“บ้านเชียงเมืองมรดกโลก กับวีถีไทยพวน”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
บ้านเชียงถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านแห่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่บอกเล่าถึงอารยธรรมของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีการพัฒนาการในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้และภูมิปัญญา เนื่องจากมีความสำคัญเรื่องของการเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในด้านวิชาการที่มีข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมาก จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ด้วยคุณค่าและความสำคัญดังกล่าว ทำให้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างให้แก่ชุมชนบ้านเชียงในปัจจุบัน จนนำไปสู่การขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย แต่ชาวบ้านเชียงยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวไทยพวนให้คงอยู่สืบไป
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ชุมชนบ้านเชียงได้นำหลักการผู้นำ“บวร”มาใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจบริบทของชุมชนอย่างชัดเจน มีกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมประเพณี ศิลปหัตถกรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยกันอนุรักษ์ สืบทอด และถ่ายทอดเรื่องราวบริบทในชุมชนร่วมกัน ดังนี้
๑.ผู้นำ “บ” คือ บ้าน บ้านที่มีชาวบ้าน มีคนอาศัยอยู่ ผู้ที่จะสืบสานวัฒนธรรม ศาสนา และซึมซับคำสอนจากพระสงฆ์ เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนยาวนานอย่างถึงแก่นแท้ คนในชุมชนต่างยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา และนำมาบูรณาการกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการชุมชน
๒.ผู้นำ “ว” คือ วัด วัดที่มีพระสงฆ์ ผู้ที่อาสาจะละกิเลสทางโลกมาศึกษาพระธรรม เพื่อเผยแผ่หลักพุทธศาสนาให้ชาวบ้านได้เข้าในถึงการดำรงชีวิตอย่างสงบ เป็นสุข นอกจากจะเป็นแหล่งศึกษาธรรมะแล้วยังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ ทั้งทางด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ วัดจึงเป็นองค์กรหลักที่เป็นแหล่งบ่มเพาะความดีทางสังคม เป็นต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญ ขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนคุณธรรม
๓.ผู้นำ “ร” คือ โรงเรียนหรือส่วนราชการ หน่วนงานภาครัฐในชุมชนที่เป็นหน่วยงานส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว มีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาส่งเสริมกลุ่มอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการสร้างสร้ายได้ให้แก่ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น การปั้นหม้อเขียนสี ที่ได้ถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดให้เด็กๆ ในชุมชนได้ซึมซับสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้
ผู้นำทั้ง ๓ ส่วน เป็นผู้ที่มีความเข้าในสภาพแวดล้มของชุมชนบ้านเชียงทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และได้นำมาผสมผสานในการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้ “บวร” เป็นองค์กรหลักในการทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเป็นชุมชนคุณธรรมที่ยั่งยืน
ความท้าทาย
ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ ที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุนั้นมากจนความเจริญทางด้านศีลธรรมตามไม่ทัน เกิดจากการไม่ให้ความสำคัญ และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจึงทำให้การอนุรักษ์วัฒนธรรมบางอย่างขาดหายไป คนในชุมชนจึงนำหลัก “บวร” มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชนให้กระตือรือร้น มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมองเห็นคุณข่าของ “การร่วมคติเป็นสังคมคุณธรรม ที่คนในชุมชนมีสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมทำ และระเบิดจากข้างใน” ด้วยชุมชนเอง มองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจ มีคุณธรรมด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรม และมีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ไทยพวนของตนเอง
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์ คนในชุมชนมีคุณธรรมด้านความสามัคคี มีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จนทำให้ชุมชนแห่งนี้มีความเข้มแข็ง สามารถทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ผลกระทบ เกิดกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นด้านประวัติศาสตร์ คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ วัฒนธรรมประเพณี ศิลปหัตถกรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวโบราณคดีของตนเอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันอนุรักษ์ สืบทอด และถ่ายทอดเรื่องราวบริบทในชุมชนร่วมกัน
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ชุมชนมีความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน คนในชุมชนมีความภาคภูมิในชาติพันธุ์ รวมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ศิลปหัตถกรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวโบราณคดีของตนให้คงอยู่สืบไป
ข้อมูลติดต่อ
เทศบาลตำบลบ้านเชียง โทร.๐๒๕-๒๖๕-๐๐๑ ต่อ ๕๑๑๖
แสดงความคิดเห็น