ชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำกลองเพล เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินของตนเอง ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงจากการเช่าที่ทำกิน อีกทั้งยังขาดแหล่งน้ำ คนในหมู่บ้านจึงอพยพไปทำงานถิ่นอื่น ทำให้ขาดวัยแรงงาน อีกทั้งเด็กบางส่วนจบเพียงกรศึกษาภาคบังคับ เนื่องจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ ชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำกลองเพล จึงนำหลัก “บวร” มาใช้ในการพัฒนาชุมชนภายใต้หลักคิดเป็นแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
๑.หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
๒.หลักเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลักการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิมของชุมชน
๓.ด้านวัฒนธรรม มีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ร่วมกันขับเคลื่อนจนประสบผลสำเร็จ
๔.หลักการมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมทำในการทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมจิตอาสา
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
การขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ตามเกณฑ์การประเมินตนเอง ๙ ขั้นตอน ได้แก่ ๑)ชุมชนมีประชุมเพื่อประกาศเจตนารมณ์หรือข้อตกลงร่วมกันที่จะขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนคุณธรรม
๒)ชุมชนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และร่วมกันกำหนดเป้าหมายใน “ความดีที่อยากทำ”
๓)ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนเกี่ยวกับปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยาก เป็นการระเบิดจากข้างใน
๔)ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีการส่งเสริมการทำความดีของชุมชน
๕)ชุมชนมีการติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อทบทวน ปรับปรุง แผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนให้มีคุณภาพ
๖)ชุมชนมีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดี บุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชน
๗)ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา ทำให้ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไข รวมทั้งส่งเสริมการทำความดีเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
๘)ชุมชนมีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เพิ่มเติมใน ๓ มิติ คือ การนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ
๙) ชุมชนมีองค์ความรู้จากการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นมาดูงานได้
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
๑.คนในชุมชนยืดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ ปัญหาต่างๆหรือสิ่งไม่ดีในชุมชนลดลงหรือหมดไป ไม่มียาเสพติด ไม่มีปัญหาขยะ ไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม การดื่มสุราลดลง และหนี้สินลดลง เป็นต้น สิ่งดีงามเกิดขึ้นในชุมชน คนในชุมชนมีความรักและสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนในชุมชนรู้สิทธิหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดี ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒.คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง เกษตรกรหลายรายปรับตัวได้รวดเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และสร้างรายได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน และมีกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน มีเงินกองทุนสะสมกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไม่พบปัญหาในชุมชนเรื่องหนี้สินนอกระบบ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่พบปัญหาไฟป่า และไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ
๓.คนในชุมชนสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ไม่พบปัญหาในชุมชน เรื่อง การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในงานบุญ ประเพณี งานศพ คนในชุมชนมีความจงรักภักดี เคารพเทิดทูนในสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์เกิดการรวมกลุ่มจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจร่วมพัฒนาชุมชนในด้า ต่างๆ
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
การจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อยอด ชุมชนมีการประเมินผลสำเร็จตามโครงการที่ระบุไว้ในแผน ทำให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไข และมีการส่งเสริมการทำความดีเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา เป็นชุมชน ลด ละ เลิกอบายมุข จากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และได้รับการสนับสนุนทรัพยากรและเงินทุนจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่
ผู้ประสานงานติดต่อในพื้นที่ : นายภูริพัฒน์ ดาลาดชัย มือถือ ๐๙๑-๐๕๒๕๘๐๙ ชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทันจังหวัดหนองบัวลำภู
แสดงความคิดเห็น