กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนลาวเวียงบ้านหาดสองแควได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวเรื่องเล่าของชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม ให้กับลูกหลานจากรุ่นสู่รุ่นมาโดยตลอด คนในชุมชนจึงได้รับสิ่งที่ดีมาจากบรรพบุรุษ มีเรื่องราวต่างๆ ในชุมชนถ่ายทอดกันมาเป็นสิ่งที่คนในชุมชนรู้สึกภาคภูมิใจ จึงมีการประชาสัมพันธ์บอกกล่าวให้กับผู้ที่สนใจได้รับรู้ และมีการส่งต่อไม้ให้กับลูกหลาน เด็ก เยาวชนในชุมชนเพื่อสืบสาน สืบทอดต่อไปเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน เกิดการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน อีกทั้งมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกได้รู้จักชุมชนบ้านหาดสองแควมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในชุมชน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ชุมชนบ้านหาดสองแควได้ดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม เน้นการมีส่วนร่วมโดยใช้พลังบวร ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของชุมชน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้นต่างมีร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ในการทำโครงการ กิจกรรมต่างๆ อีกทั้งผู้นำพลังบวร คณะกรรมการที่มีจิตอาสารักถิ่นกำเนิดบ้านเกิด ชาวบ้านในชุมชน ต่างมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ ซึ่งคือทุนทางวัฒนธรรม ความเป็นลาวเวียงอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จึงมีการช่วยกันพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน และมีการเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการขับเคลื่อนงาน มีการเชื่อมกับมหาวิทยาลัยโดยมีการทำวิจัย โครงการต่างๆ ในชุมชน ความร่วมมือกับท้องถิ่น และสถาบันทางการเงิน ทำให้ชุมชนบ้านหาดสองแควประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน
ผลจากการขับเคลื่อน นำทุนที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาต่อยอดนั้น ทำให้ชุมชนก้าวสู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านหาดสองแคว สื่อถึงเรื่องราวที่โดดเด่นของชุมชนวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ประเพณี เอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย อาหาร และภาษา อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาวเวียง อันเป็นสิ่งที่คนในชุมชนปฏิบัติสืบมาจากบรรพบุรุษ และได้มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
ความท้าทาย
การนำคำว่าลาวเวียงมาเป็นจุดขายเพื่อสื่อถึงเรื่องราวอันเป็นอัตลักษณ์ รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม ความดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งคนในชุมชนได้นำทุนเหล่านั้นมาจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยว ให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ได้สัมผัสกับวิถีวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ลาวเวียง ทำให้สามารถสร้างชื่อเสียงแก่ชุมชนของตน ตลาดจนพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน สามารถถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังได้
นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของงบประมาณ ทางชุมชนนั้นทำงานโดยไม่คำนึงถึงงบประมาณ ไม่มีเงินก็ยังสามารถดำเนินงานต่อไปได้ เพราะความมีจิตอาสาของคนในชุมชน ซึ่งยินดีทำด้วยใจ ด้วยแรง ความร่วมมือ ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นผลให้สามารถก้าวต่อไปได้
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของวัฒนธรรมรุ่นใหม่นั้นกำลังจะลบเลือน และแทนที่ ซึ่ง เด็กเยาวชนรุ่นใหม่นั้นให้ความสำคัญกับสิ่งดังกล่าวมากกว่า อันเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งที่ทางชุมชนจำต้องหาทางก้าวข้ามเพื่อให้เด็ก เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมก่อนที่สิ่งที่สืบทอดต่อกับมาอย่างยาวนานจะสูญหายไปกับกาลเวลา
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์
๑.ชุมชนมีความสุขในการดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดั้งเดิม รู้จักหน้าที่พลเมืองที่ดีของสังคม อยู่กันแบบพี่น้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันกัน ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๒.ชุมชนชอบเข้าวัดฟังธรรมจำศีลเจริญภาวนาจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก
๓.คนในชุมชนมีจิตอาสา มีการช่วยเหลือเกื้อกูลในเรื่องของการดูแลการจัดการขยะที่โดดเด่น สามารถจัดการขยะด้วยตนเอง มีเยาวชนที่ถูกถ่ายทอดเรื่องจักรยานสานฝัน เรื่องสิ่งแวดล้อมหน้าบ้าน หน้ามอง หน้าบ้านสวยงาม โดยทำหน้าบ้านของตนเองให้ดี
๔.มีการพัฒนาในชุมชนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยชุมชนเรานับถือศาสนาพุทธ และสำนึกในพระมหากษัตริย์ โดยมีการจัดกิจกรรมย้อนรำลึกรัชกาลที่ ๕ และกิจกรรมงานงานประเพณีไหลแพไฟ
ผลกระทบ จากการทำเดินงานทำให้คนทั่วไปรู้จักชุมชนคุณธรรมบ้านหาดสองแควมากขึ้น หน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน ชุมชนมีพลังที่สำคัญที่จะสืบทอดให้ชุมชนลาวเวียงมีกิจกรรมท่องเที่ยว มีเศรษฐกิจที่มั่นคง เพื่อให้ชาวบ้านสามารถสร้างรายได้ มีอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการรักษาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมในชุมชนไว้ได้ เพื่อให้เด็ก เยาวชนในอนาคตได้สืบทอดต่อไป
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ชุมชนมีความตั้งใจที่จะรักษาอนุรักษ์พัฒนาต่อยอดให้ความเป็นชุมชนลาวเวียงที่ถ่ายทอดผ่านทั้งประเพณี วัฒนธรรม อาหาร ภาษา การแต่งกาย แหล่งเรียนรู้ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และประสงค์ที่จะยกระดับแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยจัดทำเป็นแผนของชุมชนในแต่ละปี เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เกิดการพัฒนาเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณี โดยเชื่อมบูรณางานความร่วมมือไปยังชุมชนอื่น ๆ ให้เกิดการขับเคลื่อนงานทั้งในอำเภอใกล้เคียง ภายในจังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้ติดต่อในพื้นที่
นายพงษ์เทพ ชัยอ่อน ๐๘๑-๙๗๒-๑๗๑๔
แสดงความคิดเห็น