community image

ชุมชนคุณธรรมวัดบางสระเก้า

อ.แหลมสิงห์ ต.บางสระเก้า จ.จันทบุรี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 27 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

“เสื่อกกบางสระเก้า หลวงพ่อเต่าพระดี ตำนานมีเก้าสระ

ถิ่นวัฒนธรรม สง่าล้ำวัดพัฒนา

การกีฬาขึ้นชื่อ เลื่องลือสามัคคี”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         คนในชุมชนอยู่กันเหมือนพี่น้องทำงานแบบเกื้อกูลกันเมื่อก่อนมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตเหมือนชุมชนทางภาคเหนือ มีการทอผ้า ทำนา แต่หลังจากปี ๒๕๒๘ นั้นชาวบ้านได้หันไปประกอบอาชีพทำนากุ้งกันมากขึ้น ทำเสร็จได้กำไรเยอะ บางคนเอาไปซื้อรถ ซื้อของฟุ่มเฟือยมาใช้ พอถึงช่วงที่จะต้องทำนากุ้งอีกหนก็เงินไม่มีต้องไปกู้หนี้ยืมสิน วิถีชีวิตของคนบางสระเก้าเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ปลูกกก ปลูกปอ ทอเสื่อเหมือนอย่างเก่าก่อน หัวหน้าครอบครัวต้องออกไปขายแรงงานต่างจังหวัด ภรรยาก็ต้องอยู่ดูแลลูก และที่นาตามลำพัง ผลจากการที่นากุ้งไปแย่งที่นากกนั้นทำให้ระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนไป ทางอบต.จึงมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายพื้นที่ และฟื้นฟูการปลูกกก รวมถึงประสานความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐรวมไปถึงคนในชุมชนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา และได้มีการขยายไปสู่การจัดทำแผนชุมชนของตำบลบางสระเก้าด้วย


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         ด้วยผลกระทบการจากทำนากุ้งนั้น ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มทอเสื่อกกขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๓ มีสมาชิแรกเริ่ม ๔๐ คน ลงหุ้นกันคนละ ๕๐ บาท เพื่อทำเสื่อกกขาย ปัจจุบันมีสมาชิกรวม ๓๕๐ คน มีการออมทรัพย์และให้สมาชิกกู้ไปลงทุนทำเสื่อ สิ้นปีมีการปันผลให้สมาชิร้อยละ ๕สมาชิกมีรายได้ประมาณ ๒,๕๐๐ บาท/คน/เดือน ในการขายเสื่อของสมาชิกนั้นจะนำมาฝากขายที่ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า ซึ่งกลายเป็นแหล่งความรู้ในการผลิตเสื่อกกและศูนย์จำหน่าย

         ชาวชุมชนวัดบางสระเก้านำเรื่องของคุณธรรมมาพัฒนาได้อย่างชัดเจน มีขึ้นมีตอน มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมมากขึ้น คนในชุมชนนำหลักขึ้นตอนตามแผนแม่บทไปดำเนินการ มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีช่วยแนะนำ สนับสนุน โดยหยัดหลัก “บ้าน วัด โรงเรียน” ต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง สม่ำเสมอต่อเนื่อง เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ จนกระทั่งปัจจุบัน

         ชุมชนมีการนำทุนที่มีในท้องถิ่นคือความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ดินแดน ๓ น้ำ ๙ นา มีเส้นทางประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงมารวบรวมไพร่พลและกองกำลังในจังหวัดจันทบุรี เพื่อกลับไปกอบกู้เอกราชมาพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ผ่านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าของที่ระลึก อาหารทะเลสดอาหารทะเลแปรรูป โดยเฉพาะช่วงงานประเพณีประจำปีนักท่องเที่ยวจะเข้ามาในชุมชนเยอะมากกว่าปกติเงินหมุนเวียนมาก คนในชุมชนนอกจากมีรายได้เพิ่มแล้ว ยังได้ฝึกฝนตนเองและครอบครัวเจ้าบ้านที่ดี 


ความท้าทาย

         ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจากการทำนากุ้ง เกิดผลกระทบทางด้านสังคมตามมา คือ การพึ่งพาอบายมุข ความสัมพันธ์ในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนบางสระเก้าช่วงนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไข และข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ คนในชุมชนพยายามลุกขึ้นมาจัดการตนเองในมิติต่างๆ ก่อนจะนำไปสู่การรวมกลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในชุมชนให้ กลายเป็นกลุ่ม “เศรษฐกิจชุมชน” มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ การ เสริมสร้างรายได้รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจและเพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ

ให้แก่ชาวบ้าน


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง และมีรายได้เสริมจากการรวมกลุ่มอาชีพทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก รายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นทุกปี มีการรวมกลุ่มอาชีพช่วยเหลือเกื้อกูลกันที่โดดเด่นคือ ศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บ้านปลา-ธนาคารปูซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนมาศึกษาดูงาน เดือนละไม่น้อยกว่า ๘ กลุ่ม คนในชุมชนรู้จักทำมาหากิน พึ่งพาตนเอง พอมีพอกิน ปลูกเองกินเอง มีเหลือก็แบ่งขาย มีรายได้ มีกลุ่มออมทรัพย์เพิ่มขึ้นทุกปี ทุกคน ทุกครอบครัวอยู่ดี มีสุขขึ้น กล้าพูดได้เลยว่า ณ วันนี้ชุมชนวัดบางสระเก้า ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีการทะเลาะวิวาท ไม่มีการลักขโมย ไม่มีการเล่นพนัน ไม่มีสิ่งเสพติด ผลจากการใช้คุณธรรมนำการพัฒนา ภายใต้โครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ทำให้ปัญหาในชุมชนได้รับการแก้ไข สิ่งดีงามเกิดขึ้น คนในชุมชนอยู่ดีมีสุขภายใต้ความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อย่างเป็นรูปธรรม


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ชุมชนคุณธรรมวัดบางสระเก้า ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ๑ ใน ๑๐ สุดยอดชุมชนคุณธรรมฯ ต้นแบบ ที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จมีผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น หรือเศรษฐกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง และมีความยั่งยืน ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการฟื้นฟู และสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่คนในชุมชน นำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นทั้ง ภูมิสังคม ภูมิปัญญา และภูมิทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มาต่อยอดเพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ โดยมีผู้นำพลัง “บวร” เป็นแกนนำ ประชาชนในชุมชนคุณธรรมมีส่วนร่วมและได้รับความร่วมมือรวมทั้งการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักธรรมค าสอนทางพระพุทธศาสนา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำรงวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามสืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชาสืบไป


ข้อมูลการติดต่อ

         นายชาตรี พลอยศิริ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ โทร. ๐๙๘-๙๓๐๖๒๓๑ 

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายชาตรี พลอยศิริ ๐๙๘-๙๓๐๖๒๓๑

แสดงความคิดเห็น

profile