community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านละอูบ

อ.แม่ลาน้อย ต.ห้วยห้อม จ.แม่ฮ่องสอน
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 30 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 4 คน
cover

“ชุมชนละอูบ รักษา สืบทอด

ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาบรรพชน

สู่ความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

ชุมชนละอูบ หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน และยังคงดำรงวิถีวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง เป็นพื้นที่ป่าสงวนทำให้ประชาชนมีพื้นที่ทำกินจำกัด ประกอบกับเป็นชุมชนชนบทห่างไกล ทำให้เด็กเยาวชน และคนรุ่นใหม่ออกจากหมู่บ้านเพื่อไปศึกษาและประกอบอาชีพในเมือง

ต่อมา คนในชุมชนเริ่มสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่เครื่องเงินละอูบ ผ้าทอและเครื่องประดับละว้า กระทั่ง หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาสนับสนุน เช่นสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้ามาสนับสนุนจัดตั้งกลุ่มอาชีพ จากสืบค้น รักษา สืบสาน และต่อยอดอัตลักษณ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการนำชุมชนเข้าสู่ โครงการชุมชน OTOP นวัตวิถีของกรมการพัฒนา กระทรวงมหาดไทยและโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลัง “บวร”โดยกระทรวงวัฒนธรรม และได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานอื่นๆต่อมาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนบ้านละอูบมีอาชีพจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีรายได้ ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนได้รับความนิยมทั้งจากคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปแบบ On line และ off line คนหนุ่มสาวกลับบ้านเพื่อประกอบอาชีพ สร้างรายได้จากฐานเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อน และรักษาพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

ประชากรของหมู่บ้านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า หรือลเวือะภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ย่วงรโอวก”ที่มีการดำรงวิถีวัฒนธรรมทั้งภาษาการแต่งกาย และจารีตวัฒนธรรม ประเพณี อย่างรู้คุณค่าด้วยความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมของตนเองโดยสามารถนำวิถีวัฒนธรรม จารีตดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเครื่องมือในการ จัดระเบียบสังคม ให้มีความสงบเรียบร้อยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชน และคงอัตลักษณ์ที่โดดเด่น งดงามนำไปต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับ สร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรวมถึงเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน


ความท้าทาย

ความท้าทายของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวทางชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรคือ ความยั่งยืน ที่ชุมชนควรปรับตัวให้ทัน

ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยว สินค้าและบริการอยู่เสมอ เพื่อดึงดูดใจผู้มาเยือนให้ได้ ควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและกำหนดมาตรฐานจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการวางแผนแสดงความคิดเห็น และลงมือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสามัคคี

การบริหารจัดการชุมชนต้องเกิดจากการร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย จากนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าถึงนักท่องเที่ยวมากขึ้นหากชุมชนก้าวไม่ทันเทคโนโลยี ก็จะทำให้ขาดโอกาสและขาดรายได้


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

จากความกตัญญูรู้คุณของคนในชุมชนละอูบที่มีต่อบรรพชนรู้คุณค่าในมรดกภูมิปัญญา วิถีปฏิบัติ ที่บรรพบุรุษนำทางไว้ด้วยการรักษา สืบสาน และนำมาพัฒนาต่อยอด ด้วยความเคารพศรัทธาประกอบกับมีความสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และสำนึกคุณทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชนมีรายได้มีอาชีพที่มั่นคง บนพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม เกิดความรัก

สามัคคีมีความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรม และนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดเพื่อสร้าง รายได้ดังนี้

๑) มีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่พระพุทธนิโรคันตรายนริศรจตุรทิศประชานาถ และจุดชมวิว

๒)มีพื้นที่หรือศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้แก่ โรงตีมีด ทำเครื่องเงิน การทอผ้า และเครื่องจักสาน นาขั้นบันได ไร่ สวน นา เกษตรผสมผสาน

๓) มีการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมโดยเป็นกิจกรรมที่เป็นวิถีดั้งเดิมของชุมชน เช่น การทำบุญ ตักบาตรการทำอาหารพื้นบ้าน

๔) ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านละอูบ มีการจัดทำข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ จุดท่องเที่ยวที่สำคัญในหมู่บ้าน ที่พัก หรือ Home stay

๕) มีการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนหรือการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงโดยบริเวณใกล้เคียง

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

เป้าหมายที่จะดำเนินต่อในอนาคต คือทำให้ชุมชนคุณธรรมบ้านละอูบเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายโดยการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชนใช้ทรัพยากรของตนอย่างคุ้มค่า ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่รังสรรค์จากมรดภูมิปัญญาที่สืบทอดรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่องยาวนานเช่น เครื่องเงินละอูบ ผ้าทอและเครื่องประดับละว้า การตีมีดรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คือ กาแฟ อโวคาโด เสาวรสสร้างรายได้ให้คนในชุมชน โดยเพิ่มช่องทางจำหน่ายทั้งรูปแบบ Online ผ่าน Application ; facebook, Line อย่างต่อเนื่อง


ผู้ติดต่อในพื้นที่

นางสาวเวธกา วรรธวริฐ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ ๘๗๔ ๒๑๔๘


ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสาวเวธกา วรรธวริฐ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ ๘๗๔ ๒๑๔๘

แสดงความคิดเห็น

profile