กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนตำบลเจริญธรรม จดแจ้งและจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด มีการจัดโครงสร้างการบริหารแบ่งบทบาทหน้าที่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนา มีคณะทำงาน สภาองค์กรชุมชน ร่วมกับการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านในแต่ละเดือน โดยใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีกลางในการพูดคุย หาปัญหาและแนวทางการแก้ไขเรื่องต่างๆ ในชุมชน ตัวแทนกลุ่มองค์ก มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเพื่อค้นหาปัญหาของตำบล และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของตำบล พบว่าตำบลเจริญธรรมมีปัญหาที่ร่วมกันแก้ไขปัญหา คือ ปัญหาเรื่องอยู่อาศัยไม่มั่นคง ปัญหาคุณภาพชีวิตและไม่มีสวัสดิการ ปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อรายได้ ปัญหาการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
จากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันของคนในตำบล ทำให้เกิดการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ โดยเริ่มต้นจากการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนในตำบลที่ไม่ความมั่นคง ซึ่งใช้วิธีการทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ทำการสำรวจข้อมูลในตำบลทำให้พบว่ามีบ้านที่ประสบปัญหาที่ไม่มั่นคงทรุดโทรมจำนวน ๒๔๐ หลังคาเรือน ใช้คณะทำงานจากสภาองค์กรชุมชนฯ ภาคีเครือข่าย และครัวเรือนผู้เดือดร้อนมาจัดเรียงความสำคัญความเดือดร้อนของผู้ที่ประสบปัญหาพร้อมทั้งลงมติประชาคมเพื่อเรียงลำดับการเข้าร่วมโครงการบ้านพอเพียงชนบทเพื่อซ่อมแซม เสนอของบประมาณสนับสนุนจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์กรมหาชน) หรือ พอช.
แม้บ้านจะได้รับการซ่อมแซม มีที่อยู่อาศัยที่มั่งคงแข็งแรงแล้ว แต่คุณภาพชีวิตของคนที่นี้ยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ การเข้าถึงสวัสดิการหรือบริการภาครัฐยังมีขีดจำกัดของคนที่มีรายได้ไม่พอเพียงต่อรายจ่าย เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคม จึงมีแนวคิดในการจัดหาสวัสดิการให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มบุคคลทั่วไปในตำบลให้มีสวัสดิการ เป็นการช่วยเหลือกันพึ่งพาอาศัยกันในตำบลเป็นการจัดสวสัดิการรูปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนที่ดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย จากแนวคิดจึงเริ่มลงมือทำด้วยการใช้พื้นที่ของเวทีสภาองค์กรชุมชนตำบลเจริญธรรมเป็นเวทีกลางพูดคุยในการเพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนและก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเจริญธรรม ซึ่งได้รับการหนุนเสริมการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนจากภาคีเครือข่ายจากขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสระบุรี และกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลวิหารแดงที่หนุนเสริมและเป็นเครือข่ายผลักดันให้คำแนะนำในการจัดตั้ง ซึ่งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเจริญธรรมมีกลไกและคณะกรรมการในการขับเคลื่อนจำนวน ๑๓ ท่าน มาจากผู้นำหมู่บ้านและประชาชนครบทั้ง ๘ หมู่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ มีสมาชิกที่มาจากผู้นำหมู่บ้านและมาสมาชิกในครอบครัวเป็นฐานเริ่มแรกในการก่อตั้งจำนวน ๕๘ ราย
ความท้าทาย
เมื่อก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเจริญธรรมได้สำเร็จแล้ว การหาสมาชิกเข้าร่วมกองทุนนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะการที่จะทำให้ประชาชนเห็นถึงประโยชน์ของการเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการนั้นจะต้องสร้างความเข้าใจ และชี้แจ้งถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจึงทำการลงพื้นที่ชี้แจ้งข้อมูลและสิทธิ์ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
อีกทั้งภายในตำบลยังขาดกำลังของคนรุ่นใหม่ที่สำคัญต่อการพัฒนาตำบลอย่างยั่งยืน ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ทางสภาองค์กรชุมชนจึงมีความพยายามที่วางระบบการทำงานโดยการจัดเก็บข้อมูลโดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการทำงานในอนาคตและไม่ยุ่งยากในการส่งผ่านการทำงานให้กับคนรุ่นต่อไป
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ในการขับเคลื่อนงานของคนในตำบลเจริญธรรม ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานภายในตำบลมากขึ้น ซึ่งเราใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเจริญธรรมเป็นเวทีกลางในการพูดคุยพัฒนาแก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกหนึ่งโครงการที่ร่วมกันขับเคลื่อนงาน คือ โครงการป้องกันการทุจริตโดยการมีส่วนรวมของเครือข่ายภาคประชาชน หรือ Big Rock ซึ่งเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ต้องการให้ประชาชนตื่นรู้และตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตที่มากขึ้น ซึ่งการดำเนินงานภายในตำบล สภาองค์กรชุมชนได้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กร เครือข่ายทั้งท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนในตำบลเพื่อจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อน และได้ดำเนินการอบรมสร้างความเข้าใจและปลุกจินสำนึกของกลุ่มองค์กร เครือข่ายท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ให้ยึดมั่นคุณธรรม ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ เน้นความคุ้มค่าอย่างสูงสุด
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
จากที่ใช้สภาองค์กรเป็นเวทีกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตำบลอย่างเห็นได้ชัดคือ คุณภาพชีวิตของคนตำบลเจริญธรรมได้รับการแก้ไขอย่างทันทวงที เช่น เรื่องที่อาศัยที่ทรุดโทรมได้รับการซ่อมแซม การมีสวัสดิการที่ดูแลคนในตำบลทำให้เข้าสวัสดิการขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง คนในตำบลเกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดการเชื่อมโยงการทำงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่นท้องที่ ที่ทำงานโดยมีเป้าหมายที่อยากเห็นคนในตำบลมีความสุข อยู่ดีกินดี พึ่งพาตนเอง เป็นหมู่บ้านตำบลเข้มแข็งที่จัดการตนเองได้ในอนาคต
ข้อมูลการติดต่อ
นางสาวพรรณทิพา ฤทธิ์แก้ว ๐๖๓-๙๘๕-๖๕๖๙
แสดงความคิดเห็น