง  มีเงินเพิ่มขึ้นจากการออมอย่างเห็นได้ชัด เป็นการปลูกฝังคุณธรรมเรื่องวินัย เพราะถ้าเด็กมีวินัย ทำจนเป็นนิสัยก็จะเกิดการออมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีโครงการเด็กดีเศรษฐีน้อยนั้น เคยมีแนวคิดและให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนมาตลอดทุกปีทุนละ ๑,๐๐๐ บาท  แต่ปรากฏว่าเด็กที่ได้รับทุนไม่เห็นเส้นทางการเงินของตนเอง ไม่รู้สึกถึงคุณค่าที่ได้รับเท่ากับการออมด้วยตนเองและการได้รับมงกุฎ จากการออมในโครงการฯ เลยกลับความคิดใหม่ว่า ถ้าเด็กได้รับเงิน ๑,๐๐๐ บาทจากหลวงพ่อเท่ากับเด็กคนนั้นมีเงินออม ๑๐,๐๐๐ บาท หรือ ร้อยละ ๑๐ บาท จากการสะสมจนสิ้นโครงการ 

ปีแรกนำร่องไปก่อน เด็กๆรับสูงสุด ๑หมื่นบาท ต่อมาผู้ปกครองเห็นว่าโครงการนี้ดีเลยสนับสนุนเด็กๆให้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดพอครบสัญญาเด็กๆสามารถมีเงินเป็นก้อนอย่างรายนี้มีเงินทั้งสิ้น ร่วม ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเงินปันผล ๕,๐๐๐ บาท(ถ้าผู้ปกครองเอาเงินจำนวนมากมาออมหลวงพ่อจะไม่รับ เพราะผิดระเบียบเป็นการจัดตั้งเพื่อหวังปันผล ไม่เกิดประโยชน์แก่เด็กๆ) โครงการนี้ได้ความซื่อสัตย์เด็กๆเขียนเอง ทอนเงินเอง เงินในบาตรไม่มีหาย เพราะสอนเด็กๆเสมอว่า “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”


จบโครงการได้เงินก้อนโตพร้อมปันผล ตอนเด็กๆเรียกว่า “มงกฎ “ หรือดอกเบี้ยนั่นเอง



๒.เด็กมีเงินติดตัวเป็นต้นทุนไปเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นไปเมื่อเรียนจบชั้น ม.๓ เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นผลงานที่เขาได้ปฏิบัติด้วยตนเอง

๓.เกิดคุณธรรมคือความพอเพียง วินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีหิริโอตตัปปะ การละอายความชั่วกลัวต่อความผิด ไม่กล้าทุจริต ใช้หลักหัวใจเศรษฐีคือ ขยันหา รักษาทรัพย์ให้ดี มีกัลยามิตรและเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ พร้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน คือไม่ใช่จ่ายเกินตัว ใช้เท่าที่จำเป็น เหลือฝากหรือออมไว้เพื่อการศึกษาและอนาคตที่ดีในภายภาคหน้าต่อไป



สาธิตขบวนแห่ประเพณี(แซนโฎนตา) สาทรเดือน ๑๐ ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ ตามความเชื่อดั้งเดิมองชุมชนตำบลโคกเหล็กและใกล้เคียง



สอนให้เด็กๆเข้าวัดเพื่อออม ใช้ชื่อโครงการนี้ว่า ( โครงการเด็กดีเศรษฐีน้อย) แต่ละคนก็ประสบผลสำเร็จแตกต่างกันตามความสามารถและความต่อเนื่องในการร่วมโครงการเมื่อจบม.๓ สามารถมีเงินทุนเพื่อศึกษาต่อในชั้นสูงๆต่อไปลดภาระของผู้ปกครองและได้บ่มนิสัยให้อดออมประหยัดอีกด้วย



กิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โครงปลูกป่าร่วมกับชุมชน บ้านวัดโรงเรียน



ส่วนราชการเยี่ยมชมป่ามะค่าโมงและป่าพะยูงและนานาพันธุ์ที่ปลูกไว้ในเนื้อที่ ๑๖ ไร่



สร้างถนนโดยการบิณฑบาตที่ชาวบ้านชวนฝรั่งสร้างถนนเพื่อความสะดวกในการขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตรเพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ตาบอดเข้าออกไม่ได้


กิจกรรมแห่ตราตั้งพระอุปัชฌาย์,และเสาเสมาธรรมจักร รางวัลพระราชทาน ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาสงเคราะห์ประชาชน, และปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา, พระครูปริยัติธรรมวิบูล,ดร. เจ้าอาวาสวัดโคกเหล็ก ตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราช จังหวัด บุรีรัมย์ ด้วยช้าง ๖เชือกเมื่อวันที่ ๑๗ –๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖



อบรมคุณธรรมจริธรรมให้กับเยาวชนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี พร้อมกิจกรรมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งอย่างมีระเบียบและพร้อมเพรียงกัน



นมัสการสรีรสังขารหลวงปู่พระครูปราโมทย์ธรรมากร


โรงอุโบสถวัดโคกเหล็ก


ภาพถ่ายมุมสูงมณฑปพระครูปราโมทย์ธรรมากรอดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเหล็กและบูรพาจารย์อดีตเจ้าอาวาสทุกรูป และเสนาสนะของวัดเช่นกุฏิไม้เสา ๗๐ ต้น อายุ ๑๐๐ ปีใหญ่ที่สุดของอำเภอห้วยราชและสมบูรณ์แบบ ใช้งานได้ ปลวกทำลายไม่ได้คงทนถาวร เพราะมีแต่ไม้เนื้อแข็งประเภทไม้เต็ง ไม้แดงเป็นต้น



กิจกรรมของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ พลังบวร. แห่เทียนเข้าพรรษาทุกปีมีให้ชมตลอดเด็กๆยิ้มแย้มแจ่มใสร่วมกิจกรรมเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุข


กิจกรรมเด่นของวัดที่ต้องจัดทุกปีช่วงก่อนออกพรรษา คือการกวนข้าวทิพย์ กิจกรรมหอมหวานอร่อย สร้างความสามัคคีของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ที่ทางวัดจัดยาวนานต่อเนื่อง ช่วงก่อนวันออกพรรษา ๑ วันของทุกปิ และกิจกรรมตักบาตรเทโวโรหณะ



ข้าวทิพย์รสชาติอร่อยของดีบุรีรัมย์ชุมชนคุณธรรมวัดโคกเหล็ก



ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
089-5808575

แสดงความคิดเห็น

profile