“สร้างศรัทธา บุญนําพา ชีวิตสดใส
ได้ใจชุมชน ส่งผลความเจริญ”
วิถีวัฒนธรรมในการทำนา มีความเชื่อที่แตกต่างกัน ปัจจุบันการทำนาของเกษตรกรรุ่นใหม่ไม่เข้าใจประเพณีดั้งเดิมของคนไทยคือ ลืมนึกถึงประเพณีเก่าๆ ที่ ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำกันมา เช่น การจุดธูปขอขมาพระแม่โพสพ จึงมีผลกระทบทำให้ผลผลิตตกต่ำ และเกิดโรคระบาด มีแมลงรบกวน
วัดเซิงหวายจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา จึงได้รื้อฟื้นประเพณีซึ่งเป็นที่มาของพิธีก่อพระทรายข้าวเปลือกขอขมาพระแม่โพสพ โดยชุมชนให้วัดเชิงหวายเป็นแกนนำได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการดำเนินงานกิจกรรมนี้ อีกนัยหนึ่งเพื่อนำรายได้มาพัฒนาวัด ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑)จัดประชุมวางแผนงานร่วมกับชุมชนโดยมีผู้นำชุมชนผู้นำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ดังนี้
องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานทุกปี
โรงเรียนจัดเด็กนักเรียนและคณะครูเพื่อเข้าร่วมทำพิธี
ผู้นำชุมชนออกประชาสัมพันธ์หมู่บ้านใกล้เคียง
ประชาชนช่วยกันจัดตำกระแดกงา
๒)ดำเนินงานตามแผน
๓)สรุปผลการดำเนินงาน
ปัจจุบันวัดเซิงหวายได้ดำเนินการกิจกรรมดังนี้
๑)บอกบุญชาวบ้านให้นำเข้าเปลือกมาบริจาคทำบุญ
๒)ผู้ที่ไม่มีข้าวเปลือกสามารถมาบูชาที่วัดได้
๓)จัดกระทงบายศรีนมแมวให้บูชาเป็นชุดชุดละ ๓๙ บาท
๔)พิธีสงฆ์ทำบุญตักบาตรภาคเช้า
๕)พิธีพราหมณ์
๖)หลังจากเสร็จพิธีกรรมการวัดก็นำข้าวเปลือกไปจำหน่ายเพื่อนำรายได้เข้ามาพัฒนาวัดการจัดรูปแบบกิจกรรมประเพณีก่อพระทรายข้าวเปลือกขอขมาพระแม่โพสพ วัดเซิงหวาย ได้วางแผนแบ่งหน้าที่ในการดำเนินงานให้ทุกคนมีส่วนร่วม เช่น จัดสถานที่ แผนกโฆษณา แผนกบริการรับลงทะเบียนข้าวเปลือกของชาวบ้านที่มาบริจาค แผนกรับบริจาคเครื่องบวงสรวง เช่นบายศรี แผนกตำกระแดกงา แผนกจัดทำบายศรีนมแมว ฯลฯ โดยยึดหลักให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วม พอเสร็จกิจกรรมก็จะมีการนำปัญหาต่างๆ มาร่วมกันคิดแก้ไขและดำเนินการแก้ไขในปีถัดไป
ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน
อุปสรรคจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายของเครื่องบวงสรวงในการจัดกิจกรรมมีราคาสูง รวมถึงการขาดความสนใจจากคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณี ซึ่งแก้ไขโดยการจัดหาเจ้าภาพบายศรี แต่ละประเภทและจัดให้มีมหรสพกลางคืนและ มีพระเทศน์กลางวัน เพื่อดึงดูดความสนใจจากชุมชน
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
๑)ทำให้จิตใจดีขึ้นเพราะได้นำเงินรายได้มาพัฒนาวัด
๒)ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น
๓วัดมีรายได้นำมาพัฒนาวัดเพิ่มขึ้นทุกๆปี
๔)มีผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีเพิ่มขึ้นทุกปี
๕)ทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนนิสิตนักศึกษาและผู้ที่สนใจ
๖)เกิดความรักสามัคคีในชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการแบ่งปัน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความเข้าใจในหลักธรรมที่นำมาปฏิบัติกับตนเองและครอบครัว มีความกตัญญูรู้คุณมีจิตอาสาซื่อสัตย์สุจริตและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
เมื่อมีประชาชนเกิดความศรัทธามากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีมากขึ้น วัดเซิงหวายจึงกำหนดให้จัดประเพณีก่อพระทรายข้าวเปลือกขอขมาพระแม่โพสพ เป็นกิจกรรมที่ต้องจัดขึ้นทุกปี ในวันเพ็ญเดือน ๓ สืบต่อไป เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดีเกิดความศรัทธาในการทำบุญเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมกับสโลแกนที่ตั้งไว้คือ “สร้างศรัทธา บุญนําพา ชีวิตสดใส ได้ใจชุมชน ส่งผลความเจริญ”
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ชุมชนบ้านเซิงหวาย หมู่ที่ ๓ ตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ผู้ประสานงานของชุมชน
พระมหาลักษณวงค์ ลกฺขโณ เจ้าอาวาส
วัดเซิงหวาย โทร ๐๘๔ ๒๓๘๕๔๑๖
แสดงความคิดเห็น