ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชดำบลวังบาล ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๔๗ ก่อตั้งในนามศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านวังบาล ในเวลาต่อมาเมื่อปี ๒๕๕๗ ได้ย้ายมาที่วัดศรีฐาน และในปี ๒๕๕๙ นั้นได้รับการคัดเลือกการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเข้าร่วมโครงการศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ โดยท่านพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดศรีฐาน มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ
เพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ประชาชนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกร
เพื่อพัฒนาสถานที่ให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ อนุรักษ์ สืบสานประเพณีมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลมรกดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ให้เป็นสินค้า บริการแก่ประชาชนทั่วไป
เพื่อเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ดำเนินการโดยใช้หลัก “บวร” เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา การนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกการพัฒนา และสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ตัดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนคุณธรรมที่มีความงดงามทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา ความงดงามทางธรรมชาติ ความรักสามัคคี เคารพเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และประชาชนทุกคนในชุมชน มาเป็นเสน่ห์ถึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนชุมชนคุณธรรมฯ สร้างรายได้จากสินค้า และบริการทางวัฒนธรรม ชุมชนอยู่ดีมีสุข ด้วยพลังบวรอย่างแท้จริง
อุปสรรค/พลังแห่งการขับเคลื่อน
คนในชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นคุณค่าของวัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ มีค่านิยมที่มองว่าการใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นเรื่องล้าสมัย ทำให้การกระตุ้นกลับมาใช้วัสดุธรรมชาติเป็นเรื่องที่ยากลำบากต่อคนในชุมชน
แต่ในปัจจุบันชุมชนได้รับความรู้ เรื่องคุณค่าและผลดีของการกลับมาใช้จึงทำให้เกิดการกระตุ้นให้หันกลับมาใช้วัสดุจากธรรมชาติมายิ่งขึ้น จนทำให้เกิดกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติ การพัฒนารูปแบบและบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกทางวัฒนธรรมชองชุมชน เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แปรรูปจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายกว่าเดิม ได้แก่ สบู่มะขาม สบู่น้ำผึ้งมะขาม สบู่มะขามใยบวบ สบู่น้ำผึ้งมะขามใยบวบ นอกจากนี้ยังได้จัดอบรมการทำตุงบูชา เพื่อให้คนรุ่นหลักได้เรียนรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนซึ่งนับได้ว่าเป็นปราชญ์ผู้มีความรู้ เพื่อจะได้สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามต่อไป นอกจากได้สืบทอดภูมิปัญญาแล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมทำมือสื่อความหมายซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
จากการจัดกิจกรรม คนในชุมชนรู้จักคุณค่าของวัตถุดิบในชุมชนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แปรรูปจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนที่หลากหลาย เกิดความรัก ความสามัคคีระหว่างคนในชุมชน รู้จักประหยัดอดออมมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพเสริมสร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่เห็นผลในเชิงรูปธรรมอย่างชัดเจน
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
การพัฒนาให้มีความต่อเนื่องจากต้นทุนเดิมที่มีอยู่ มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว จนเกิดกระแสการยอมรับจากนักท่องเที่ยว และสังคม มีการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเป็นของตนเอง
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ผู้นำชุมชน : พระครูปริยัติพัชรกิจ
โทร ๐๘๒ ๑๖๔ ๙๓๑๕
ที่อยู่ วัดศรีฐานปิยาราม
ผู้ประสานงาน : นางสาวชลธิชา เพ่งพินิจ
โทร ๐๘๓ ๕๖๙ ๔๓๒๑
แสดงความคิดเห็น