“ศาลกรมหลวงชุมพร อนุสรณ์วัดแหลมสน ร.5
งานผ้าป่ากลางน้ำ ก้าวล้ำประมงไทย
ตะเคียนใหญ่ร้อยปี กะปิดีชื่อดัง”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนปากน้ำประแสเป็นชุมชนบ้านเก่าโบราณริมแม่น้ำตั้งแต่สมัยอยุธยา มีแม่น้ำประแสกั้นเขตตำบล มีลำคลองไหลลงสู่ทะเล ทำให้มีความผูกพันกับลำนำ ประกอบอาชีพประมง เลี้ยงปลาน้ำกร่อยริมฝั่งแม่น้ มีความเป็นมาในด้านประเพณี พิธีกรรม เรือประมงขนาดใหญ่ บริเวณปากแม่น้ำเป็นชุมชนหนาแน่น รวมถึงเป็นแหล่งการค้า ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนคือ ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย โดยจะมีการทอดผ้าป่าในเวลากลางวัน และลอยกระทงในเวลากลางคืนของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ
ชุมชนใช้กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๙ ขั้นตอน เพื่อก้าวสู่ชุมชนคุณธรรม ประกอบด้วยการดำเนินงานดังนี้
๑.ผู้นำและคนในชุมชนประกาศเจตนารมณ์ ประกาศธรรมนูญชุมชน มีข้อตกลงร่วมกันเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรร่วมกัน
๒.กำหนดเป้าหมายของชุมชน คือปัญหาที่อยากแก้ความที่ดีอยากทำ มีการบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมพบปะพูดคุยเพื่อสร้างการรับรู้ พัฒนา และร่วมกันแก้ไขปัญหา
๓.ทำแผนชุมชนเพื่อดำเนินงานในเรื่องของปัญหาที่อยากแก้ความดีที่อยากทำ โดยวางแผนโครงการ กิจกรรมต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน
๔.จัดโครงการ กิจกรรมตามแผนที่วางไว้โดยการมีส่วนร่วมของคนนชุมชน อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
๕.ชุมชนมีการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนมีการจองที่พัก และโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านระบบออนไลน์
๖.เสน่ห์ของชุมชน คนในชุมชนมีความโอบอ้อมอารี มีไมตรีต่อกันดุจญาติมิตร มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัย มีมาตรฐานสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้
๗.ความสำเร็จของชุมชนที่บรรลุผลตามแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำและแกนนำชุมชนมีความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอื่นได้ รวมถึงคนในชุมชนนั้นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
๘.ชุมชนมีการจัดกิจกรรมตามข้อปฏิบัติหลักของชุมชน ๓ ด้าน คือ ด้านศาสนา ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการสืบสานวัฒนธรรม
๙.ก้าวสู่ความยั่งยืน ซึ่งชุมชนมีความรู้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นและขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดชุมชนคุณธรรมต่อไป
ความท้าทาย
ในระยะแรกนั้นการบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบ ไม่ชัดเจน โดยชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถยืดหยัดได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งคนในชุมชนต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ การขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนานั้นไม่สามารถดำเนินการแยกส่วนได้ ทุกภาคส่วนต้องกำหนดทิศทางในการพัฒนาร่วมกันอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน คือต้องอาศัยการตระหนักรู้จากภายใน สามารถใช้จุดแข็งที่มี รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้อย่างเท่าทัน
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในทางที่ดีขึ้น ๓ ด้าน
๑.จัดอบรมความรู้เรื่องยาเสพติดให้โทษ มีการรณรงค์ติดป้าย ลด ละ เลิกอบายมุข และสิ่งเสพติดให้โทษ โดยประกาศเสียงตามสาย และติดป้ายประชาสัมพันธ์ และโครงการงดเหล้า การพนัน ในงานศพเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนห่างไกลสิ่งเสพติด
๒.มีการกิจกรรมสร้างจิตสำนึก สืบทอดความเป็นไทย เช่น ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนร่วมกันรักษา อนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นชุมชนให้ดำรงคงอยู่สืบไป
๓.โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ เช่น การทำน้ำปลาคุณภาพสูงแบบดั้งเดิม กะปิเยื่อเคย เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือนในชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วย พลังบวรเป็นชุมชนที่มีอุดมการณ์ดำเนินชีวิตยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยผู้นำพลัง “ บวร” ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในการดำรงชีวิต ใช้ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นและขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดชุมชนคุณธรรมต่อไป
ข้อมูลการติดต่อ
นางสุภาพร ยอดบริบูรณ์ ผู้นำชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส ๐๘๑-๙๙๖-๓๙๓๘
แสดงความคิดเห็น