community image

กองทุนสวัสดิการตำบลหนองหงส์

อ.ทุ่งสง ต.หนองหงส์ จ.นครศรีธรรมราช
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 0 คน
cover


“สืบสานประเพณี ศิลปะ

วัฒนธรรมไทย วิถีชุมชนตำบลหนองหงส์”


ชุมชนตำบลหนองหงส์ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีลำคลองไหลผ่าน ๔ สาย ทำให้ชุมชนในตำบลสามารถทำการเพาะปลูก การเกษตร ทำสวนยางพารา ซึ่งมีอาชีพหลักในการทำเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป ด้วยวิถีชุมชนตำบลหนองหงส์ มีรากฐานมาจากประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีประเพณีวันสำคัญๆ ที่แต่ละหมู่บ้านร่วมกันสืบทอดและถือปฏิบัติกันสืบมา อาทิ วันบุญเดือนสิบ วันเข้าพรรษา วันชักพระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลอมรวมคนในหมู่บ้านเกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน ที่เรียกว่า “การลงแขก” ถือเป็นการลงแรงกันทำงาน ซึ่งยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


ก่อเกิดของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหงส์

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหงส์ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๘ เริ่มต้นได้จัดกิจกรรมดูแลเด็กแรกเกิด ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการติดเตียง ด้วยการเป็นจิตอาสา โดยมีสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงให้การอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกองทุนฯ ต่อมาจึงได้ขยายสวัสดิการเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อตกลงร่วมกัน คือ กองทุนไม่ได้ใช้เงิน เป็นตัวนำกิจกรรม แต่ใช้เงินเป็นเพียงปัจจัยขับเคลื่อนกิจกรรม ใช้การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ผ่านแอฟพลิเคชั่นไลน์ และยังมีกลุ่มเยาวชนมาสืบทอดงานกิจกรรมของกองทุนอีกด้วย


คุณธรรม ๕ หลักคิด ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน

๑)หลักการออม สร้างวิธีคิดให้ชุมชนได้รู้จักการออมก่อนใช้ ด้วยการสร้างกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยจะออมตามความพร้อมของสมาชิกเป็นหลัก

๒)หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

๓)หลักภราดรภาพ มุ่งเน้นให้ชุมชนอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง เครือญาติกัน ช่วยเหลือกัน

 ๔)หลักการให้และการรับ ส่งเสริมให้สมาชิกเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ การให้ด้วยการเป็นจิตอาสา การรับคือเป็นผู้รับความสุข รับความอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น

๕)หลักแห่งจิตอาสา ยึดมั่นในการสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ มีความดีคู่คุณธรรม

โดย ๕ หลักคิดนี้ ถือเป็นคุณธรรมอัตลักษณ์ ที่จะทำผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเป็นจิตอาสา การดูแลผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย การลงแขก การทำหน้าที่เป็น อสม. การช่วยเหลือผู้พิการซ้ำซ้อน ผู้พิการติดเตียง

สืบสานประเพณีสู่วิถีปัจจุบัน

๑)กิจกรรมฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ การลงแขกด้วยจิตอาสา ทำงานด้วยใจ ช่วยกันระดมแรงงานในการทำกิจกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ ถางป่า ช่วยงาน งานแต่ง งานศพ งานบวช

๒)การหิ้วปิ่นเป็นวิถีชุมชนดั้งเดิมของคนในชุมชนตำบลหนองหงส์ ในวันสำคัญต่างๆ เช่น เดือนห้า เดือนสิบ ลูกหลานจะเดินทางไปเยี่ยมบุพการี พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย โดยจะจัดอาหาร ใส่ปิ่นโตไปเยี่ยม

๓)ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตการแต่งกาย เพื่ออนุรักษ์การแต่งกายแบบไทยโดยเฉพาะไทยใต้ นุ่งผ้าปาเต๊ะ ผ้าลายไทยหลากหลายโอกาสในงานบุญ


รูปธรรมความสำเร็จ: โครงการอยู่ดีมีสุข ภายใต้โครงการ คนหนองหงส์จัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจากครัวเรือนและชุมชนสู่การพึ่งตนเอง ทำให้ทุกครัวเรือนมีการออมทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ ผลิตของใช้ในครัวเรือน ผลิตน้ำหมัก และปุ๋ยชีวภาพใช้เอง รณรงค์ไม่ใช้สารเคมี เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมไทย ได้แก่ เรียนทำขนมไทย การเรียนการขยายพันธุ์พืช การประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้เพื่อเพิ่มมูลค่า

กิจกรรมส่งเสริมคนดี สมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น วันแม่แห่งชาติ วันสตรีไทย วันเด็กแห่งชาติ วันสำคัญทางศาสนา ร่วมกับเครือข่าย คัดเลือกคนดีสู่เวทีรางวัล

กิจกรรมจิตอาสา มีการตั้งครัวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพภัยเครือข่ายลุ่มน้ำนครตรัง การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน กิจกรรมดูแลผู้เปราะบางทางสังคม

จัดการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ๑)เรื่องอาหารการกิน โดยการรณรงค์ให้ปลูกพืชผักพื้นบ้านและนำมาประกอบเป็นอาหารพื้นบ้านดั้งเดิมไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน ๒)การฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น


เครือข่ายแห่งความสำเร็จ

เกิดความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันในระดับพื้นที่ และระดับจังหวัด ที่หนุนเสริมการดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จ อาทิเช่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด สนับสนุนการทำโครงการเศรษฐกิจชุมชน กศน.หนองหงส์ ให้ความรู้เพิ่มรายได้ สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งสง ให้ความรู้ด้านการเกษตร ขยายพันธุ์พืช

รพสต.หนองหงส์ โรงพยาบาลทุ่งสง สถานีกาชาดสิรินธร ให้การช่วยเหลือการให้ความรู้ เรื่องผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น


ผู้ประสานงานติดต่อพื้นที่ :

นางเพ็ญศรี รัตนพันธุ์ ผู้ประสานงานกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลหนองหงส์

มือถือ ๐๘๗ ๒๗๖๓๓๒๒ 

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางเพ็ญศรี รัตนพันธุ์ ๐๘๗ ๒๗๖๓๓๒๒

แสดงความคิดเห็น

profile