“นมัสการพระพุทธศรีรัตนะ ไหว้พระธาตุเจดีย์ทองร้อยปี
ขอพรพระผ่องต่ออู บูชาพระพาราเหม่ป๊อกปฏิมาประธาน
ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย – ญี่ปุ่น
น้อมรำลึกสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ
ต้นลิ้นจี่ทรงปลูกพระราชทาน”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนวัดม่วยต่อเป็นชุมชนที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทใหญ่ โดยมีวัดม่วยต่อเป็นศูนย์กลางซึ่งเมื่อราว ๑๐ ปีก่อนวัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมทั้งที่มีประวัติศาสตร์อย่างนาวนานสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ดังนั้นคนในชุมชนจึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน เริ่มจากการที่คนในชุมชนต่างช่วยกันปรับเปลี่ยนปรับปรุงพัฒนาทั้งด้านเจตคติของคนในชุมชนทีละน้อย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาภายในวัดสู่ชุมชน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ
เนื่องด้วยวัดม่วยต่อมีความเกี่ยวเนื่องด้วยความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่นมาตั้งแต่ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนี้ชุมชนวัดม่วยต่อจึงหลอมรวมกันเป็นหนึ่งโดยมีวัฒนธรรมจารีตประเพณีและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา อย่างแรงกล้าของคนในพื้นที่ แม้ในช่วงแรกต่างมีความคิดเห็นที่ไม่เห็นพ้องกัน แต่ก็ยังสามารถขับเคลื่อนไปพร้อมพร้อมกับการปรึกษากัน ทำความเข้าใจร่วมกัน จนเกิดความสำเร็จในการพัฒนาทัศนียภาพของวัด โดยการให้วัดเป็นศูนย์กลางร่วมใจของคนในชุมชน ปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของศาสนสถาน ขับเคลื่อนการพัฒนายิ่งทำมากยิ่งเกิดศรัทธามาก จึงทำให้ทุกคนที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้านช่วยกันแสดงความคิด และลงมือปฏิบัติ เริ่มจากการที่คนในชุมชนมีต้นทุนความดีในใจเป็นพื้นฐาน และหวงแหนศาสนสถานที่บรรพชนได้สร้างมา อดีตวัดถูกเพิกเฉยที่ทำให้วัดทรุดโทรมไม่มีกิจกรรมโดดเด่น ขาดการพัฒนา จากเดิมวัดที่มีไว้สำหรับการทำบุญทางศาสนา แต่ต่อมาปัจจุบันวัดคือหัวใจของคนในชุมชน ที่มีทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ถูกฟื้นฟู มีศูนย์ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสวนประวัติศาสตร์ไทย - ญี่ปุ่นให้ศึกษา มีการพัฒนารอบต้นลิ้นจี่ทรงปลูก ให้เป็นที่จรรโลงใจของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว เกิดผลลัพธ์อันเป็นที่ประจักษ์จนก้าวมาสู่ความสำเร็จของการเป็นชุมชนต้นแบบ
อีกทั้งคนในชุมชนดำรงชีวิตอยู่บนหลักของศีล๕ ทุกวันพระมีการเข้าวัดฟังธรรมปฏิบัติธรรมสวดมนต์เป็นประจำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและจารีตท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนอยู่ด้วยความสงบสุขพอเพียงไม่แก่งแย่งแข่งขันมีน้ำใจให้แก่กันเคารพกติกาสังคมชุมชนที่ร่วมกันกำหนดและมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน กตัญญูรู้คุณ ที่จะรักษาจารีตประเพณีวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างมา ด้วยเหตุนี้ชุมชนวัดมวยต่อจึงได้รับการประเมินจากคณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และได้รับการยกย่องเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบระดับภาคเหนือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกันรักษาสืบสานและต่อยอดกับสิ่งที่ได้รับมาจากบรรพชนที่ฟูมฟักกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ความท้าทาย
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น กล่าวคือ เยาวชนคนรุ่นใหม่ กับคนรุ่นเก่า กล่าวคือ ผู้อาวุโสกับเยาวชนคนรุ่นใหม่แนวความคิดในการพัฒนาอาจแตกต่างกัน โดยมีทัศนคติไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ความพยายามทำให้ทั้งสองฝ่ายให้เกิดความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันนั้นเป็นเรื่องยาก แต่สุดท้ายก็ผ่านพ้นเรื่องนี้มาได้ด้วยการยอมรับฟัง จนกระทั่งมีทางออกที่ดีที่สุด จนเกิดเป็นวิธีคิดแบบใหม่ แต่วิธีคิดแบบเก่า ก็ยังคงรักษาไว้ ทำให้งานด้านต่างๆสำเร็จอย่างลงตัว เพราะทุกคนไม่ถูกกีดกันด้านความคิดเห็น ต่างคนต่างมีเหตุผลเหมือนกัน แต่เป้าหมายทั้งสองนั้นก็เหมือนกัน นั่นคือการทำให้วัดและชุมชนเกิดการพัฒนา
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือทำให้ทุกคนในชุมชนได้แสดงออกถึง ศักยภาพที่มีอยู่ของคนในชุมชนออกมาพฤติกรรมของคนในชุมชนเป็นไปในแบบที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน จากวัดที่เป็นศูนย์รวมใจทำให้คนปรองดองสมานฉันท์สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสะท้อนถึงหลักคุณธรรมที่ครอบคลุมทั้งศิลป์ 5 พอเพียง วินัย สุจริต มีจิตอาสาและกตัญญูรู้คุณ สมบูรณ์พร้อมทุกประการ และพัฒนาไปจนถึงคุณธรรมขั้นสูง ได้แก่การรักษาศีล การพัฒนาจิตใจตนด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรม
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
เป็นชุมชนที่พัฒนาโดยชุมชน โดยทุกภาคส่วนราชการเข้ามาทำงานบูรณาการร่วมกับทางวัดและชุมชนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาเข้ามา ต่อยอดร่วมกับคนในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป โดยเกิดการทั้งทางด้านพัฒนาทั้งด้านการส่งเสริมอาชีพการท่องเที่ยว การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการต่อยอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำความรู้สู่เยาวชนในสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยให้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยด้านประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนประวัติศาสตร์สานสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น
ผู้ติดต่อในพื้นที่
นายวรรธนันท์ เชิดชูศีลธรรม
๐๘๔-๔๓๓-๕๔๔๑
แสดงความคิดเห็น