community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่อัมพวัน

อ.ลำปลายมาศ ต.ทะเมนชัย จ.บุรีรัมย์
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

 ชุมชนบ้านใหม่อัมพวัน เดิมเป็นบ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ที่ ๑๑ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมชนที่มีหลากหลายปัญหา เนื่องจากขาดผู้แทนชุมชนที่มองไม่เห็นปัญหาและประโยชน์ส่วนรวม ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่รู้จักเหตุผล ไม่รู้จักประมาณตน ชอบการนินทา ให้ร้ายกัน แบ่งฝ่ายแบ่งพวก รอคอยการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ขาดการพึ่งพาตนเอง มีพฤติกรรมที่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการแยกให้เป็นหมู่บ้านตั้งชื่อใหม่ เป็น “อัมพวัน” เพื่อเป็นมงคลตามหลวงพ่อที่ตั้งให้ จึงเป็นที่มาของบ้านใหม่อัมพวัน มีขนาด ๓๙ ครัวเรือน โดยเริ่มจากผู้มีอุดมการณ์มีการพูดคุยปรึกษาหารืออยากให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เกิดผู้นำหมู่บ้าน มีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน ประชุมทบทวน กำหนดทิศทาง จุดแข็ง จุดอ่อน มีการนำกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมมาใช้ มีการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงทุกปัญหาในพื้นที่เข้าด้วยกัน

ปัจจุบันจึงเป็นชุมชนที่มีการรวมตัวของคณะกรรมการหมู่บ้านในการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความคิดและพฤติกรรมของประชาชน ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกประกอบคุณงามความดี มีคุณธรรม จริยธรรม เกิดแรงบันดาลใจที่จะมุ่งพัฒนาทั้งด้านความคิด การเสียสละต่อส่วนรวม และเอื้ออาทรต่อกัน ตลอดจนถึงการเคารพกติการะเบียบแบบแผน ในฐานะคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธด้วยกัน จึงได้มีการประกาศและปฏิญาณตนที่จะขับเคลื่อนหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยคัมภีร์ ๙ ดีคัมภีร์สร้างอนาคตให้ลูกหลาน ตามแนวทางของท่านเสรี ศรีหะไตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ จนเป็นที่รู้จักในชุมชนใกล้เคียง


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

๑.การพัฒนาของผู้นำท้องที่ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ คือ นายกิตติพงศ์ ชะร่างรัมย์ จากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ได้รับการเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลทะเมนชัย จึงเป็นที่มาที่ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ในการติดต่องานกับราชการ อำนาจต่อรอง การเสนอปัญหาในการขอรับสนับสนุนงบประมาณต่างๆ มีความเป็นต้นแบบหรือนำร่อง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจุดศูนย์กลางการดำเนินกิจกรรมตำบล หรืองานส่วนราชการ เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายๆ ด้าน จึงกลายเป็นชุมชนที่มีคุณธรรม มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีการจัดตั้งกลุ่มสวัสดิการมากมาย

๒.การขับเคลื่อนของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน คือ ชุดคุ้มครองหมู่บ้าน (ชคบ.) หรือชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ตามธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข ๙ ดี ที่เป็นกลไกหลักสำคัญในการขับเคลื่อนแผนครัวเรือนที่มีธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข ๙ ดี เป็นเครื่องมือ และใช้การประชาคมเป็นเครื่องมือในการชี้แจง พูดคุยแลกเปลี่ยน และสร้างความเข้าใจ๓.การพัฒนาชีวิตครัวเรือน การขับเคลื่อนคุณธรรมด้วยคัมภีร์ ๙ ดี และการปรับตัวของสมาชิกองค์กร


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

๑.เกิดการจัดสวัสดิการต่างๆในรูปแบบกองทุน เช่น กองทุนผู้สูงอายุ และผู้พิการ (กรณีเสียชีวิต) กองทุนสงเคราะห์หมู่บ้าน (กรณีเสียชีวิต) กองทุนสวัสดิการชุมชนออมวันละ ๑ บาท กองทุนสวัสดิการจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (ให้ฟรีจากใจกรณีเสียชีวิต) กองทุนเจ็บป่วยฉุกเฉิน กองทุนเพื่อการศึกษาเด็ก ผู้ด้อยโอกาส

๒.เกิดกลุ่มจิตอาสา กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดตำบลทะเมนชัย (จิตอาสาเพื่อสังคม) ชุดคุ้มครองหมู่บ้าน(ชคบ.)/ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)

๓.การได้มาของ “ชุมชนพอเพียงหลีกเลี่ยงอบายมุข ปลูกจิตสำนึกลูกหลาน เป็นแหล่ง

เรียนรู้ เคียงคู่คุณธรรม” มีสมาชิกเพิ่มจากชุมชนเล็กๆ ๓๙ หลังคาเรือน ปัจจุบันมีทั้งหมด ๕๓ หลังคาเรือน

๔.ชุมชนมีความสุข รู้คุณค่าของความสุข มีความกระตือรือร้น ยอมรับในระเบียบกติกาข้อบังคับที่เห็นพ้องต้องกัน คือ คุณธรรม ๙ ดี ไม่แยกพวกแยกฝ่าย เกิดจิตสำนึกที่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ มีจิตอาสา ปัญหาต่างๆ ลดลง ชุมชนมีความเข้มแข็งและสันติสุข ผู้คนมีศีลธรรม สุขภาพจิตดี มีความภาคภูมิใจ เต็มใจรับ เต็มใจให้ รู้รักสามัคคี มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส รับผิดชอบ ละเว้นความชั่ว เกรงกลัวต่อบาป ห่างไกลยาเสพติด รู้จักการออม ดำรงชีวิตตามระเบียบกติกา ประเพณีท้องถิ่น ดูจากการไม่กระทำผิดกฎหมาย คนในชุมชน สมาชิกในครัวเรือนหรือกลุ่มวัยรุ่น ตระหนักถึงความผิดทางกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ในงานบุญ หรืองานเทศกาลต่างๆ

๕.โครงการ “งานศพปลอดเหล้า ปลอดการพนัน” ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้หลายหมื่นบาท ปัญหาจากการดื่มเหล้าแล้วทะเลาะวิวาท ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างเต็มใจ

ผู้ประสานงานในพื้นที่

นายประเสริฐ ศิริมูล กำนันตำบลท่าเมือง

โทร ๐๘๑ ๘๗๘๑๔๙๕

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายประเสริฐ ศิริมูล ๐๘๑ ๘๗๘๑๔๙๕

แสดงความคิดเห็น

profile