กว่าจะมาเป็นวันนี้
เทศบาลตำบลแว้งได้มีการพัฒนาศักยภาพพื้นที่โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและใช้วิธีการสร้างโอกาสทางสังคมให้กลุ่มคนได้เข้าถึงโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่มาอย่างต่อเนื่องจึงนับได้ว่าเทศบาลตำบลแว้งเป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสร้างโอกาสทางสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและพื้นที่ อีกทั้งเทศบาลตำบลแว้ง มีผู้บริหารที่ได้การคัดเลือกจากประชาชน คือ นายวสันต์ แวอุเซ็ง การทำงานใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน มีการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงาน
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบคุณธรรม
เทศบาลตำบลแว้งมีเส้นทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีรูปธรรมในการดำเนินงานอย่างชัดเจน ซึ่งการขับเคลื่อนจากการพัฒนากลไกภายใน เชื่อมประสานกับกลไกภายนอกให้การขับเคลื่อนงานภายในตำบลให้เกิดความเข้มแข็งเทศบาลตำบลแว้งได้มีการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นจากการจัดการกับปัญหาและความต้องการของชุมชนตลอดจนเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบายของส่วนกลาง โดยเส้นทางการพัฒนาสามารถสรุปได้เป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนขึ้นเป็นศูนย์จัดการเครือข่าย (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๕๖)
ระยะที่ ๒ ยุคสร้างความเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์จัดการเครือข่าย (ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๗–๒๕๖๐)
ระยะที่ ๓ ยุคการจัดการตัวเองของชุมชนท้องถิ่นและการต่อยอดพัฒนา (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน )
ภายใต้บริบทพื้นที่ที่มีศาสนานำปฏิบัติ และประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องมายาวนาน ชี้ให้เห็นความเป็นอยู่ของคนในชุมชน “วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ผูกติดกับศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี” ที่มีความสวยงามในแบบสังคมเกื้อกูลตามวิถีศาสนาอิสลามตามชนบทกึ่งเมือง กำลังจะกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้ตำบลแว้งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นอย่างชัดเจนในด้านการสร้างโอกาสทางสังคม เช่น ชมรมผู้สูงอายุได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแว้ง ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีกลุ่ม มีสังคม มีการจัดสวัสดิการ กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลแว้ง จัดกิจกรรมเพื่อเยี่ยมเพื่อนและกิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อนที่เป็นผู้สูงอายุด้วยกัน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ทำให้ชุมชนเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ และมีการพัฒนางานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้พร้อมจะต่อยอดในการพัฒนาต่อไป
ความท้าทาย
การมีส่วนร่วมของทุกคนในการพัฒนาเทศบาลตำบลแว้ง การเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นและร่วมรับฟังข้อเสนอในการวางแผน ปัญหาหลักคือ การรับมือการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ทีมงานและประชาชนต้องปรับตัว ในการดำเนินชีวิต การก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายปัญหาเหล่านั้นผ่านพ้นไปด้วยดีเพราะทุกคนร่วมมือกัน การได้รับโอกาสจากคนแว้งด้วยกันในการช่วยเหลือกันจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
งานและกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคมให้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลแว้ง เป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นการขับเคลื่อนให้ทุนทางสังคมออกแบบงานและกิจกรรมเชื่อมประสานกันอย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดการสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ การสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม และการสร้างการเข้าถึงบริการและการใช้ประโยชน์ โดยพัฒนาวิธีการทำงานด้วยกระบวนการบริหารจัดการตนเองและการทำงานร่วมกับทุนทางสังคมอื่น อย่างน้อยใน ๕ กระบวนการดังกล่าวแล้ว สามารถสรุปรูปแบบงานและกิจกรรมในการสร้างโอกาสทางสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขได้ ๕ กลุ่ม คือ
๑) การจัดสวัสดิการสังคมในชุมชนเพื่อสร้างหลักประกันทางสังคม
๒) การส่งเสริมการดูแล ๑๓ กลุ่มประชากรเพื่อเพิ่มบริการและแก้ปัญหาสุขภาพ
๓) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างโอกาสให้บุคคลมีศักยภาพในการจัดการตนเองได้ทุกช่วงวัย
๔) การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอันจะนำไปสู่การขจัดความยากจนและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
๕) การสร้างจิตอาสา ให้เพิ่มการมีส่วนร่วมและมีการอาสาช่วยเหลือกัน
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้หลัก SCF ดังนี้ S (Smart)
๑.การเสริมศักยภาพ ทีมงานพื้นที่และเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน
๒.สร้างความเชื่อมั่น
๓.สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับเครือข่ายในการจัดการพื้นที่และพัฒนานวัตกรรมต่างๆให้เป็นรูปธรรม
๔.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี พร้อมให้การสนับสนุน ช่วยเหลือเครือข่ายในทุกสถานการณ์
C (Connect) คือ การสร้างช่องการสื่อสารกับเครือข่ายหลายๆช่องทางเพื่อให้เครือข่ายสะดวก
ในการติดต่อกับทีมงานและต้องมีทีมดูแลในด้านการสื่อสารประจำ
F (Form) คือการสร้างระบบหรือรูปแบบติดตามเครือข่ายโดยการแบ่งงานให้รับผิดชอบอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ข้อมูลติดต่อ
ว่าที่ร.ต.วินิจ เจตมหันต์ ๐๘๓-๖๕๕-๕๕๗๐
แสดงความคิดเห็น