“ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม
มีความกตัญญูรู้คุณ
เทิดทูนสถาบันหลัก รวมพลังรักสามัคคี”
ชุมชนวัดพะโคะประกอบด้วย๒ หมู่บ้าน คือ บ้านพะโคะ และบ้านคลองฉนวนทั้งสองชุมชน มีวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีที่เหมือนกัน โดยมีความศรัทธาหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มีวัดพะโคะ เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีของชุมชน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป้นหลัก ชุมชนวัดพะโคะ ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ของจังหวัดสงขลา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๙ ชุมชน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ
เริ่มการพัฒนาสู่การเป็นชุมชนคุณธรรม โดยใช้ผู้นำหลักพลัง “บวร” เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ภายใต้มิติทางวัฒนธรรม ๓ มิติ ได้แก่
๑.จัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ให้ทุกคนปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา ทำความดี ละเว้นความชั่ว เช่นกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทยต้อนรับปีใหม่วิถีธรรม
๒.จัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาชีวิต มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพาตนเอง และพึ่งพิงกันเอง ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
๓.จัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนดำเนินวิถีชีวิตแบบวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม รวมถึงมีความจงรักภักดี เคารพเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น ปิดทองหลวงปู่ทวด และห่มผ้าพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โครงการบวชเนกขัมมะธรรมจาริณี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นต้น
กระบวนการสร้างชุมชนคุณธรรม ดังนี้
๑.ชุมชนได้ประกาศเจตนารมณ์จะขับเคลื่อนชุมชนเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
๒.มีการจัดตั้งคณะกรรมการทำงานของชุมชน และร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
ปัญหาที่อยากแก้ คือ ปัญหาสภาพแวดล้อมของชุมชน ปัญหาสิ่งเสพติด ความยากจน การทะเลาะวิวาท การเล่นการพนัน ลักขโมย และรายได้ไม่เพียงพอ
ความดีที่อยากทำ คือ การเทิดทูนสถาบัน
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กาปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา การส่งเสริมให้มีรายได้การสืบทอดวัฒนธรรม การลด ละ เลิก อบายมุข ฯลฯ
๓.ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม และร่วมกันจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน มีการส่งเสริมการทำความดีและติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อพัฒนาแผน
๔.ชุมชนมีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคล ผู้ทำความดี ทำให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่ม มีการเก็บออมเงิน ฯลฯ ทำให้ทุกคนในชุมชนมีความสุข
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
ปัญหาอบายมุขชุมชนหมดไป เช่น ปัญหายาเสพติดและการดื่มสุราลดลง ไม่มีการเล่นการพนัน ไม่มีการทะเลาะวิวาท ไม่มีลักขโมย ไม่มีปัญหาขยะ หนี้สินครัวเรือน ลดลง
เกิดสิ่งดีงามขึ้นในชุมชน คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนในชุมชนเข้าวัดฟังธรรม และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อเทิดทูนสถาบันฯ ทุกวันสำคัญ
มีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สถาบันการเงินชุมชน กองทุน หมู่บ้าน กลุ่มส่งเสริมอาชีพ และกลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน มีการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่ายงานและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
นอกจากนี้ชุมชนคุณธรรมวัดพะโคะ ยังได้ ดำเนินการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว สามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงานได้ ชุมชนยังสามารถรวมกลุ่มกันพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน จนเกิดเป็น “ท่องเที่ยวตามรอยหลวงปู่ทวด” ซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้นจนถึงทุกวันนี้ ส่งผลให้คนในชุมชนดำรงชีวิตอย่างดีงามและมีความสุข
ผู้ประสานงานติดต่อในพื้นที่ :
นายอภิชาติ ยุพยงค์
ประธานการท่องเที่ยวชุมชน
โทรศัพท์ ๐๘๗ ๒๙๔ ๔๙๔๐
แสดงความคิดเห็น