community image

ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม

อ.เลิงนกทา ต.ห้องแซง จ.ยโสธร
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 0 คน
cover

ชาวบ้านห้องแซง ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม มีเชื้อสายชาวผู้ไทกว่าร้อยละ ๙๐ซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตที่แสดงถึงความเป็นชนเผ่าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การทอผ้าของผู้สาวผู้ไท ด้วยภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ทำให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีทั้งผ้าผืน ผ้านุ่ง ผ้าคลุมไหล่ และการแปรรูปสินค้าที่หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “ผ้าทอมัดหมี่” เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และยังเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชนอีกด้วย เอกลักษณ์ทางประเพณีของบ้านหนองแซง คือการบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีบุญผะเหวด ประเพณีบุญคูณลาน ประเพณีซัดข้าวมารวันออกพรรษา แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดปัญหายาเสพติดและการพนัน ปัญหาขยะมูลฝอย และเยาวชนละเลยในวิถีอัตลักษณ์ของชุมชน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ 

ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม บ้านห้องแซง เป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ คนในชุมชนมีส่วนร่วมแสดงเจตนารมณ์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในชุมชน โดยใช้หลักพลัง “บวร” เป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อน มีหลักการ ดังนี้

๑)ร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนหรือ “ปัญหาที่อยากแก้” หรือ“ความดีที่อยากทำ” ๒)นำหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน” “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักการดำเนินงาน ๓)ใช้กระบวนการประชารัฐ พลังบวร เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ๔)เน้นพื้นที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและคุณภาพชีวิต ๕)นำสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ศาสตร์พระราชาเป็นแกนกลางพัฒนาคน ๖) เชื่อมโยงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมระดับต่าง ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ๗) ส่งเสริมให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง รวมพลังพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ๘) บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ๙) สร้างเครือข่ายชุมชนคุณธรรมสู่สังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน และร่วมสืบสาน ประเพณีวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ๑๐) ใช้กระบวนการคุ้มบ้านและเข้าถึงชาวบ้านในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน การติดตาม และประเมินผล ๑๑) มีระบบการขยายภาคีเครือข่ายโดยใช้หลักการสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้


กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมมี ๙ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

๑) มีการประชุมเพื่อประกาศเจตนารมณ์หรือข้อตกลงร่วมกันที่จะขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนคุณธรรม ๒) ชุมชนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้”และ“ความดีที่อยากทำ” ๓) ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรม ซึ่งเป็นความต้องการของคนในชุมชนเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน ๔) ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีการส่งเสริมการทำความดี ๕) ชุมชนมีการติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อทบทวน ปรับปรุง แผนให้มีคุณภาพ ๖) ชุมชนมีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดี บุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชน ๗) ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา รวมทั้งส่งเสริมการทำความดีเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ๘) ชุมชนมีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เพิ่มเติมใน ๓ มิติ คือ การนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ ๙) ชุมชนเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงานได้


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

๑.เยาวชนเข้ามามีบทบาท ในกิจกรรมของชุมชน ร่วมกันสืบสาน รักษา และต่อยอด วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒.ปัญหาในชุมชนลดน้อยลงหรือหมดไป เป็นชุมชนที่น่าอยู่ ประกอบกับความเป็นวิถีผู้ไท มีความโดดเด่นด้านประเพณี วัฒนธรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ส่งผลให้ชุมชนมีมนต์เสน่ห์น่าท่องเที่ยว

 ๓.เป็นชุมชนคุณธรรมท่องเที่ยวบวร On Tour ต้นแบบของจังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village :CIV ) เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดยโสธร


ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

สืบสาน รักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี อัตลักษณ์ ความเป็นผู้ไทบ้านห้องแซง และถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น และพัฒนาต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรมในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชุมชน


ผู้ประสานงานติดต่อพื้นที่ : นายพิเชษฐ์ กุมารสิทธิ์ มือถือ ๐๘๕-๐๑๖๗๘๓๖ ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม ตำบลห้องแซง จังหวัดยโสธร

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายพิเชษฐ์ กุมารสิทธิ์ ๐๘๕-๐๑๖๗๘๓๖

แสดงความคิดเห็น

profile