community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านวังประจัน

อ.ควนโดน ต.วังประจัน จ.สตูล
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 2 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 9 คน
cover

“ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

บ้านวังประจัน สาเหตุที่ชื่อว่าหมู่บ้านวังประจัน เพราะสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศอังกฤษล่าอาณานิคมและทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพผ่านประเทศมาเลเซียมายังชายแดนประเทศไทยและตั้งฐานทัพ ณ ที่แห่งนี้ และเกิดการปะทะกับกลุ่มกองโจรต่าง ๆ ณ ที่นี่ คำว่า “วัง”ความหมายคือ พื้นที่ที่อยู่ในหุบเขาล้อมรอบ คำว่า “ประจัน”ความหมายคือการปะทะการต่อสู้ในสนามรบ ทำให้ชาวบ้านเรียกติดปากมาถึงปัจจุบันนี้ว่า “วังประจัน”

ชุมชนบ้านวังประจันเป็นหมู่บ้านที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาล้อมรอบ มีอากาศ ร้อนชื้น มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ประกอบ ด้วยสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้นานาชนิดมีถนนเส้นทางสมันตรัฐวิถี ทางหลวง หมายเลข ๔๑ เป็นเส้นทางหลัก ผ่านหมู่บ้าน ไปเชื่อมกับประเทศมาเลเซีย ใช้เป็นถนน เข้า ออก หมู่บ้าน ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพค้าขาย แต่ขาดการรวมกลุ่มเพื่อทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ต่างคนต่างทำเฉพาะของครัวเรือนตนเอง

                  

เส้นทางสู่ความสำเร็จการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

        บ้านวังประจัน ได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ดำเนินงานดังนี้

๑)มีกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบการชุมชนที่ขยายผลสู่สมาชิกในชุมชน เช่นกลุ่มขนมพื้นเมือง (บุหงารัมไปย) กลุ่มเพาะกล้าไม้

        ๒)มีกองทุนชุมชนตามหลักธรรมภิบาล เช่น กองทุน กข.ขจ. ให้ประชาชนกู้ยืมประกอบอาชีพ มีกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยแก่สมาชิก มีแหล่งทุนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

        ๓)จัดการสวัสดิการเพื่อสาธารณประโยชน์

จากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ ทางกลุ่มจะนำเงินรายได้ ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วมาจัดสรรเป็นสวัสดิการแก่สมาชิก และอีกส่วนหนึ่ง จัดสรรให้แก่สาธารณประโยชน์ 

        ๔)มีผลการประเมินผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน ระดับพออยู่ พอกิน

        ๕)มีโครงการกิจกรรมริเริ่มสร้างสรรค์หรือเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านจากการดำเนินงานของหมู่ที่ ๓ บ้านวังประจัน ภายใต้แกนนำพลังบวร ได้นำข้อมูลจากทุกๆด้านมาวิเคราะห์ ร่วมกัน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ โรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วน จึงได้นำปัญหานี้มาคิด วิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาทั้งระบบ จึงได้จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณไปยัง สสส. คือ การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร การออกกำลังกาย การปลูกและบริโภคผักปลอดภัย

ความท้าทาย

๑)เป็นพื้นที่ชายแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

๒)ความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมและโครงการต่างๆให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

๓)อยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพบว่า ปัญหาสุขภาพดังกล่าวมีผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคได้ บางส่วนมีอาการลดลง ด้วยการ การนำผักที่ปลูกมาประกอบเป็นอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม คือ

นวัตกรรมต้นกล้าสุขภาพ

นวัตกรรมเมนูชูสุขภาพ

เกิดกติกาชุมชน ดังนี้ งานบุญ งานแต่ง ต้องมีเมนูชูสุขภาพและ ปลอดน้ำอัดลม


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

๑)ขยายกลุ่มการผลิตและจำหน่ายสินค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

๒)สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนตัดสินใจขับเคลื่อนบริหารจัดการชุมชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

        ๓)ชุมชนบ้านวังประจันได้มีกิจกรรมที่จะพัฒนาต่อปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๖ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูลได้ขอรับงบประมาณจากจังหวัดสตูลภายใต้โครงการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยการนำSoft power มาเสริมสร้าง และยกระดับเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและนำอัตลักษณ์ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปกรรมท้องถิ่น มาจัดกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี คัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม กำหนดและสร้างจุดเช็คอินเพื่อเป็น Land mark ชุมชน

         กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชนและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ผ่านคลิปวิดีโอส่งเสริมการท่องเที่ยวลง YouTube จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์และ Mobile Application แผนที่QR code และเอกสารการท่องเที่ยวชุมชน

         กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนโดยการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้และสร้างเป็น E-Catalogue CPOT

         กิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องประจำชุมชน การเป็นเจ้าบ้านที่ดี โดยออกแบบชุดยุวมัคคุเทศก์ตามอัตลักษณ์ของชุมชน ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมัคคุเทศก์ประจำชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรมศิลปะการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน อย่างน้อย ๑ ชุมชน พร้อมทั้งมีชุดสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งทั้ง ๔ กิจกรรมจะได้รับงบประมาณจากจังหวัดสตูลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายใต้โครงการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม


ข้อมูลการติดต่อ

นายยาวัยหนี บินดอละ ผู้ใหญ่บ่าน เบอร์โทรศัพท์ ๐๙๔-๖๘๖-๖๓๔๖


ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายยาวัยหนี บินดอละ ๐๙๔-๖๘๖-๖๓๔๖

แสดงความคิดเห็น

profile