community image

ชุมชนคุณธรรมวัดต่อแพ

อ.ขุนยวม ต.แม่เงา จ.แม่ฮ่องสอน
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 11 มีนาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม: 4 คน
cover


“พึ่งพาตนเองได้ สังคมสันติสุข

วัฒนธรรมประเพณีงดงาม

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีเกษตรกรรม ภายในชุมชนนั้นประสบปัญหาคือ ก่อนหน้านี้ต่างคนต่างครอบครัว ต่างทำมาหากินเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ต่างคนต่างอยู่ มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันน้อย ทำให้มีระยะห่างของความสัมพันธ์ของคนในชุมชน อันส่งผลให้เกิดการขาดความสามัคคีในชุมชน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         จากสถานการณ์ข้างต้น ทำให้ชุมชนหารือร่วมกัน และได้ข้อสรุป คือ ดำเนินการแก้ปัญหาชุมชนโดยนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ และนำทุนชุมชนที่มี คือ วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาต่อยอดให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และใช้พลังบวรในการขับเคลื่อน มีวัดต่อแพเป็นลานกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และความสามัคคี ส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาและสร้างความยั่งยืนด้วยโรงเรียนและส่วนราชการในพื้นที่ ภายใต้ความพอประมาณ ใช้ทรัพยากรที่ชุมชนมีอย่างรู้คุณค่า มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน วัดต่อแพ โรงเรียนชุมชนต่อแพวิทยา และส่วนราชการในพื้นที่ มีผู้เฒ่าผู้แก่ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมทำให้ชุมชนมีการพัฒนาทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

เกิดกลุ่มอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่ม คือ กลุ่มจักสาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มการท่องเที่ยวในชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ กลุ่มโฮมสเตย์ มีการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการออม มีการบริหารจัดการชุมชนโดยคนในชุมชน ชุมชนมีความรัก ความสามัคคี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง และสามารถเป็นต้นแบบในด้านการบริหารจัดการชุมชนได้ ทำให้คนในชุมชนเกิดความสุข มีความภาคภูมิใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนรอดพ้นวิกฤต สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ


ความท้าทาย

         จากการดำเนินการพัฒนาชุมชนด้วยการนำแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน และการดำเนินชีวิต รวมถึงการทำทุนที่มีอยู่มาต่อยอก ทำให้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ขึ้น เช่น ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ มีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ชุมชนมีข้อจำกัดด้านการตลาดภายนอก และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆในจังหวัดที่ได้เห็นศักยภาพของชุมชน


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         

เกิดความรักใคร่สามัคคีในชุมชน ไม่ฟุ่มเฟือย มีการออมทรัพย์ ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการดูแลรักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับการรักษา สืบทอด พัฒนาต่อยอดเป็นรายได้เสริมให้คนในชุมชน

คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันทั้งหมู่บ้าน ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณี

ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีท้องถิ่น รวมถึงจัดงานประเพณีต่างๆ ทำให้ครัวเรือนในชุมชนมีความสุขและมีรายได้เพิ่มขึ้น

ชุมชนมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้วยพลังบวรที่เข้มแข็ง สะท้อนคุณธรรมด้านจิตอาสาที่ทุกคนในชุมชนมีร่วมกัน ด้วยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ

๑) ชุมชนมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนชุมชนามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร

๒) ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และมีการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

๓) มีผู้นำพลังบวร คือ รักษาการเจ้าอาวาสวัดต่อแพ ผู้นำชุมชน และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นผู้นำในการขับเคลื่อน และเชิญชวนประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นประโยชน์ในการร่วมดำเนินงาน

๔) งบประมาณสนับสนุนในด้านต่างๆจากทั้งภายในและภายนอกชุมชน ทำให้การดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมพลังบวรสำเร็จผลและบรรลุเป้าหมาย

๕) ชุมชนมีพื้นที่สำหรับการสาธิต เวทีการเรียนรู้ คือ ลานธรรม ลานวิถีไทย วัดต่อแพ และมีศูนย์การเรียนรู๋ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         

ชุมชนคุณธรรมวัดต่อแพได้ตั้งเป้าหมายที่จะเดินต่อ คือ ช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครบทุกครัวเรือน อนุรักษ์ทุนของชุมชนให้คงอยู่ สืบทอดสืบสานประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน ต่อยอดการดำเนินงานเพื่อให้เกิดพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องด้วยพลัง บวร


ผู้ติดต่อในพื้นที่

พระครูอนุกูลกัลยาณพจน์ ๐๘๙ ๒๖๕๙๒๗๐

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
พระครูอนุกูลกัลยาณพจน์ ๐๘๙ ๒๖๕๙๒๗๐

แสดงความคิดเห็น

profile