community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านเก่าริมน้ำประแส

อ.แกลง ต.ปากน้ำกระแส จ.ระยอง
วันที่สร้างโพสต์ : 15 พฤษภาคม 2568
วันที่อัปเดต : 15 พฤษภาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

ความโดดเด่นของชุมชน

         ชุมชนปากน้ำกระแส ตั้งอยู่ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นชุมชนที่มีที่ตั้งบริเวณที่แม่น้ำประแสไหลมาบรรจบกับกันลงสู่ทะเลชาวบ้านมีวิธีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพประมงน้ำเค็ม ประมงน้ำกร่อยและค้าขาย ประชากรชุมชนปากน้ำประแส ร้อยละ ๕๐% จะมีเชื้อสายจีน โดยแบ่งเป็น ในช่วงตอนล่างหรือบริเวณปากแม่น้ำจะมีเชื้อสายของชาวจีนไหหลำ ขยับขึ้นมาช่วงตอนกลางหรือบริเวณช่วงย่านการค้า จะเป็นชาวจีนกลุ่มแต้จิว จีนแคะ และฮกเกี้ยนปนเล็กน้อย เป็นต้นในปัจจุบันชุมชนปากน้ำประแสได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ริมชายฝั่งทะเล จึงทำให้ชาวบ้านในชุมชนเกิการตื่นตัวที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตดั้งเดิม ส่งผลให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านขึ้น และมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อบังคับใช้จับและกัน จุดแข็งอีกประการหนึ่งที่ยังคงเป็นชุมชนบ้านเก่าปากน้ำกระแสอย่างยังยืนได้ก็คือการที่ไม่มีคนนอกท้องถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนปากน้ำประแส

ระยะเวลาที่เริ่มต้นกิจกรรม

         ชุมชนเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มในการทำกิจกรรมร่วมกันกันในปี พ.ศ.๒๕๖๐

เนื่องจากสมาชิกในชุมชนเห็นฟ้องต้องกันว่าต้องทำให้วิถีชีวิตของคนในซุมซุนซุมซุมชน

บ้านเกำริมน้ำประแสคงความยั่งยืนไว้ จึงเริ่มพูดพูดคุยหาวิธีการในการปติ

กิจกรรมของคนในชุมชน ตัวอย่างเช่นเอาผลผลิตของชุมชนมาร่วมกันช่วยขาย

ในรูปแบบใครมีของดีเอาออกชาย ภายได้หลักการไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

กิจกรรมที่โยงคุณธรรมความดีที่ได้ทำ

  • การค้าขายสินค้าในชุมชนอย่างไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
  • การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการนำสินค้าที่ผลิตโดยคนในชุมชมชนมาฝากกันจำหน่ายโดยไม่คิดค่าฝากขาย ทั้งนี้เจ้าของสินค้าก็มีการตอบแทนผู้รับฝากขายบ้าง
  • การทำผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่นโดยสมาชิกในชุมชุมชน เช่น กระเป้าผ้า หมอนและพวงกุญแจรูปสัตว์ทะเลออกจำหน่ายแก่ผู้มาเยือนและยังนำไปจำหน่ายในงานวาระต่างๆ

  • การสืบทอดประเพณีท้องถิ่น
    การทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่า ๑๐๐ ปีตามวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ติดกับแม่น้ำประแส จัดขึ้ดขึ้นในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวบ้านจะมีการนำพุ่มผ้าป้าที่ทำที่ทำจากกิ่งไม้ของต้นฝาดหรือต้นโปรง ประดับตกแต่งพุ่มผ้าป่าให้สวยงามไปปักไว้กลางแม่น้ำประแส จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์มาชักผ้าบ้าตามพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนา

    งานดักบาตรเทโว ชาวบ้านในชุมชน เทศบาลตำบลปากน้ำประแสโรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม และวัดตะเคียนงาม ร่วมมือกันจัดกิจกรรมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง มีขบวนแห่เทวดา นางฟ้า นางสวรรค์ และภูตผีปีศาจ ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

กระบวนการขับเคลื่อนที่สำคัญ

         กระบวนการขับเคลื่อนชมชนที่ใช้เป็นหลักคือพลัง "บวร" เนื่องจากในชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแสมีวัดในชุมชนอยู่ถึง ๒ วัด คือวัดตะเคียนงามและวัดเกาะล่าง และยังมีโรงเรียนวัดตะเคียนงามอยู่ในชนอีกด้วย นอกจากนี้คนในชุมชนยังใช้หลักการดำเนินชีวิตในชุมชนร่วมกันดังนี้

    • การรวมตัวกันด้วยจิตอาสา
    • การรู้จักตัวตนของแต่ละคนในชุมชน
    • การกระตุ้นเรื่องการรักถิ่นฐาน

ซึ่งในประเด็นนี้จะถูกถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง และมีเยาวชนหลายคนกลับมาสืบทอดกิจการของครอบครัวในชุมชน

ผลการดำเนินกิจกรรม

         จากวันที่เริ่มจัดตั้งเป็นชุมขนบ้านเก่าริมน้ำประแสด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนทำให้ชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส ได้รับรางวัลในระดับต่างๆมากมาย เป็นที่ภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ที่ร่วมมือกันจนทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ และมีทั้งชุมชนและองค์กรต่างๆ มาศึกษาดูงานความสำเร็จของชุมชนแห่งนี้
         นอกจากชุมชนบ้านเกำริมน้ำประแสจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่โดดเด่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยองแล้ว ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

กิจกรรมที่จะทำในอนาคต หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะทำให้เสร็จ

  • โครงการขยายเรื่องราวของชุมชนที่นำไปสู่การหารายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน
  • ละลายความคิดเชิงลบของคนส่วนน้อยในชุมชนต่อการดำเนินกิจการต่างๆ ของชุมชนให้หมดไปด้วยวิธีการให้เข้าใจเชิงประจักษ์

หลักสำคัญที่ชุมชนใช้ในการสร้างความยั่งยืนของกิจกรรม

  • ความร่วมมือกันของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ
  • ความมีน้ำใจและการใสใจซึ่งกันและกันและต่อผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญของสมาชิกในชุมชนที่จะทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ
ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสุภาพร ยอดบริบูรณ์ (เจ้หน่อง) ประธานชุมชน
๐๘๑ - ๙๙๖ - ๓๙๓๘

แสดงความคิดเห็น

profile