community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านเชียง

อ.หนองหาน ต.บ้านเชียง จ.อุดรธานี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 0 คน
cover

“ตามรอยดินดำ

แหล่งอารยธรรม

บ้านเชียง”


บ้านเชียง เป็นแหล่งมรดกโลก ลำดับที่ ๓๕๙ จากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๕ เป็นแหล่งค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงมิติวัฒนธรรมวิถีไทพวน “ตามรอยดินดำ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง” โดยผู้นำชุมชนมีความสามารถในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวชุมชนด้วยตัวเอง และมีความเป็นชาตินิยมสูง

เดิมชาวบ้านเชียงเป็นไทพวน อพยพมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ ชาวบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านที่ให้ความสำคัญกับวัดวาอารามและพระภิกษุสงฆ์เป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดงานประเพณีต่างๆของวัด ชาวบ้านจะให้ความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นแรงงาน หรือบริจาคเงินทอง เพราะถือว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

ชุมชนบ้านเชียงสะท้อนแนวคิดในการบริหารจัดการในรูปแบบ “บวร+ส” คือ บ-บ้าน ประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชน ผู้นําชุมขนต่างๆ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มจิตอาสา กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ฯลฯ มีหน้าที่หลักในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆในชุมชน ว-วัด ซึ่งรวมถึงโบสถ์ในพื้นที่ มีบทบาทสำคัญในการรวมศรัทธาของสมาชิกชุมชนกระตุ้นการมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึก รวมถึงการใช้กลไกของความศรัทธาของคนในชุมชนโดยการดำเนินกิจกรรม ร-โรงเรียน ครู อาจารย์ บุคลากรในโรงเรียน บ้านเชียงประชาเชียงเชิด และโรงเรียนบ้านเชียงวิทยา มีหน้าที่ในการให้ความรู้ ร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชน รวมทั้งการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นทั้งวิชาการและหลักสูตรท้องถิ่น ส-ส่วนราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานองค์กรท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ้านเชียง ที่พร้อมประสานความร่วมมือรวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ เกิดการบูรณาการการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นอย่างเป็นเอกภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาในชุมชน กำหนดกฎระเบียบของชุมชน เพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง การมีสุขภาพดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้นในชุมชน


 

ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

๑.คนในชุมชนยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา เกิดความสงบสุขในชุมชน ชาวบ้านมีการร่วมมือร่วมใจในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ร่วมกิจกรรมวันสำคัญๆทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนในชุมชนปัญหาต่างๆ และสิ่งไม่ดีในชุมชนลดลง คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละช่วยเหลือซึ่งกันมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างชุมชน มีจิตอาสาดูแลชุมชน

๒.จากการนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทำให้ชุมชนให้อยู่ดีมีสุข มีความอดทน อดออม ขยัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีเหตุมีผล มีความพอประมาณ รู้จักพึ่งพาตนเองประกอบสัมมาอาชีพ สร้างรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หนี้สินลดลง มีการจัดตั้งธนาคารชุมชนบ้านเชียง ธนาคารขยะ เพื่อเป็นการออมทรัพย์ในชุมชน เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสร้างอาชีพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน อาทิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปั้นหม้อเขียนสี กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มโฮมสเตย์บ้านเชียง ฯลฯ

๓.คนในชุมชนสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีความจงรักภักดี เคารพเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เกิดกลุ่มจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น มีการจัดงานมรดกโลกบ้านเชียงขึ้นทุกปี การจัดงานบุญฮีตสิบสอง คองสิบสี่ มีความรักและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของท้องถิ่นไทพวน เสริมสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงและพัฒนาต่อยอดทางวัฒนธรรม เชื่อมโยงการท่องเที่ยวบวร On Tour สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อาทิ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) สร้อยดินเขียนสีไทพวนบ้านเชียง ไทพวนบาติกบ้านเชียง โฮมสเตย์ไทพวน ระบำบ้านเชียง ฯลฯ สร้างความประทับใจและการมีส่วนร่วมให้นักท่องเที่ยว เช่น การปั้นหม้อ เขียนสีไห นําเทคโนโลยีไทยแลนด์ ๔.๐ มาใช้บริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน อาทิ จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) การจองห้องพักโฮมสเตย์ และจำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมืองสำเร็จรูป

 

ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

๑.จัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบท เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสืบทอด เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน

๒.ทำกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยว และเป็นชุมชนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีการ งานต่างๆ ในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง


ผู้ประสานงานติดต่อพื้นที่ :

นายชุมพร สุทธิบุญ ประธานชุมชน

มือถือ ๐๘๑-๔๘๕๑๘๖๔ 

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายชุมพร สุทธิบุญ ประธานชุมชน ๐๘๑-๔๘๕๑๘๖๔

แสดงความคิดเห็น

profile