“ชุมชนน่าอยู่ คู่คุณธรรม ยึดมั่นในความดี
สามัคคีร่วมใจ”
เดิมชุมชนวัดสามบ่อ ประชากรประสบปัญหาความยากจน มีการบริโภคและใช้จ่ายอย่างเกินตัว ขาดหลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีหนี้สิน ค่าครองชีพสูง ทำให้หลายครอบครัวประสบปัญหาการเป็นหนี้สิน ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ ขาดคุณธรรม จริยธรรมในเรื่องมารยาท ไม่เชื่อฟังเคารพผู้ใหญ่ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดความเข้าใจในหลักแนวคำสอนของศาสนา ไม่มีจิตอาสา ขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
เริ่มต้นจากการให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน โดยได้จัดกระบวนการสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนงานในชุมชนตามเกณฑ์ประเมินชุมชนคุณธรรม ๙ ขั้นตอน คือ
๑. ประกาศเจตนารมณ์หรือข้อตกลงของชุมชน ผู้นำชุมชน โดยมีการจัดประชุมผู้นำชุมชน คนในชุมชน ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เช่น สถานีตำรวจภูธรสามบ่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สถานศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อระดมความคิดเห็นและประกาศเจตนารมณ์ของประชาชนในชุมชน
๒. กำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ”
๓. ร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชน “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ”
๔. ดำเนินการตามแผนและจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน คือ ปัญหาความยากจน คนในชุมชนขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความเข้าใจในหลักคำสอนของศาสนาและขาดจิตอาสา
๕. ประเมินผลและทบทวนแผนเป็นระยะ
๖. ประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดีหรือบุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชน ที่ทำความดีให้กับชุมชนและส่งเสริมให้มีคนต้นแบบที่ได้รับการยอมรับในชุมชนให้เป็นแบบอย่างโดยธรรมชาติ
๗. มีการประเมินผลความสำเร็จของชุมชนให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ชุมชนมีความสงบสุข ปัญหาในชุมชนลดลง
๘. มีการขยายกิจกรรมเพิ่มเติม ส่งเสริมคุณธรรมใน ๓ มิติ ได้แก่
- กิจกรรมส่งเสริมหลักธรรมทางศาสนา เช่น กิจกรรมทำบุญวันผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนมัธยมประจำตำบล กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมวันสำคัญของชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมนักเรียนเข้าค่ายพุทธบุตร กิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยโรงพยาบาล กิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้เฒ่าชรา กิจกรรมวันบูรพาจารย์
- กิจกรรมส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การสอนทำขนมพื้นบ้าน ขนมลา ขนมเจาะหู
- กิจกรรมส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม การสืบทอดประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การจัดงานประเพณีเดือนสิบ ประเพณีลากพระ เป็นต้น
๙. เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานกิจกรรมชุมชนคุณธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิเช่น ผู้นำชุมชน เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน สถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนา ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันปฏิบัติ ชุมชนเข้มแข็ง เกิดความสามัคคี พร้อมเพรียง การมีส่วนร่วมด้วยดี ทำให้คุณธรรมอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
๑. ชาวบ้านและเยาวชนมีพฤติกรรม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีน้ำใจ มีจิตอาสา ในการช่วยงานต่อส่วนรวมและยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของศาสนา นำหลักธรรมไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน
๒. เกิดเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำท้องถิ่น สถานศึกษา ในการทำงานร่วมกันแบบภาคีเครือข่าย
๓. ประชาชนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ มีต้นแบบในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และใช้จ่ายในครัวเรือน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆทำให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชนมีคุณธรรมที่เข้มแข็ง เศรษฐกิจเข้มแข็ง อยู่อย่างมีความสุข เป็นไปตามคำขวัญที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่ คู่คุณธรรม ยึดมั่นในความดี สามัคคีร่วมใจ”
เป้าหมายที่จะดำเนินต่อ
การสร้าง ขยาย เครือข่ายด้านคุณธรรมให้เพิ่มขึ้น และพัฒนาเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพื่อให้คนในชุมชนมีคุณธรรม ชุมชนมีความสงบร่มเย็น อย่างยั่งยืน
ผู้ประสานงานพื้นที่ : พระครูวรสุตาธิคุณ เจ้าอาวาสวัดสามบ่อ มือถือ ๐๘๙-๘๗๖๔๘๖๒ ชุมชนคุณธรรมวัดสามบ่อ ตำบลวัดสน จังหวัดสงขลา
แสดงความคิดเห็น