“นาดี วีถีแห่งศาสนาวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็ง
ร่วมแรงร่วมใจ มีจิตอาสา พัฒนาชุมชน
ทุกแห่งหนคือแหล่งเรียนรู้ ”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
วัดสะอาดเรืองศรีเป็นศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปะและภูมิปัญญา ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ คนในชุมชนจึงมีอาชีพทำการเกษตร สร้างรายได้แก่ครอบครัวด้วยความพอเพียง อีกทั้งคนในชุมชรได้มีการอพยพมาจากหลายพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายทางด้านความรู้ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญา มีภูมิปัญญาที่สำคัญ คือ การทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม การจักสาน การทอเสื่อกก และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ชุมชนวัดสะอาดเรืองศรีนั้นมีวัดเป็นศูนย์กลาง มีทุนทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็น และคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการร่วมใจเปิดพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา เป็นแหล่งบ่มเพาะคุณธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การขับเคลื่อนดำเนินงานชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลนาดีนี้ มีการบริหารจัดการด้วยแนวคิดNADEE MODEl(นาดีโมเดล) ประกอบด้วย
N – Notion สร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาวัฒนธรรมในชุมชน
A – Aspiration มุ่งเน้นพัฒนาคนให้เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม
D – Diffusion มีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม
E – Economic Sufficiency น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
E – Efficiency การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการในรูปแบบนาดีโมเดลนี้เริ่มต้นที่การสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีในชุมชน เน้นกระบวรการ”จิตสาธารณะ”เป็นหัวใจหลัก โดยการเปิดโอกาสให้คนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมในการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ และในมิติทางศาสนาได้มีการทำงานร่วมกันรูปแบบของพลัง บวร ระหว่าง บ้าน วัดและโรงเรียน
ความท้าทาย
ชุมชนมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีวัยรุ่นที่ไม่มีอาชีพ ผู้สูงอายุไม่มีรายได้เสริม พื้นที่ห่างไกลและขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ องค์กรภาครัฐยังให้ความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง ผู้สูงอายุ และวัยทำงานบางกลุ่มยังขาดรายได้ ขาดอาชีพที่เป็นหลัก ควรมีการส่งเสริมอาชีพ และนำทุนทางภูมิปัญญาที่มีมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาเพื่อให้เข้าถึงตลาดมากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ด้านผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีผลในเชิงประจักษ์ใน ๓ ด้าน คือ
๑.ด้านจิตอาสาเราทำความดีด้วยใจ มีการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผู้มีจิตใจที่จะสร้างสรรค์คุณงามความดีสู่สังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพ โดยการสร้างความรู้และมีความสามัคคี มีน้ำใจ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ยอมเสียสละได้ทุกเมื่อ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดและแก้ปัญหาของสังคมในด้านต่างๆ
๒.ด้านชุมชนคุณธรรมบนวิถีพอเพียงโดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพ ยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน บริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล
๓.ด้านการสร้างอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ สร้างอาชีพสร้างรายได้ คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือ ชาวบ้านอยู่กันอย่างสงบสุขเพราะอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร หลังจากฤดูกาลทำนา ทำไร่ ชาวบ้านก็จะมีการจักสาน ทอผ้าฝ้าย เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งผลิตภัณฑ์การจักสานและทอผ้าฝ้ายนี้เกิดจากการประยุกต์รูปแบบการผลิตและบางครัวเรือนทำเป็นธุรกิจและยึดเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนอย่างมั่นคง และยังมีการรวมกลุ่มกันในการจัดงานประเพณีต่างๆ อย่างเข้มแข็ง
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ชุมชนคุณธรรมวัดสะอาดเรืองศรีมีเป้าหมายในอนาคตหลายประการ อาทิ
มุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ เกิดการยอมรับและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในครัวเรือนเกิดการปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต (ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลิตผล) ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาความรู้และลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ
ส่งเสริมการจัดการตลาด/ตลาดเฉพาะ เช่น ตลาดอาหารปลอดภัย
พัฒนาความรู้และลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปรับวิถีชีวิตการกินอาหารเพื่อ สุขภาพ
ข้อมูลติดต่อ
พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี ดร.
๐๙๘-๙๓๙-๙๕๗๕
แสดงความคิดเห็น