“ปู่เจ้ามเหสักข์ อนุรักษ์ประเพณี ผ้ามัดหมี่งามระบือ
เรื่องลือชาวโส้ทั่งบั้ง ชุมชนร่วมพลังสามัคคีมีน้ำใจเอื้ออารีย์ผู้มาเยือน”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
เมื่อก่อนชาวชนเผ่าไทยโส้ ไม่มีความมั่นใจในวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง ส่งผลให้ลูกหลานไม่รู้พื้นเพและเกรงว่าวัฒนธรรมประเพณีสูญหายไป ทำให้เกิดการอนุรักษ์การแต่งกาย การใช้ภาษาถิ่นขึ้นในโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ และซึมซับในวัฒนธรรมการแต่งกาย การใช้ภาษาให้มากขึ้น ทำให้ชุมชนมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่โดดเด่น การแสดง และภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ เกิดการเรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษไทยโส้ ต่อมามีผู้นำทางศาสนาที่เข้มแข็ง มีการทำกิจกรรมทางศาสนา และขับเคลื่อนด้านคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนมีโอกาสในการแสดงออกทางด้านการแต่งกาย การแสดงโซ่ทั่งบั้งของชนเผ่าไทยโส้ ในโอกาสต่างๆ ทำให้มีนักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจในวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าไทยโส้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันประชาชนในชุมชนมีความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าไทยโส้มาก
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ
๑.ใช้แนวคิด ยกย่องตนเอง ชื่นชมภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
๒. มีการใช้หลักบวรในการพัฒนาชุมชน
ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง คนในชุมชนมีความสามัคคี ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี มีจิตอาสาเกิดขึ้น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
วัด โดยความร่วมมือจากผู้นำทางศาสนาที่เข้มแข็งในการนำหลักธรรมทางศาสนาที่ประชาชนในชุมชนนับถือมาแสดงธรรมะในทุกโอกาส เพื่อให้ประชาชนได้น้อมนำมาใช้ในการดำรงชีวิต จัดกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
โรงเรียน โดยความร่วมมือของผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน มีการนำวัฒนธรรมการแต่งกายชนเผ่าไทยโส้ให้นักเรียนแต่งกายทุกวันศุกร์ และเป็นแห่งแรกของจังหวัดนครพนม มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแสดงของชนเผ่าไทยโส้ ให้นักเรียนได้ศึกษาและสืบทอด
หน่วยงานราชการต่างๆ ให้การสนับสนุน องค์ความรู้ และงบประมาณในการขับเคลื่อนในหลายๆ ด้าน
๓.การประชาสัมพันธ์การสร้างความเข้าใจในชุมชน เพื่อให้สมาชิกชุมชนเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการว่ากล่าวตักเตือนบุตรหลานที่ประพฤติ ปฏิบัติไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง
๔.การดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ใช้หลักการมีส่วนร่วม “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ” ของชาวบ้านในชุมชนบ้านโพนจาน-โพนเจริญ
ความท้าทาย
๑.ความท้าทายและอุปสรรค
ประชาชนในชุมชน ไม่มีความมั่นใจ มีความอายที่จะแต่งกายหรือพูดด้วยภาษาชนเผ่าไทยโส้ ต่อชุมชนอื่น
ประชาชนยังไม่เข้าใจ ทำให้ขาดความร่วมมือในเบื้องต้น
ประชาชนส่วนใหญ่ทอผ้าแล้วไม่ยอมขาย มักจะเก็บไว้ใช้เอง ทำแต่พอใช้ ไม่จำหน่ายให้กับบุคคลอื่น ทำให้ไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
ขาดงบประมาณในการทำกิจกรรมบางส่วน
๒.การก้าวข้ามปัญหาอุปสรรค
สร้างความเข้าใจในการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
การยอมรับความเป็นจริง ไม่มีงบประมาณก็ทำได้ ยึดเป้าหมายเป็นหลัก เห็นความสำคัญของงานหรือกิจกรรมที่ทำ
การแสดงออกในเวทีต่างๆ มากยิ่งขึ้น ได้รับคำชมจากหลายภาคส่วน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน
ใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เกิดความสามัคคีในชุมชน และเกิดความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
๑.ประชาชนมีความภาคภูมิใจที่จะแต่งกายและพูดด้วยภาษาชนเผ่าไทยโส้ต่อที่สาธารณะ การแต่งกายชุด ชนเผ่าไทยโส้เป็นที่ยอมรับ เกิดความเคยชิน เป็นเรื่องปกติ
๒. พฤติกรรมด้านการพนัน/เสพของมึนเมาลดลง รายจ่ายฟุ่มเฟือยลดลง
๓.ประชาชนเห็นคุณของการทำความดี มี และเห็นโทษของการกระทำไม่ดี
๔.สมาชิกในชุมชนมีระเบียบวินัยมากขึ้น
๕.สมาชิกในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความสามัคคีปรองดอง
๖.บุตรหลานมีความกตัญญู รู้จักให้ความเคารพผู้ใหญ่
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
๑.คนในชุมชนมีการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าไทยโส้ที่ดีขึ้น สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
๒.การยึดถือบุคคลที่มีคุณธรรม ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นแบบ
๓.การสร้างศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการทอผ้าของชนเผ่าไทยโส้ เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชนมากยิ่งขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานในการสืบทอดการทอผ้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้หลากหลายรูปแบบ
๔.ในชุมชนมีการจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลการติดต่อ
นายจำลอง ขวาธิจักร ๐๙๘-๘๓๕-๐๙๖๘
แสดงความคิดเห็น