community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านปากด่าน

อ.ทับปุด ต.บางเหรียง จ.พังงา
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 30 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

“ตำเม่า เข้าธาตุ ภาพแมว ปากด่าน”

กว่าจะมาเป็นวันนี้

ชุมชนบ้านปากด่านเป็นชุมชนขนาดเล็ก สภาพแวดล้อมอุดมด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ในอดีตเป็นถิ่นทุรกันดาร เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นในชุมชน อาทิ เข้าไม่ถึงการศึกษา เกิดการลักขโมย ไม่มีการพัฒนาอาชีพ รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้ตามสมควร โดยไม่ได้มองสังคมหรือเสียสละเพื่อส่วนรวมมากนัก ต่อมาสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ตลอดจนจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนไป ต่างคนต่างดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดจนไม่มีเวลาให้กับส่วนรวม ส่งผลให้คนในชุมชนขาดความสามัคคี มีปัญหาเรื่องค่าครองชีพ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย การใช้ประโยชน์จากต้นทุนที่มีอยู่ในชุมชนยังไม่เกิดความคุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ

การบริหารจัดการชุมชนนั้นบริหารโดยคณะกรรมกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (หมู่บ้าน อปพ.) มี ๘ ฝ่าย เช่น ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายการคลัง ฝ่ายสวัสดิการและสังคม ซึ่งรับผิดชอบการบริหารการพัฒนาหมู่บ้านแล้วทางหมู่บ้านยังแบ่งคุ้ม ออกเป็น ๔ คุ้มบ้าน โดยมีการคัดเลือกคณะกรรมการประจำคุ้ม เพื่อทำหน้าที่ดูแลการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในคุ้ม เป็นการกระจายอำนาจ และเชื่อมประสานการทำงานระหว่างครัวเรือนที่รับผิดชอบในคุ้มกับกรรมการกลาง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลพื้นฐานของชุมชน มีการประกาศเจตนารมย์ข้อตกลง หรือธรรมนูญชุมชน รวมถึงกฎระเบียบ ข้อบังคับของชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จนกลายเป็นรากฐานของการพัฒนา รวมทั้งการบริหารจัดการ ขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่ โดยเน้นการบูรณาการทุกภาคส่วน มีการประชุมเวทีประชาคมเป็นประจำเดือนทุกเดือน เพื่อประโยชน์ในการกระจายข้อมูลข่าวสาร การรับรู้เข้าถึงโครงการต่างๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตลอดจนมีการทบทวนปรับปรุงแผนงานโครงการให้มีคุณภาพ มีต้นแบบและผู้นำตามธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย โดยนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชน สร้างคุณธรรมความดี สู่ความยั่งยืน

ความท้าทาย

         การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเดิมต่างคนต่างทำ ขาดองค์ความรู้ จึงเริ่มจากการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในเรื่องแนวคิดของความพอเพียง พอประมาณโดยส่งเสริมครัวเรือนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน

         แม้จะเกิดการร่วมกลุ่มแต่มีปัญหาตามมาคือ ความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ขอบแต่ละฝ่าย รวมถึงกฎกติกาที่ขาดความโปร่งใส ผู้นำจึงได้ประสานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการกลุ่ม โดยผู้นำคอยให้กำลังใจสนับสนุน และนำแนวคิดการเป็นวิทยากรกระบวนการมาเติมเต็มให้แก่แกนนำ จนเกิดจุดเปลี่ยนแนวคิดของทีมงานหลายคนให้เป็นนักพัฒนา


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

ประชาชนดำเนินชีวิตบนความถูกต้อง มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิต มีกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ใช้ทุกอย่างที่ทำ ทำทุกอย่างที่ใช้ มีความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการธนาคารต้นไม้ ร่วมกันวางแผนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าโดยทุกครัวเรือนร่วมปลูกต้นไม้ มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชน เช่น ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระมหาธาตุ ประเพณีสารทเดือนสิบ การลงแขกในงานประเพณีต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างความสามัคคี และสะท้อนวิถีชีวิตชาวชนบทได้เป็นอย่างดี ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีจิตสาธารณะ อาสาสมัครในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ตลอดจนมีการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริในพื้นที่ ทำให้คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคี มีการนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาจัดกิจกรรม ทำให้ชุมชนมีสัมมาชีพที่เป็นรูปธรรมและสามารถต่อยอดได้ ยกระดับรายได้ของครัวเรือน มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้น


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

ชุมชนมีองค์ความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นและขยายเครือข่ายต่อไป มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านเป็นจิตอาสาในชุมชน เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนที่สนใจในชุมชนและประชาชนในพื้นที่อื่นที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ และนำองค์ความรู้ในท้องถิ่นตนไปขยายผลต่อในที่อื่นๆ มีการสนับสนุนแนวทางพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด สามารถทำได้เอง ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ หรือการแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุน มีศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นต้นแบบในการเรียนรู้การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ตามวิถีไทย


ข้อมูลการติดต่อ

นายวิสุทธิ์ ทองเจิม กำนันตำบลบางเหรียง

๐๙๘-๗๑๙-๗๖๑๔

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายวิสุทธิ์ ทองเจิม กำนันตำบลบางเหรียง ๐๙๘-๗๑๙-๗๖๑๔

แสดงความคิดเห็น

profile