community image

องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง

อ.พาน ต.สันกลาง จ.เชียงราย
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 27 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 3 คน
cover

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ผู้ประกอบการเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ตำบลสันกลางประสบปัญหาในด้านต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม ในช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูหนาวของทุกปีจะเกิดปัญหาการตายของปลานิลส่งผลต่อการขาดทุน เนื่องจากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ทำให้สูญเสียรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลางได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกัน และบรรเทาความเดือดร้อนจึงมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรและเป็นการสร้างรายได้ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยได้จัดตั้ง สถานีกู้ชีพปลาขึ้น เพื่อเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงปลานิลและเพื่อการตลาดแบบครบวงจร


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

สถานีกู้ชีพปลาตำบลสันกลาง มีหน้าที่

๑.รวบรวมข้อมูลของผู้เลี้ยงปลาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำมาหาวิธีการแก้ไขปัญหา

๒.ส่งเสริมการบริหารจัดการฟาร์ม

๓.เพื่อเป็นการลดต้นทุน

๔.ส่งเสริมการแปรรูป

๕.เพื่อเป็นการลดการสูญเสีย เนื่องจากเกิดเหตุสภาพอากาศปิด ทำให้ขาดออกซิเจนส่งผลให้ปลาตาย

โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือ

๑.จัดตั้งสถานีกู้ชีพปลา มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานี

๒.ลดการสูญเสียเนื่องจากปลาน็อคน้ำ ทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

๓.พัฒนาเกษตรสู่ Smart farmer มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อปลา ด้วยการสร้างมาตราการระบายน้ำเสีย

๔.การลดต้นทุนการผลิด และการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (กลุ่มวิสาหกิจชุมชน)

๕.การสร้างเครือข่าย จัดตั้งอาสาสมัครกู้ชีพปลา รวมถึงการฝึกอบรม ให้ความรู้เสริมทักษะ

         องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ได้ร่วมหาแนวทางแก้ไขกับกลุ่มเกษตรกรภายใต้อำนาจหน้าที่ และศักยภาพ พบว่าการเลี้ยงปลาจะใช้ระยะเวลาสั้นต้องอาศัยอาหารปลากินเนื้อแทนพืชเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด การใช้เทคนิคการเลี้ยงปลาด้วยหญ้าเนเปียร์ แบบลดต้นทุนไม่ได้เพราะใช้ระยะเวลานานกว่าเท่าตัว การเลี้ยงแบบลดต้นทุนนั้นเริ่มแรกสามารถลดต้นทุนได้พอสมควร แต่ยังไม่เป็นที่นิยม จึงได้วางแผนร่วมกันว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาปลาตายให้ลดลง โดยมีขั้นตอนตามหลักวิชาการ เพื่อดูแลสุขาภิบาลฟาร์มให้ดี การออกตรวจน้ำเพื่อให้แจ้งสภาพน้ำ และออกช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน การดำเนินการของสถานีกู้ชีพปลา ได้รับการยอมรับจากเกษตรกร และได้ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลา เป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นเกษตรแปลงใหญ่ได้สำเร็จที่พร้อมให้การช่วยเหลือด้านเงินลงทุนให้เกษตรกรด้วยกัน และได้คัดเลือกปราชญ์ ในการถ่ายทอดความรู้ไปยังกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลในชุมชน


ความท้าทาย

         ๑.ปัญหาปลานิลน็อคน้ำตาย อันเกิดจากสภาวะอากาศแปรปรวนในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลประสบปัญหาการขาดทุน และมีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการวิเคราะห์ปัญหา รวบรวมข้อมูลหาทางแก้ไข นำไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อกำหนกขึ้นตอนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

         ๒.ปัญหาด้านเงินทุนของเกษตรกร การก่อตั้งสถานีกู้ชีพปลานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้เกิดการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยการลดการสูญเสียจากการน็อคน้ำของปลา และทางอบต.มีการจัดโครงการอบรมการแปรรูปอาหารจากปลา จัดสถานที่ในการจำหน่ายเป็นตลาดนัดชุมชน เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

การจัดตั้งสถานีกู้ชีพปลา ส่งผลให้ปราชญ์เกษตรกรที่เลี้ยงปลาที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประมงอำเภอพานนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมกับอบต.มากขึ้น มีการจัดอบรมให้ความรู้ในการจัดการฟาร์มให้ได้มาตรฐาน สร้างองค์ความรู้ และการเข้าช่วยเหลือเกษตรกรทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 

สถานีกู้ชีพปลาตำบลสันกลาง มีความพร้อมในการให้บริการแก่เกษตรกร การให้ความรู้ การให้ความช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉิน โดยจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ สร้างฐานเรียนรู้ สร้างปราชญ์เกษตรกร เพื่อให้หน่วยงานอื่นเรียนรู้การดำเนินการของสถานีกู้ชีพปลา โดยอาศัยความร่วมมือภาคราชการ ประชาชนและจิตอาสา เพื่อพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรม


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         การพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรม สถานีกู้ชีพปลาตำบลสันกลาง อบต.สันกลางได้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เพื่อพัฒนาและวิจัยองค์ความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ที่จะนำมาสนับสนุนและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา นอกจากนั้นในระดับหน่วยงาน ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงกับประมงจังหวัดเชียงราย ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลา แก่เกษตรกร สำหรับภาคเอกชนได้จัดทำบันทึกความร่วมมือ กับคำอ๋อฟาร์ม ในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการ และการส่งเสริมการตลาด ในส่วนภาคประชาสังคม ได้จัดทำบันทึกความร่วมมือกับทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อสนับสนุนภารกิจของสถานีกู้ชีพปลา การประชาสัมพันธ์ และที่เกี่ยวข้อง


ผู้ติดต่อในพื้นที่

นางสาวรุ่งนภา คำปาวีระ ๐๙๒-๖๐๕-๗๘๐๘  


ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสาวรุ่งนภา คำปาวีระ ๐๙๒-๖๐๕-๗๘๐๘

แสดงความคิดเห็น

profile