“ ชุมชนบ้านห้วงมะระ ชนะความยากจน
ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนบ้านห้วงมะระเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีความเป็นอยู่ตามวิถีชนบท ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก บางก็รับจ้างค้าขาย โดยส่วนใหญ่จะทำนาข้าว และไร่อ้อย มีการปลูกผักขาย เพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านส่วนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีที่มากเกินความจำเป็น เพราะต้องการให้ได้ราคาดี และได้ผลผลิตในจำนวนมากในการเพาะปลูกแต่ละครั้ง ซึ่งการทำเช่นนั้นเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค และผู้ผลิตอย่างเกษตรกรตามมา เช่นโรคมะเร็ง ซึ่งเกิดจากการสะสมของสารเคมีในร่างกาย นอกจากนั้นแล้วยังทำให้เกิดปัญหาหนี้สินจากการซื้อสารเคมีมาใช้เกินความจำเป็น เอีกทั้งสารเคมีนั้นส่งผลเสียโดยตรงต่อระบบนิเวศน์โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำ ปลาตายเพราะติดโรค แหล่งน้ำเน่าเสีย
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ชุมชนบ้านห้วงมะระ ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยนำเอาหลักคำสอนทฤษฎีมาใช้เพื่อให้เกิดความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในชุมชนการพัฒนาต้องทำพื้นฐานให้มั่นคงก่อนให้ประเทศ คนในชุมชนต้องพออยู่พอกิน ไม่อดอยาก มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงพัฒนาความก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นขั้นเป็นตอนจึงจะแน่นอน เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานคุณธรรมความรู้
ขั้นที่ 1 พอกินพอใช้พออยู่พอร่มเย็นปลูกทุกอย่างที่กินที่ใช้ให้พอเพียงกับชีวิตของคนในครอบครัว
ขั้นที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า
บุญ สังคมใดทำบุญทำทานกตัญญูจะเจริญ
ทาน มีเหลือกินเหลือใช้ก็แบ่งปันมีจิตเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
เก็บ(รักษา) เคล็ดวิชาภูมิปัญญา หมั่นศึกษาหาความรู้ไม่ทำตัวเป็นน้ำล้นแก้ว
ขาย มั่งคง ยั่งยืน ค้าขายเป็นจะรวย-นำเทคโนโลยีความทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ขายของในเพจ ออนไลน์ เฟซบุ๊ก ไลฟ์สด อินสตาแกรม
ข่าย มีกองกำลังเกษตรโยธิน
การเข้าถึงหน่วยงานต่างๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีเครือข่ายต่างๆในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ขับเคลื่อนงานร่วมกันทั้งภาคประชาชน/เอกชน และภาครัฐ
ความท้าทาย
การดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนนั้นนับว่ามีความท้าทายที่จำต้องเผชิญหน้าอยู่หลายประการ อันเป็นสิ่งที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้ ประกอบด้วย
๑.ชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ
๒.ชาวบ้านส่วนใหญ่ขาดความรู้ในด้านสิทธิต่างๆ ของตนเองทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่พึงได้
๓.การดำเนินงานเริ่มต้นจากภาคประชาชน ทำให้การเข้าถึง เข้าใจ และยอมรับเป็นไปได้ช้า เพราะไม่มีตำแหน่งหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นระยะยาวกว่าจะส่งผลสำเร็จจึงทำให้เกิดความท้อแท้และสิ้นหวัง
๔.ใช้หลักคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เป็นแนวทางในการพัฒนาตน ซื่อสัตย์ อดทน มีคุณธรรมนำพาสู่ความสำเร็จ
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
มีการรวมกลุ่มมีการประชุมพูดคุยปรึกษาหารือช่วยกันคิด ช่วยกันทำแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้คนในชุมชนตระหนักรู้ และเข้าถึง เข้าใจ ได้เรียนรู้ มีการฝึกอบรมในด้านอาชีพต่างๆ การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง การทำบัญชีครัวเรือน การปลูกผักปลอดภัยเพื่อบริโภคและจำหน่าย การดูแลสุขภาพร่างกายทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาหนุนเสริมให้ความรู้และสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐ ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีความสุขในชีวิต
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
จากผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ประจักษ์นั้น เป็นแรงผลักดันให้ชุมชนคุณธรรมชุมชนบ้านห้วงมะระมีความคิดที่จะเดินต่อไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
๑.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่รูปแบบประยุกต์โคกหนองนางโมเดลบ้านหัวมะระ หมู่ ๗ ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
๒.ฐานการผลิตและแปรรูปอาหารปลอดภัยมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ตามวิธีชุมชนบ้านห้วงมะระ
๓.ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามวิถีไทยวิถีชุมชน
๔.ฐานการเรียนรู้บ้านปั้นควาย
๕.ฐานการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สูตร ๕ ส.
๖. เกิดอาชีพที่มั่นคง ชาวบ้านในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้มีอาชีพและมีงานทำใกล้บ้านไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น
ข้อมูลการติดต่อ
นางกชกร ผลโภชน์ ๐๙๔-๘๙๔-๖๔๒๘
แสดงความคิดเห็น