community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านกุดครอง

อ.ดอนจาน ต.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

“ชุมชนวิถีพุทธเข้มแข็ง

แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์

ประชาราษฎรน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

กว่าจะมาเป็นวันนี้       

         ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนบ้านกุดครอง มีลักษณะเป็นครอบครัวที่อยู่กันแบบเครือญาติ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คนในชุมชนรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน ประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะเป็น การเกษตรกรรม หัตถกรรม ตลอดจนชุมชนยังมีการสืบทอดทางวัฒนธรรมประเพณี แต่ผู้นำชุมชนเห็นว่า แม้ชุมชนจะมีความอบอุ่น ความมั่นคง มีความเข้มแข็งทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่ก็อยากนำพาให้ชุมชนของทุกคนให้ดียิ่งขึ้นไป จึงได้หาวิธี กิจกรรม โครงการพัฒนาชุมชน ในระยะแรกชาวบ้านมีความเห็นว่าหมู่บ้านของตนเองนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคงดีอยู่แล้ว จึงไม่อยากที่จะพัฒนาอีก ผู้นำชุมชนจึงได้ร่วมมือกับภาครัฐเพื่อชี้แจงให้ชาวบ้านเห็นถึงประโยชน์ และสิ่งดีที่ ด้วยความที่ชาวบ้านมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน จึงได้ตกลงร่วมมือกันพัฒนาชุมชนเพื่อให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นต้นแบบแก่หมู่บ้านอื่น


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ

         ชุมชนบ้านกุดครองมีการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน มีการสอดแทรกให้ความรู้ ชี้แจงในการประชุมของหมู่บ้าน ในการจัดเวทีประชาคมของหมู่บ้าน มีการศึกษาดูงานทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ และในหมู่บ้านยังมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ปฏิบัติและดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นการส่งเสริมให้มีการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง จึงนำพาไปสู่การมีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่สมดุล มั่นคง ยั่งยืนในที่สุด โดยมีการดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ดังนี้

1.สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี มีระบบนิเวศที่สมดุล ซึ่งชุมชนบ้านกุดครองได้ดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาหมู่บ้านมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือดีจากสมาชิกทุกคุ้ม เช่น ได้ปรับภูมิทัศน์สวยงามร่มรื่น ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ มีน้ำสะอาดดื่ม และบริโภคเพียงพอตลอดปี

2.สุขภาวะของคนในชุมชน เช่น

มีอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน (อสม.) ปฏิบัติงานเสริมสร้างสุขภาพของคนในชุมชน ป้องกันควบคุมโรคระบาด เยี่ยมเยียนบ้านของผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ

มีการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน รักษาโรคเบื้องต้น ทำแผลที่บ้านผู้ป่วย ตามโครงการ”ใกล้บ้านใกล้ใจ” เป็นต้น

3.ด้านการบริหารจัดการชุมชน

         คณะกรรมการชุมชนบ้านกุดครอง โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำได้นำการบริหารจัดการที่เป็นธรรม เพื่อเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข และได้นำชาวบ้านพัฒนาในทุกด้าน แบบพึ่งพาตนเองเบื้องต้น ก่อนที่จะขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ รณรงค์ส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องยาเสพติด โดยได้มีการร่วมมือกับทางราชการในการแก้ไขปัญหา และมีการสอดส่องดูแลเข้าไปพูดคุยทำการเข้าใจเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องทำให้ปัญหาลดลง ได้รับเลือกเป็น”หมู่บ้านสีขาว”

4.มีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


ความท้าทาย

         ชุมชนบ้านกุดครองเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวแบบเครือญาติ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความสุขความสมัครสมานสามัคคีในระดับหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงชาวบ้านภายในชุมชนจะเป็นไปได้ยาก เพราะชาวบ้านมองไม่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องได้รับการชี้แจงจากผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และคำแนะนำเพื่อการพัฒนาจากภาครัฐ ชาวบ้านในชุมชนจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและผู้นำชุมชนทำให้ชาวบ้านได้รับความรู้และความเข้าใจ ได้ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพอเพียงที่มีค่า และก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาต่อยอด จัดตั้งกลุ่มองค์กรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ พอเพียง ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล

         ผลกระทบที่เกิดขึ้น ชาวบ้านในชุมชนบ้านกุดครองได้ร่วมแรงร่วมใจสมัครสมานสามัคคีกัน ใส่ใจชุมชนมากขึ้นไปกว่าเดิม พร้อมที่จะพัฒนา เห็นค่าของความสำคัญเห็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐและผู้นำชุมชนหยิบยื่นมาให้ด้วยความหวังดี

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ด้วยความร่วมมือร่วมแรงและร่วมใจจากภาครัฐ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน ทำให้ชุมชนบ้านกุดครองมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีความเข้มแข็งสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกันมากขึ้นไปอีก มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง มีรายได้ที่เพียงพอ ดำเนินชีวิตในวิถีทางเดินสายกลาง ชาวบ้านในชุมชนมีความต้องการพัฒนาชุมชนให้สูงขึ้นเพื่อนำไปสู่การมีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มั่นคง ยั่งยืน พร้อมที่จะเป็นชุมชนตัวอย่างต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่น


ข้อมูลการติดต่อ

นางสาวหนูละมัย ทัศนา ๐๘๒-๘๗๔-๐๙๖

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสาวหนูละมัย ทัศนา ๐๘๒-๘๗๔-๐๙๖

แสดงความคิดเห็น

profile