community image

ชุมชนคุณธรรมวัดท่ากกแก

อ.หล่มสัก ต.ตาลเดี่ยว จ.เพชรบูรณ์
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 27 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 35 คน
cover

“วัดท่ากกแกศูนย์รวมใจ

รักษาไว้ซึ่งบุญประเพณี

วิถีพอเพียง”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         บ้านท่ากกแกนั้นชาวบ้านทอดประเพณี วัฒนธรรม ฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเน้นด้านศีลธรรมเพื่อความสงบสุขของชุมชน สภาพบ้านเรือนโดยรวมมีลักษณะเป็นบ้านไม้ บ้านเรือนมั่นคงแข็งแรง และมีการสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นบ้าง นอกจากนั้นคนในชุมชนจะยึดถือประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้แก่ ประเพณี ฮีต ๑๒คลอง ๑๔ ที่ในแต่ละเดือนจะมีกิจกรรมประเพณีกันทุกเดือน ในส่วนของโบราณสถานหรือโบราณคดี ที่วัดท่ากกแก คือ สิมโบราณ(โบสถ์) และหลวงพ่อพระเจ้าใหญ่สุวรรณนันทมุนี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดท่ากกแก


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         การพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบ ได้รับการสนับสนุนจากพลังบวรที่เข้มแข็งของทุกคนในชุมชนการดำเนินงานต่างๆ อาศัยหลักคุณธรรม กติกา ข้อตกลงมาร่วมกันกำหนด จึงพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีในทุก ๆ ด้าน เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ณ วัดท่ากกแก แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ชมผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม และอาหารพื้นถิ่นให้ชิมหลากหลาย ซึ่งในชุมชนมีบริการที่พักโฮมสเตย์และรีสอร์ทพร้อมรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้คนในชุมชนยังให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีวัฒนธรรม โดยการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลประเพณีต่างๆ เช่น บุญสงกรานต์สรงน้ำพระเจ้าใหญ่ซึ่งทางชุมชนจะจัดงานตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๗ เมษายน ของทุกปี ในงานบุญนั้นประกอบไปด้วยพิธี ฟ้อนถวาย สรงน้ำพระพุทธรูปประจำวัดท่ากกแก หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่สุวรรณนันทมุนี ทำบุญรวมญาติ พิธีแห่ดอกไม้ พิธีถวายธุง(ธง)หรือยกธง การก่อเจดีทราย พิธีสู่ขวัญหลวงพ่อพระเจ้าใหญ่สุวรรณนันมุนี บุญแห่ต้นปราสาทผึ้งของวัดท่ากกแก นิยมทำมากในช่วงหลังออกพรรษาเป็นต้นไป ในงานจะมีการไหลเรือไฟ และเรือไฟน้อย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชนบ้านท่ากกแกที่ยังคงยึดถือรูปแบบและลักษณ์ตามแบบโบราณ


ความท้าทาย

         การดำเนินงานอาจมีอุปสรรคต่างๆ เกิดขึ้น ชุมชนสามรถข้ามผ่าน อุปสรรคเหล่านั้นไปได้ โดยผู้นำและคณะกรรมการในชุมชน จะต้องมาประชุมและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และนำมติที่ได้จากการประชุมมาดำเนินการเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         การขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนด้วยพลังบวร ที่ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากสังคม เนื่องจากคนในชุมชน มีข้อปฏิบัติหลัก ๓ ประการ คือยึดมั่นในหลักศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม โดยมีหลักคุณธรรมร่วมกันประกอบด้วย

        ๑.พอเพียง วิถีพอเพียงของคนในชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้สิ่งของที่มีในชุมชนมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การจัดทำครัวพอเพียง จากวัตถุดิบภายในชุมชนมาประกอบอาหาร และยังเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย เช่นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสวนกัปตพล โคกหนองนาโมเดล นายอดุลย์ ช่วยปุ่น

๒.วินัย ชุมชนมีความสามัคคีและมีกำหนดความต้องการร่วมกัน ร่วมมือจัดกิจกรรม และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและสังคม รวมทั้งได้มีการออกระเบียบร่วมกันถึงจารีต วัฒนธรรม ประเพณีที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเช่นบุญสงกรานต์สรงน้ำพระเจ้าใหญ่ บุญแห่ต้นปราสาทผึ้ง

        ๓.สุจริต ชุมชนมีการตื่นตัว รู้จักรักษาสิทธ์หน้าที่ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม มีการปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันทั้งหมู่บ้าน ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีและมารยาททางสังคม

        ๔.จิตอาสา คนในชุมชน มีความเอื้ออาทร ใส่ใจต่อสังคม มีจิตสาธารณะ ร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยกันปกป้อง ดูแลรักษา สาธารณประโยชน์ของชุมชน ทั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์ ช่วยกันลงมือทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทน เห็นได้จากการจัดกิจกรรมของส่วนรวม คนในชุมชนมีจิตอาสา ร่วมกันอย่างแข็งขัน ทำให้ภายในชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบแบบแผน เช่น กิจกรรมทำความสะอาดวัด ทำความสะอาดถนนในชุมชน

๔.กตัญญูรู้คุณ ชุมชนการส่งเสริมการจัดงานประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณ โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมทำบุญตักบาตร จิตอาสาปลูกต้นไม้

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ในการที่เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ที่มีความเข้มแข็งด้วยพลังบวร เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม เป้าหมายที่จะเดินต่อคือเพื่อสืบทอด ประเพณีและวัฒนธรรมให้คงอยู่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑.กิจกรรมงานบุญประเพณีต่างๆให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้เข้าใจถึงบุญประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อ อนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอดให้คงอยู่

๒.จัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชนคุณธรรม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 โดยจัดจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม สินค้าในชุมชน อาหารพื้นถิ่น ผลผลิตทางการเกษตร ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลักดันกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือพลังบวร ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และวัด พลังบวรมีผู้นำชุมชน ได้แก่ พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี เจ้าคณะตำบลปากช่องเขต ๒


ผู้ติดต่อในพื้นที่

พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี ๐๘ ๓๘๗๓ ๗๐๓๙

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี ๐๘ ๓๘๗๓ ๗๐๓๙

แสดงความคิดเห็น

profile