กว่าจะมาเป็นวันนี้
ประเพณีตบประทายแห่ดอกไม้บ้านขาม "พระธาตุขามแก่น" หรือเรียก "แห่น้ำบ้านขาม" นั้นเป็นประเพณีอันเป็นอัตลักษณ์ที่สืบสอดต่อกันมา คือการแห่หลวงปู่พระเจ้าใหญ่เข้าบ้านเข้าเมืองเรียกว่า “แห่น้ำบ้านขามธาตุใหญ่” อันถือเป็นประเพณีบุญเดือนห้าที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเชื่อของคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อท้องถิ่นในเรื่องของเทพที่สิงสถิตองค์หลวงปู่พระเจ้าใหญ่ และความเชื่อเรื่องของสังคมเครือข่าย ลำดับชั้นทางสังคมของเทวดาอารักบ้านเมือง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการจัดลำดับทางพิธีกรรมและประเพณีจนกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ
เส้นทางสู่ความสำเร็จ
ดำเนินงานโดยใช้แนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม อันเนื่องมากจากการอนุรักษ์วัฒนธรรม ท้องถิ่นในคงอยู่ในนั้นไม่สามารถฝากฝังให้เพียงส่วนในส่วนหนึ่งดำเนินการเพียงลำพังได้ แต่ต้องทุกคนในท้องถิ่นต้องมีบทบาทในการร่วมสืบสานให้คงอยู่ด้วยการคิดหาวิธีที่จะจูงใจให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาสนใจว่าความสนใจของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างไรแล้วจึงนำไปสื่อสารในรูปแบบที่คนเหล่านี้ต้องการ เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์ไม่ใช่คำเก่าแก่คร่ำครึ แต่ในทางกลับกัน คือแนวคิดที่ทันสมัย การอนุรักษ์ ไม่ได้จำกัดไว้ในวงผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางเท่านั้น แต่มีโอกาสเปิดกว้างไปสู่คนภายนอกมากขึ้นซึ่งมีแนวคิดในการอนุรักษ์ ดังนี้
๑.เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน
๒.เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
๓.เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน
๔.เป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิบัติตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
๕.เป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ใช่คนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยอาศัยความร่วมมือในการทำงานแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ
นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานผ่านแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ทั้งการค้นคว้า ศึกษาวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญของภูมิปัญญาไทยในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์สิ่งที่มีให้คงอยู่ ฟื้นฟูสิ่งที่สูญหายหรือกำลังจะสูญหาย พัฒนาปรับปรุงภูมิปัญญาให้เข้ากับยุคสมัย และถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ก่อนจะนำไปต่อยอดในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเผยแพร่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณ
ความท้าทาย
๑.การขาดการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น จากหน่วยงานของรัฐหลายๆ ภาคส่วน
๒.ขาดซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและศักยภาพในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
๓.การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
๔.ควรสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างวัด หมู่บ้าน หน่วยงานราชการ และกับหน่วยงานภายนอก
ผลลัพธ์และผลกระทบ
การอนุรักษ์ประเพณีไทยให้คงอยู่ต่อไป โดยการ ให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เช่น การจัดให้เยาวชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วม กับกิจกรรมที่ดีๆ รู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้มีส่วนร่วม อาจจะเป็นกิจกรรมหารายได้สร้างวัด หรือมีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้มาแสดงความสามารถ เช่นมี เวทีดนตรี กิจกรรมกีฬา หรือเป็นเรื่องที่สอดแทรก อยู่ในงานประเพณี ของท้องถิ่น มีเวทีแสดงดนตรี ในงานบุญ เทศกาลต่างๆ มีการจัดแข่งกีฬา ของเยาวชนและคนในชุมชน เพื่อดึงคนรุ่นใหม่เข้ามา โดยใช้สิ่งที่เขาสนใจ แล้วเขารู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความต่อเนื่อง ของ การทำกิจกรรม
จะเห็นได้ว่า การอนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือของภาคอีสานโดยตรง ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดคือ เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป เพราะฉะนั้น ควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการซึมซับทางความคิด และเกิดการเรียนรู้ และหวงแหน ทำให้รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องสืบทอดและปฏิบัติต่อไป
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในฐานะแบบแผนการดำเนินชีวิตของกลุ่มคนในสังคมท้องถิ่น ซึ่งเป็นรูปแบบของ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อต่างๆ ของคนที่อาศัยอยู่ในสังคม โดยสะท้อนผ่านวิถีชีวิต การประพฤติปฏิบัติ ศักยภาพของทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของ วัฒนธรรมท้องถิ่น แนวทางการมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติการ วิเคราะห์ ประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมให้หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดอย่างต่อเนื่อง และขอรับการสนับสนุนงบประมาณกับหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดให้มีส่วนร่วมของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เสนอข้อเท็จจริง ปัญหา แนวทางแก้ไขเพื่อเก็บรวบรวมนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
แสดงความคิดเห็น