โนนสว่างถิ่นคนดี ประเพณีนมัสการอัฐิธาตุ ประชาราษฎร์อยู่อย่างพอเพียง
รุ่งเรืองด้วยอริยะธรรมพระยาศรี ใต้ร่มพระบารมีหลวงปู่ศรีจันทร์
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ก่อนหน้าที่ทางชุมชนวัดโนนสว่างจะดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาชุมชนคุณธรรมนั้นได้ประสบกับปัญหาในหลายด้าน อาทิ ปัญหาสิ่งเสพติด ปัญหาเยาวชนขาดการมีส่วนร่วมในชุมชน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความยากจน ปัญหาการขาดแคลนน้ำปัญหาการจัดการขยะ เป็นต้น
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
การดำเนินงานภายใต้ “พลังบวร” นั้น เจ้าอาวาสเน้นการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และใช้กิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือ นอกจากนี้ในวัดโนนสว่างยังเป็นที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพเพื่อน้อมนำหลักธรรมคำสอนและแนวทางปฏิบัติทางศีล สมาธิ ปัญญา สร้างความแข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจ มีการนำบันได ๙ ขั้น ไปปรับใช้ภายในชุมชน ดังนี้
๑.ประกาศเจตนารมณ์หรือข้อตกลงของผู้นำชุมชนและคนในชุมชน ที่จะพัฒนาชุมชนเป็นชุมชนคุณธรรม ชุมชนมุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในชุมชน ยึดข้อปฏิบัติหลัก ๔ ประการ ๑)ปฏิบัติตนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ๒)น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓)สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ๔)การขยายผลและพัฒนาเครือข่ายชุมชนคุณธรรม
๒.ชุมชนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ”
๓.ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนเกี่ยวกับปัญหาที่อยากแก้และความดีที่อยากทำ
๔.ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้
๕.ชุมชนมีการติดตามประเมินผลสำเร็จ เพื่อทบทวน ปรับปรุง แผนส่งเสริมคุณธรรมของชุมชนให้มีคุณภาพและบรรลุ
๖.ชุมชนมีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดีหรือบุคคลผู้มีคุณธรรม
๗.ความสำเร็จของชุมชนบรรลุผลตามแผนส่งเสริมคุณธรรม
๘.ชุมชนมีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เพิ่มเติมใน ๓ มิติ คือ การนำหลักธรรมทางศาสนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ไขปัญหาของชุมชน และ บ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ
๙.ชุมชนมีองค์ความรู้จากการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบสามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงานและขยายเครือข่ายเพื่อให้เกิดสังคมคุณธรรม
ความท้าทาย
จากการที่ประชาชน วัดโนนสว่าง ยึดติดกับการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆในรูปแบบของงานรื่นเริง นิยมการดื่มสุราในเทศกาลต่างๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เจ้าอาวาสได้มีประกาศเด็ดขาดในเรื่องดังกล่าว ห้ามมิให้มีการดื่มสุราในบริเวณวัด ห้ามมิให้มีมหรสพในการจัดงานต่างๆในวัด) ซึ่งในช่วงแรกคนในชุมชนคัดค้านและไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆเท่าที่ควร แต่เมื่อเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ได้จัดประชุมชี้แจงเหตุผล ข้อดี ข้อเสียรวมถึงประโยชน์ที่ได้จึงทำให้คนในชุมชนเริ่มเข้าใจ และยอมรับ และเกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน-วัด-โรงเรียน/หน่วยงานราชการมาจนถึงปัจจุบัน
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
คนในชุมชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ ดำเนินวิถีชีวิต โดยมีการยึดหลักธรรมทางศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ในการดำรงชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิต
คนในชุมชนอยู่ดีมีสุข อดทน อดออม ขยัน ไม่โลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความพอประมาณ รู้จักพึ่งพาตนเอง ประกอบสัมมาอาชีพ สร้างรายได้ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง
คนในชุมชนสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ชุมชนมีการจัดส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการสืบสาน ธำรง รักษาวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตลอดทั้งปี เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญของประเพณีที่ดีงามและเสริมสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นของคนในชุมชน เช่น งานสวดมนต์ข้ามปี งานสงกรานต์ ประเพณีแห่ต้นดอกไม้เครื่อง รดน้ำผู้สูงอายุ เป็นต้น
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
พัฒนาให้ชุมชนวัดโนนสว่างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา และสร้างเสน่ห์ให้กับชุมชน
สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
การปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ชุมชนร่วมกัน ลด ละ เลิกอบายมุข ส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน และ จิตอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
การพัฒนากิจกรรมวันพระเข้าวัดเที่ยวตลาดนัดวัดโนนสว่าง ไปยังเครือข่ายอื่นๆ
ข้อมูลติดต่อ
นางปณิตา มังคโล โทร ๐๖๕-๖๗๑-๗๘๗๙
แสดงความคิดเห็น