community image

ชุมชนคุณธรรมชุมชนวัดไร่พรุ

อ.เมืองตรัง ต.น้ำผุด จ.ตรัง
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 5 คน
cover

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตตามขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแบบชาวพุทธ ช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่จะเข้าวัดฟังธรรม และฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า วัดจึงกลายเป็นสถานที่ที่พบว่ามีผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมมาก โดยเฉพาะในวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         การทำงานด้านสุขภาพนั้นเป็นนามธรรมที่ต้องใช้เวลาโดยจัดทำแผนงานต่างๆ ออกมาในรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้

๑.แต่งตั้งคณะทำงานที่เข้าใจ รู้จริง ร่วมแรงร่วมใจกันในการขับเคลื่อนโครงการ ๑ ชุด มีทั้ง ที่ปรึกษาและคณะปฏิบัติงานที่มาจากทั้งภาคราชการ เอกชน ชุมชน เรียกได้ว่า ทุกหน่วยงาน ที่มีความเกี่ยวข้อง มาเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนในการทำโครงการ

๒.วางแผนการทำงานร่วมกันกับผู้ดูแลโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ มีการเข้าร่วมประชุมรับนโยบาย เพื่อทำความเข้าใจแผนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ 

๓.พยายามสอบถามทางแก้ เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคเมื่อได้ลงมือทำงานจริง โดยช่วยกันลงความคิดเห็นปรับปรุงไปตามสภาพต่างๆ ที่พอจะเอื้อเฟื้อได้

๔.ช่วยกันนำข้อมูลทำงานอธิบายสู่ชุมชน โดยเฉพาะสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุซึ่งก่อตั้งมาราว ๒ ปี แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้อง แต่สมาชิกก็มีความร่วมมือเมื่อมีกิจกรรมทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านสุขภาพทั้งของพระสงฆ์และของตนเอง

๕.ระยะเวลา ๑๐ เดือนของโครงการ เกิดผลประจักษ์ชัดว่า สุขภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากปล่อยปละละเลยจะส่งผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วย ผู้ดูแลที่ต้องสละเวลามาดูแลทำให้ขาดรายได้ สุขภาพจิตเสีย หากไม่เข้าใจถึงการใช้ชีวิตร่วมกับคนที่ป่วย แต่หากเข้าใจและใช้ชีวิตกับสิ่งเป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข กระบวนการแห่งความสุขจะสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะสุขภาพเป็นทุกส่วนที่มารวมกัน ทั้งด้านสุขภาพ ด้านชุมชนคนอยู่ร่วมกันเข้าใจกัน ด้านเศรษฐกิจ การออม การสูญเสียเงินในการรักษาซึ่งมีสวัสดิการที่ดูแลได้ ด้านการปรับสภาพแวดล้อมสามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุแก่คนที่สูงวัยได้


ความท้าทาย

         การไม่ได้รับความร่วมมือจากทั้งพระสงฆ์และชุมชน เพราะเห็นว่าสุขภาพเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายสาธารณสุขทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัดกับชุมชนจึงต้องมีการทำความเข้าใจกัน ผ่านกิจกรรมสุขภาพ เช่น การให้ความรู้ การตรวจสุขภาพ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง อีกประการหนึ่งคือ ทางขึ้นศาลาการเปรียญนั้นมีความต่างระดับเล็กน้อยอาจจะต้องเพิ่มทางลาดและราวจับสำหรับการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น ไม่มีการเตรียมห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ เพราะห้องน้ำปกติเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุจึงต้องมีการดำเนินการเพื่อปรับสภาพแวดล้อมเพื่อให้รองรับกับผู้สูงอายุ


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

๑)มิติด้านสุขภาพ วัดไร่พรุดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และเสริมสร้างให้สุขภาพดีขึ้น เช่น จัดตั้งจุดวัดและประเมินสุขภาพภายในวัด (health station) จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัว พระสงฆ์ ปรับการฉันอาหารที่มีหลักโภชนาการ กอปรกับการออกกำลังกาย ทำกิจวัตรต่างๆ ที่ออกแรงในระดับปานกลาง อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สุขภาพพระโดยรวมดีขึ้น

๒)มิติด้านสภาพแวดล้อม วัดไร่พรุมีการดำเนินการเพื่อปรับสภาพแวดล้อมภายในวัดเพื่อลดจุดเสี่ยงต่อการใช้งานของผู้สูงอายุหลายจุด

๓)มิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ สร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในทางสังคมโดยเฉพาะผู้สูงอายุให้มีการรวมตัวเพื่อเป็นการเสริมพลังซึ่งกันและกัน ดึงผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงออกมาเป็นพลังของสังคม และดึงคนวัยกลางคนซึ่งเป็นผู้สูงอายุสำรองเข้าร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัย จัดกลุ่ม จิตอาสาเยี่ยมคนป่วยติดบ้านติดเตียงเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน มีการใช้พื้นที่ว่าง ในการปลูกพืช ผักปลอด สารพิษไว้ปรุงอาหาร สามารถลดรายจ่ายได้ เพราะการที่เกิดความพึงพอใจที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เรื่องปิ่นโตสุขภาพนำมาถวายพระสงฆ์ เมื่ออาหารที่สาธุชนคนวัดไร่พรุ มาถวายพระสงฆ์เป็นอาหารที่ดีมีสุขภาพ ผู้ถวายก็มีสุขภาพดีขึ้นด้วย เพราะรับประทานเอง การดูแลสุขภาพของชาวบ้านที่มาวัด ได้ใช้สถานตรวจสุขภาพเป็น เช่น การตรวจวัดความดัน ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นพระสงฆ์ สามารถเลือกฉันภัตตาหาร ที่มีประโยชน์ มีสมุดบันทึกสุขภาพ มีพระคิลานุปัฎฐากเพิ่มขึ้นในวัด 

เป้าหมายที่จะเดินต่อ  

มีการขับเคลื่อน โครงการวัดรองรับสังคมสูงวัย  ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองตรัง และยังสามารถขยายผล สู่คณะอำเภอเนาโยง คณะสงฆ์อำเภอปะเหลียนหาดสำราญ ปีนี้มีวัดเข้าร่วม จำนวน ๒๓ วัด นี้เป็นการยืนยันได้ว่า วัดไร่พรุ โดยการทำหน้าที่เป็นเลขานุการของโครงการวัดรองรับสังคม สูงวัย มีความสามารถช่วยกันทำงานด้านสุขภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องไปด้วยกัน กับทุกๆด้านดังกล่าวแล้ว จึงเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจ เมื่อสุขภาพพระสงฆ์ดี สุขภาพสาธุชนดี มีความอยู่เย็นเป็นสุขทุกด้านแล้ว ควนอย่างมั่งคั่งยั่งยืนก็จะตามมาอย่างแน่นอน


ข้อมูลติดต่อ

พระครูเมธากร เจ้าอาวาส ๐๘๖-๗๙๖-๒๕๓๙

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
พระครูเมธากร เจ้าอาวาส ๐๘๖-๗๙๖-๒๕๓๙

แสดงความคิดเห็น

profile