community image

เทศบาลเมืองท่าโขลง

อ.คลองหลวง ต.ท่าโขลง จ.ปทุมธานี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 11 มีนาคม 2568
จำนวนผู้เข้าชม: 1 คน
cover

สภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลง เริ่มจากต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง และแม้จะมีโครงการต่างๆ เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงพัฒนาชุมชน แต่ก็ไม่ตรงกับความต้องการของคนในชุมชน จึงกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันในการกำหนดทิศทางพัฒนาตนเอง ทำแผนชุมชน ศึกษาปัญหา หาความรู้ กำหนดเป้าหมายโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งเป็นสภาองค์การชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลง โดยมีความตั้งใจและเชื่อมั่นว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ โดยใช้สภาฯ เป็นเวทีกลางในการให้สมาชิกมาร่วมประชุม และหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ เช่น โครงการสวัสดิการชุมชนออมเงินวันละ ๑ บาท เพื่อเป็นสวัสดิการ คลอดบุตร เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุนการศึกษา เป็นต้น และเกิดการเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัดปทุมธานี ในการพัฒนาพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพคนทำงาน เพื่อให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จึงเกิดการเชื่อมโยงกันภายในพื้นที่ชุมชนกันชุมชน ชุมชนกับหน่วยงานท้องถิ่น และได้มีการจัดการประชุมเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีร่วมในการทำแผนพัฒนาชุมชน ๑ ตำบล ๑ แผนพัฒนา ในการแก้ไขปัญหาของตำบล ใช้สภาองค์การชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลงในการขับเคลื่อนงาน โดยการทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ และติดตามประเมินผล ต่อยอด สู่การจัดทำระบบบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ และพัฒนากลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดแผนธุรกิจชุมชนที่ครอบคลุมทั้งตำบล ในการจัดทำแผนได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมวิเคราะห์ต้นทุนชุมชน ทั้งทุนสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรม ใช้วิธีการปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ

         การขับเคลื่อนสภาองค์การชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลงนั้นเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยใช้หลักพลัง “บวร” สู่สังคมคุณธรรมที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สำหรับสภาฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดปทุมธานี ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑: สร้างชุมชนเข้มแข็งอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๒: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

ยุทธศาสตร์ที่ ๓: กำหนดให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ ๔: การอนุรักษ์ และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ ๕: การส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย สร้างสุขภาวะชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๖: การขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชนดำบลสู่การจัดการตนเอง

         

นอกจากนั้นแล้วยังมีการกำหนดแนวทางที่ถือว่าเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จของชุมชน ประกอบด้วย

         ๑.เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการประสานงาน และรับรู้สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล

         ๒.เสริมสร้างความรู้รักสามัคคี และความสมานฉันท์ เป็นกระบวนการเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

         ๓.ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป


ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน

         ๑.เป็นพื้นที่สังคมเมือง มีประชากรแฝงจำนวนมาก การทำงานลำบาก

         ๒.ค่าครองชีพของคนในพื้นที่ต้องแบ่งสรรบันส่วนกัน ไม่สามารกระจายได้อย่างครบถ้วน

         ๓.นายทุนเข้ามาครอบครองด้านการตลาด ทำให้ชาวบ้านเข้าไปค้าขายลำบาก ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง และทำให้ไม่สามารถต่อรองสินค้าได้

         ๔.พื้นที่ตำบลเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้มีแรงงานจากต่างถิ่น รวมทั้งแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในพื้นที่จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัย และปัญหาสภาพแวดล้อม


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

ผลลัพธ์

         ๑.มีการเผยแพร่กิจกรรมไปยังชุมชนต่างๆ ในตำบล และหน่วยงานในอำเภอ

         ๒.ภาคเอกชนและท้องถิ่นให้การสนับสนุนกิจกรรมเป็นอย่างดี

         ๓.เกิดชุมชนคุณธรรมที่เอื้ออาทร


ผลกระทบ

         ๑.ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-๑๙ ระรอกที่ ๓ ส่งผลให้ชาวบ้านขาดรายได้ หรือทำให้รายได้ลดลงการจัดกิจกรรม และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ก็ลดน้อยลง


ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

         พัฒนายกระดับเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ เกิดศูนย์กระจายสินค้าในระดับพื้นที่ เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน สู่การเป็นเมืองน่าอยู่


ผู้ประสานงานในพื้นที่

นางกรรณิกา บุญยัง โทร ๐๘๑-๓๐๓-๖๑๘๓

ที่อยู่ ๓๖/๘๐ หมู่ ๑๐ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๒๐

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางกรรณิกา บุญยัง ๐๘๑-๓๐๓-๖๑๘๓

แสดงความคิดเห็น

profile