“สระน้ำใหญ่ ชื่อต้นไม้หมู่บ้าน
สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจ
ใช้ชีวิตที่พอเพียง “
ชุมชนตะลุกพุก คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม และค้าขายเป็นหลัก นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มีประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา อาทิ บุญมหาชาติ ทำบุญกลางบ้าน บุญบั้งไฟ เป็นต้น จุดเด่นด้านประเพณีวัฒนธรรม กฎ ระเบียบค่านิยม และความสัมพันธ์ของชุมชนเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่หล่อหลอมจากประสบการณ์ของรุ่นสู่รุ่น เป็นสำนึกร่วมของคนในชุมชนที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลชุมชนให้ดำเนินชีวิตไปตามระบบคุณค่า และแนวคิดของชุมชนนั้นๆ โดยจะมีการจัดกิจกรรมด้านประเพณีขึ้นในทุกวันที่กำหนดไว้ เช่น การทำบุญกลางบ้านเลี้ยงตาปู่บ้าน จัดเพื่อความเป็นสิริมงคลของประชาชนในหมู่บ้านโดยจะเริ่มในวันที่ ๑๐ เดือนมีนาคมของทุกปี “ตะลุมพุกจะก้าวไกล ถ้าร่วมใจสามัคคี”
เส้นทางสู่ความสำเร็จ
การพัฒนาชุมชนสู่วิถีคุณธรรม ด้วยพลังบวร มีการดำเนินงานในทุกมิติ ดังนี้
๑)ด้านการบริหารจัดการชุมชน มีการจัดทำข้อตกลงเป็นกฎระเบียบที่ถือปฏิบัติร่วมกัน จัดเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อใช้ในการจัดทำ ปรับปรุงแผนชุมชน เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการชุมชนเป็นประจำทุกปี
๒)ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นชุมชนปลอดยาเสพติด มีการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน
๓)ด้านสุขภาพอนามัย มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงรณรงค์ลดใช้สารเคมีในภาคการเกษตร
๔)ด้านคุณธรรมจริยธรรมชุมชน มีกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนลด ละ เลิกอบายมุข และมีการให้ความช่วยเหลือดูแลคนยากจน คนด้อยโอกาส และคนที่ประสบปัญหา
๕)ด้านการจัดการทรัพยากรชุมชน มีการใช้พลังงานทดแทนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน รวมถึงการนำวัตถุดิบในธรรมชาติของชุมชนมาเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖)ด้านเศรษฐกิจและการสร้างสัมมาชีพชุมชน มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นประจำ มีกองทุนชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและใช้ในการสนับสนุนการประกอบอาชีพและมีสวัสดิการชุมชน และรวมเป็นกลุ่มอาชีพในชุมชนสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้สมาชิก
๗)ด้านการพัฒนาคนในชุมชนและการเสริมสร้างการเรียนรู้ มีการจัดสถานที่สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่คนในและนอกชุมชน อีกทั้งยังค้นหาภูมิปัญญา และจัดกิจกรรมถ่ายทอดสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านด้านภูมิปัญญารวมถึงมีระบบสื่อสารข้อมูลในชุมชนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
๘)มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการขับเคลื่อนตามแนวทางกิจกรรม 3 สร้างคือสร้างความมั่นคงทางอาหารสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน
สินค้าการเกษตรราคาตกต่ำ และเป็นไปตามที่พ่อค้าคนกลางกำหนด
กระแสบริโภคนิยมทำให้ประชาชนมีหนี้สินเกิดความยากไร้
ประชาชนในพื้นที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ทำให้ขาดแคลนแหล่งเงินทุนหรือเป็นสาเหตุไม่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
แหล่งน้ำและปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
ผลจากการดำเนินงานทำให้ชุมชนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นโดยสะท้อนผ่านผลลัพธ์หลายประการ อาทิ
๑.กลายเป็นชุมชนปลอดอบายมุข ชุมชนมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
๒.มีการทำกิจกรรมเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของคนใจชุมชน
๓.ครัวเรือนมีความมั่นคงในอาชีพ มีรายได้เพียงพอ ไม่มีหนี้นอกระบบ
๔.เกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้นในชุมชน เช่น ปุ๋ยแห้งชีวภาพ ผลิตภัณฑ์จักสารไม้ไผ่ น้ำดื่มประชารัฐร่วมผลิต
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
นโยบายส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคและการใช้จ่ายหันมาสนใจผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น
จัดการรวมกลุ่มผลผลิตที่เข้มแข็งจะทำให้มีโอกาสต่อรองผลผลิตทางเศรษฐกิจ
การสร้างพลังในการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม
ผู้ประสานงานในพื้นที่
นายนภดล เพ็ชรโกมล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒
ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา
จังหวัดสระแก้ว
แสดงความคิดเห็น