community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าวัดเหนือ

อ.เมืองสกลนคร ต.เหล่าปอแดง จ.สกลนคร
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 5 คน
cover

“พระธาตุมหาพรหมคู่บ้านงานสงกรานต์แห่พระ

สักการะหลวงปู่สอน แหล่งบวรวัตถุโบราณ

มีตำนานผาแดงนางไอ่ สุดเร้าใจงานแข่งเรือ”



กว่าจะมาเป็นวันนี้

ชุมชนท่าวัดเหนือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ยึดหลักฮีต ๑๒ คอง ๑๔ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม และอาชีพรองคือการทำประมงเพราะมีพื้นที่ติดกับหนองหาร มีพิธีกรรมตลอดจนกฎเกณฑ์ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค พิธีบวงสรวงปู่สอน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ เมื่อมีการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนาและหน่วยงานในพื้นที่ได้มีการทบทวน เพื่อให้คนในชุมชนยึดมั่นในวิถีวัฒนธรรม และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 

         ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าวัดเหนือมีรูปแบบความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบที่สำคัญ สามารถสรุปได้ ๓ รูปแบบ ดังนี้

         ๑.ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับคนในชุมชนในการรับฟังปัญหาและการแสดงความคิดเห็น จากกระบวนการมีส่วนร่วม ในการค้นหาสาเหตุของปัญหา และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม มีการกำหนดกิจกรรมระยะสั้นและระยะยาว กำนด เป้าหมายในการพัฒนา รวมถึง จัดทำแผนชุมชน โดยการบูรณาการการนำมิติทางวัฒนธรรมมาเข้าด้วย ทำให้เกิดแผนพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ

๒.การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่เป็นกระบวนการ ดังนี้

           ๑) การพัฒนาโครงการ/กิจกรรม จะเน้นการมีส่วนร่วม อาศัยการจัดทำเวทีประชาคม ระดมความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปและลงมติ

            ๒) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน จะเน้นกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และ ร่วมประเมินผล

   ๓) การขับเคลื่อนงาน กลุ่มกิจกรรมต่างๆ จะมีลักษณะการขับเคลื่อนกิจกรรม คือ การตั้งกฏิกา การฝึกอบรมเรื่องใหม่ๆ การนัดประชุมประจำเดือน การนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปจำหน่าย และการฝึกอบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

๓.การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และมีบทบาทในการพัฒนาโดยตรง ซึ่งเป็นการสนับสนุนที่มาจากนโยบายรัฐบาลผ่านโครงการต่างๆ ทั้งยังช่วยประสานในเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน   

         ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนอย่างมากในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ คือ กลุ่มผู้นำทางความคิด ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดมหาพรหมโพธิราช ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน หัวหน้าคุ้มบ้านทั้ง ๖ คุ้มบ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมพัฒนาด้วย


ความท้าทาย

         ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าวัดเหนือเป็นชุมชนที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากคนในชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เครือข่ายในชุมชนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา โดยมีการปฏิบัติหรือการพัฒนาสู่ความสำเร็จในการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ มีองค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้เป็นชุมชนที่สามารถก้าวข้ามปัญหาอุปสรรค คือ มีผู้นำที่มีคุณภาพ มีวิสัยทัศน์ มีความเสียสละ มีคุณธรรมและความสามัคคี มีประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่น ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา แก้ไขปัญหา และมีการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพ


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         จากองค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้เป็นชุมชนที่สามรถก้าวข้ามปัญหาอุปสรรค กระบวนการส่งเสริมการลดละเลิกอบายมุข ส่งผลทำให้คนในชุมชนพฤติกรรมของคนในชุมชนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

         อีกทั้งมีการปรับการดำเนินชีวิตให้เกิดความสมดุล ชุมชนได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเอง โดยให้รวมกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน ๖ ฐาน ดังนี้

         ฐานที่ ๑ ฐานเรียนรู้ด้านการลดรายจ่าย

         ฐานที่ ๒ เรียนรู้ด้านการเพิ่มรายได้

         ฐานที่ ๓ ฐานเรียนรู้ด้านประหยัด

         ฐานที่ ๔ ฐานเรียนรู้ด้านการเรียนรู้

         ฐานที่ ๕ ฐานเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         ฐานที่ ๖ ฐานเรียนรู้ด้านการเอื้ออารีย์

ผลจากการพัฒนาทำให้ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าวัดเหนือ เป็นชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อน    ด้วยพลัง บวร ต้นแบบ ให้ชุมชนอื่นได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้กับชุมชนตนเอง เป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีทรัพยากรในชุมชนที่มีทั้งทางธรรมชาติ มรดกภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ ยึดมั่นสืบสานสืบสานประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ยึดหลักการความมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนด้วยพลัง “บวร” ตลอดจนหน่วยงานราชการท้องที่ ท้องถิ่นและทุกๆภาคีเครือข่ายต่างๆที่คอยแนะนำสนับสนุน เน้นความเข้าใจ ความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออารีย์ของคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมสม่ำเสมอ


ข้อมูลการติดต่อ

นางทัศนีย์ ดาบสีพาย ผู้ใหญ่บ้านท่าวัดเหนือ

๐๘ ๔๔๖๗ ๔๗๗๒

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางทัศนีย์ ดาบสีพาย ๐๘ ๔๔๖๗ ๔๗๗๒

แสดงความคิดเห็น

profile