“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสมุนไพร
เพื่อชุมชนแก่งเลิงจาน”
การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร เกิดจากปัญหาทางกายภาพที่ทรัพยากรป่าไม้มีความเสื่อมโทรม ป่าในชุมชนและพืชสมุนไพร พืชหายากมีจำนวนลดน้อยลง องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จึงน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการออกแบบนโยบายที่มุ่งเน้นการร่วมคิด ร่วมสร้างของประชาชนในชุมชน มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน เพื่อให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ ภายใต้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นพื้นที่ต้นแบบ
แนวคิดที่เป็นแนวทางในการออกแบบนโยบายมีดังนี้
๑.หลักการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ๑.๑) ศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ๑.๒) การคิดเชิงออกแบบ :การสร้างความเข้าใจในบริบทภาพรวม การเข้าถึงสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่าง ๆ การทดลองด้วยความคิดที่หลากหลาย และการวางกลยุทธ์ขยายผล
๒.การขับเคลื่อนชุมชนและพัฒนาเครือข่าย การส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร ยึดหลักแนวคิดในการทำงานแบบเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใช้กลไกของการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์
๓.หลักบริหารงานของผู้นำท้องถิ่น ในรูปแบบ “SONGKIAT MODEL” มีองค์ ประกอบ ดังนี้ S - Stability (ความมั่นคง) ยึดหลักความมั่นคง ไม่หวั่นไหวรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ O - Organizing (จัดระบบองค์กร) ยึดการจัดการระบบในองค์กรให้สามารถออกแบบโครงการที่แปลกใหม่ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป็นที่ยอมรับของประชาชนผู้ใช้บริการ N - Navigator (ผู้ชี้นำสังคม) ยึดหลักการเป็นผู้ชี้นำสังคมในทางที่ดีและที่เหมาะสม มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน G - Generation (พัฒนาคนทุกวัย) ยึดพัฒนาคนในชุมชนทุกวัย ได้มีส่วนร่วม ได้พิสูจน์ตัวเองและพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น K - Knowledge (ความรู้) ยึดหลักการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร พัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง I - Integrity (ชื่อสัตย์) ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร A - Active (พัฒนาตน) ยึดหลักการพัฒนาตนอยู่เสมอ ยืดหยุ่นในวิธีการคิด และพัฒนาผู้อื่น ทั้งในเรื่องของความรู้ และแนวคิด T - Trust (ความน่าเชื่อถือ) ยึดหลักความน่าเชื่อถือ เป็นที่อาศัยพึ่งพิงของประชาชน และสมาชิกในทีมได้
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
การสร้างสรรค์นวัตกรรมงานพัฒนาชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร จนเกิดเป็น“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรสมุนไพรเพื่อชุมชนแก่งเลิงจาน”
เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนงาน เพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นฐานการพัฒนาภูมิปัญญาพืชสมุนไพร จนนำไปสู่การเผยแพร่ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชุมชน ในรูปแบบ “นวัตกรรมแก่งเลิงจาน”
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
๑.การเสริมสร้างความเข้าใจในนโยบาย โดยจัดประชุมชี้แจงนโยบาย เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจร่วมกัน และเผยแพร่นโยบาย ให้ทุกส่วนในสังคมได้รับทราบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ สร้างการยอมรับและการให้ความร่วมมือจากชุมชน
๒.การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามนโยบาย โดยจัดให้มีคณะกรรมการและประสานแผนของทุกส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล เสริมสร้างประสิทธิภาพการนำนโยบายและแผนการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติในแต่ละระดับ โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานและประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานมากขึ้น สนับสนุนให้มีการจัดทำโครงการของแต่ละทุกส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์ ส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาระบบโครงข่ายข้อมูลข่าวสารทั้งภายในหน่วยงานและชุมชน
สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการและเสริมสร้างทักษะให้กับผู้ปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำสื่อสมัยใหม่มาใช้ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็ว
ผู้ประสานงานติดต่อพื้นที่ : นายทศพล เสนามาตย์ มือถือ ๐๘๑-๒๙๘๑๖๑๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบคุณธรรมตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม
แสดงความคิดเห็น