“พระพนัสคู่บ้าน จักสานคู่เมือง
ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ตำนานพระรถเมรี
ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด เก่งกาจการทายโจ๊ก”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชาวอำเภอพนัสนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา หาปู หาปลา สภาพสังคมประกอบด้วยคนที่มีหลายเชื้อชาติ ได้แก่ไทย จีน ลาว มาอยู่ร่วมกัน และมีวิถีชีวิตแบบพหุสังคม คือ การอยู่ร่วมกันของคน ที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ แม้จะผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว จนกระทั่งได้มีการรวมตัวของชาวบ้านเพื่อจัดตั้งกลุ่มจักสานอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ทำการผลิตผลงานและพัฒนาสินค้าเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่ต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาเดิมของชาวบ้านอยู่แล้ว และได้มีการรวมตัวกันก่อตั้งเป็นจักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ
ชุมชนคุณธรรมชุมชนพนัสนิคมได้ใช้หลัก พลังบวร แก่ทุกภาคส่วนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสถานที่ดังกล่าวในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยมีการดำเนินการ ๙ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๑.ประกาศเจตนารมณ์หรือข้อตกลงของชุมชน : มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนคุณธรรม ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและธำรงรักษาวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย เพื่อใช้ “คุณธรรมนำการพัฒนา” สู่สังคมคุณธรรม
๒.กำหนดเป้าหมายของชุมชน “กำหนดปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ”
๓.จัดทำแผนชุมชน : จัดทำแผนเพื่อแก้ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ โดยกำหนดโครงการ หรือกิจกรรมต่างๆไว้อย่างชัดเจน
๔.ปฏิบัติตามแผน : ดำเนินโครงการพลังบวรแกนนำเพื่อขับเคลื่อนสังคมแก้ปัญหายาเสพติดและการพนันในชุมชน โดยใช้แกนนำขับเคลื่อนเฝ้าระวังทางสังคมและวัฒนธรรม มีการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเองและแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ส่งเสริมความเป็นจิตอาสาให้กับคน ในชุมชน
๕.ติดตามประเมินผล ประเมินผลสำเร็จ
๖.ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลทำความดี : ชุมชนได้มีการประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลผู้ทำความดีหรือบุคคลที่มีคุณธรรมในชุมชนหรือบุคคลอื่นที่ทำความดีให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
๗.เสร็จแล้วทบทวน : ชุมชนบรรลุผลตามแผนส่งเสริมคุณธรรม โดยชุมชนมีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหา ทำให้ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไขและปฏิบัติตามคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรหรือเงินทุนจากหน่วยงานภาครัฐทำให้ชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้คนในชุมชนมีความสุข
๘.ขยายกิจกรรม เพิ่มเติมกิจกรรมความดี : ชุมชนมีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มเติม ใน ๓ มิติ คือ การนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแก้ปัญหาของชุมชนและบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ
๙.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ ขยายสู่ชุมชนอื่น : ชุมชนมีศูนย์การเรียนรู้ ชุมสิบรักษ์โลก เป็นแหล่งองค์ความรู้ และสามารถถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นๆเข้ามาศึกษาดูงานได้
ความท้าทาย
ความท้าทายและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรในการทำมาหากิน การรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาในชุมชน ส่งผลให้คนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่นและไม่เห็นคุณค่าทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ไม่เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น แต่หลังจากได้ใช้พลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) มาขับเคลื่อนโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักธรรมทางศาสนา และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการดำเนินงานของโครงการนั้น พบว่าคนในชุมชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ปัญหายาเสพติดและการพนันลดลง ชาวบ้านมีความสามัคคี ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูรู้คุณ มีจิตอาสา มีกิจกรรม ที่ทำร่วมกันในชุมชน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้เกาะกลางถนน เก็บขยะในชุมชน ทาสีผิวจราจร เพื่อรักษาความสะอาดและอำนวยความสะดวกให้กับคนในชุมชน คนหนุ่มสาวเห็นความสำคัญชองชุมชนบ้านเกิด กลับมาประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว ได้อยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น เกิดการรวมกลุ่มในชุมชุนเป็นจักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก คนในชุมชนร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีบุญกลางบ้าน ที่เกิดจากเชื้อสายไทย ลาว จีน ทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ลูกหลานในชุมชนจนสามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนใกล้เคียง ตลอดจนมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน เกิดความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป้าหมายที่จะเดินต่อไป
สร้างชุมชนคุณธรรมฯ ชุมชนพนัสนิคม ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดดเด่นในด้านวัฒนธรรม ชูคุณค่า งานวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังกลับมาสู่บ้านเกิด โดยสร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว มี พลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) เสริมสร้างความเข้มแข็ง ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนออกสู่ต่างประเทศ ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี ได้แก่ งานประเพณีบุญกลางบ้าน รวมไปถึงการจัดตั้งถนนสายวัฒนธรรมในทุกๆเดือน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่อย่างมีความสุข
ข้อมูลการติดต่อ
ผู้ประสานงาน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) นางสาวทัดกาญจน์ ไทรทอง ๐๘๙-๗๗๗-๒๑๑๗
แสดงความคิดเห็น