กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ตั้งอยู่ในอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เดินเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทย และชาวจีนที่ล่องเรือสำเภามาทำการค้าขายที่เมืองไทยแล้วไม่กลับเมืองจีน จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๓ เหตุการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านเกิดสงครามในประเทศกัมพูชา รวมถึงการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสทำให้ชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร หรือ แขกจาม ต้องอพยพหนีกระจัดการจายกันไปตามที่ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว
ด้วยเหตุนี้ ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวจึงเป็นที่รู้จักในชื่อชุมชนที่มี ๒ ศาสนา และ ๓ วัฒนธรรม คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม จากวัฒนธรรมชาวไทย ขาวจีน และชาวมุสลิม แม้จะมาจากต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรม แต่ทุกคนก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เมื่อกาลเวลาผ่านไปวัฒนธรรมต่างๆ ก็ผสมกลมกลืนอย่างลงตัว แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ที่เป็นเสน่ห์เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
วัดน้ำเชี่ยวตั้งอยู่ใจกลางชุมชน โดยมีผู้คนอยู่อาศัยในพื้นที่อย่างหนาแน่น เป็นชุมชนเมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยชุมชนนี้มีอาชีพเป็นชาวประมง และชาวสวน เนื่องจากภายในชุมชนมีคลองน้ำเชี่ยวตัดผ่าน และมุ่งหน้าไปสู่อ่าวไทย จึงทำให้มีชาวเรือออกไปจับปลาทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม นอกจากนี้บริเวณรอบๆ ยังมีป่าชายเลน รวมถึงพื้นที่ที่สามารถทำการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงนำเอาผลิตผลเหล่านั้นมาค้าขายเพื่อหารายได้ให้แก่ชุมชน สมัยอดีตคนที่นับถือศาสนาอิสลาม จะอยู่กันเป็นกลุ่ม และไม่ค่อยมีกิจกรรมกับคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
แต่ทางผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น จำกิจกรรมช่วยส่งเสริมให้ผู้นำทั้ง ๒ ศาสนามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยอาศัยการประชุมประชาคมหมู่บ้านในแต่ละครั้งจะมีการนิมนต์เจ้าอาวาสวัดน้ำเชี่ยว และอิหม่ามประจำมัสยิด เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟัง และให้แนวคิดการวางแผนชุมชนโดยมีคณะกรรมหมู่บ้าน และชาวบ้านเข้าร่วมประชุม และจัดทำเป็นธรรมนูญหมู่บ้านเพื่อเป้นข้อปฏิบัติ เป็นแนวทาง กำหนดกฎกติกาให้ขาวบ้านได้ประพฤติปฏิบัติ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
และเนื่องจากชุมชนวัดน้ำเชี่ยว เป็นชุมชน ๒ ศาสนา และ ๓ วัฒนธรรม คือ ศาสนาพุทธ และอิสลาม จากวัฒนธรรมชาวไทย ชาวจีน และชาวมุสลิม จะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา ขนมธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ช่วงแรกๆ คนไทยที่นับถือพุทธอาจไม่เข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของคนมุสลิมในทางกลับกันคนอิสลามเองไม่เข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเฉกเช่นเดียวกัน พอมีการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่นที่นับถือศาสนาอิสลามจึงเกิดความกลมกลืนของทั้ง ๒ ศาสนา เช่น การแต่งงานระหว่างคนไทยพุทธ และคนไทยมุสลิม จนมาถึงปัจจุบันชุมชนแทบจะไม่มีความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม
ความท้าทาย
ข้อปฏิบัติหลักเกณฑ์ที่ทางชุมชนได้กระทำร่วมกันเป็นแนวทางเดียวกัน โดยยึดถือกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษคือการแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือคนในชุมชนโดยไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ความสามัคคี ช่วยกันทำกิจกรรมในชุมชนด้วยความพร้อมเพรียงไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืองานวันสำคัญทางศาสนา งานเทศกาลต่างๆ ที่ชุมชนได้จัดขึ้น
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากความหมายของคุณธรรม ๕ ประการอยู่ในคุณธรรมข้อจิตอาสา คือ คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะ ช่วยเหลืองานส่วนรวม โดยมิหวังผลตอบแทน และเสียสละประโยชน์ส่วนตน ทำให้คนในชุมชนอยู่ด้วยกันด้วยความรักความสามัคคี ถ้อยทีถ้ายอาศัย ทำให้ความขัดแข้งไม่เกิดขึ้น ชุมชนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ปัจจุบันชุมชนวัดน้ำเชี่ยวเป็นชุมชนเมืองที่มีผู้คนอยู่กันหนาแน่น และเป็นชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม และศึกษาดูงานกันเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะมีผละกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ถ้ามองในแง่ดี คนในชุมชนยิ่งมีความรัก ความสามัคคีและช่วยกันระมัดระวังมากขึ้น สมาชิกในชุมชนมีการทำงานร่วมกับองค์รปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในข่วงที่มีการระบาดของโรค COVID – ๑๙ จากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในชุมชน ความรักใคร่ปรองดอง ความเห็นพ้องต้องกันไปในทิศทางเดียวกัน สามารถในหลักประกันที่จะบ่งชี้ได้ว่าการรวมพลังของบุคลากรของชุมชน ๒ ศาสนาและ ๓ วัฒนธรรม จะเกิดพลังในการขับเคลื่อนที่ส่งผลให้การประกอบกิจการต่างๆ สัมฤทธิ์ผล ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก และยั่งยืน
ข้อมูลการติดต่อ
พระครูโสภณสุตวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดน้ำเชี่ยว ๐๙๔-๔๒๗-๕๓๔๕
แสดงความคิดเห็น