กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ เป็นชุมชนที่มีเชื้อสายทั้งไทย จีน และลาว พูดภาษาไทยกลาง มีพูดภาษาลาวบ้างเล็กน้อย นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันสภาพชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามากขึ้น การคมนาคมสัญจรไปมาสะดวกรวดเร็ว แต่ยังไม่มีรถโดยสารประจำทาง นอกจากนี้คนในชุมชนรักษาศีล ๕ เข้าวัดปฏิบัติธรรม และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
๑.ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ เป็นชุมชนขนาดกลางที่มีผู้นำพลังบวร ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม เพื่อแก้ปัญหาและสร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน มีการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำพลังบวรและคนในชุมชนเพื่อใช้คุณธรรมนำการพัฒนาแก้ปัญหา สร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชนมีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมชุมชนบรรจุลงในแผนพัฒนาตำบล และแผนชุมชนฯ
๒.การดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรมผู้ประสานงานอำเภอลงพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อน ด้วยพลังบวร โดยการจัดประชุมประชาคมทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด ร่วมทำ จัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวมของปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้จนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง
๓.จัดตั้งคณะกรรมการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรในชุมชนและมอบหมายให้หน่วยงานกลุ่มบุคคล บุคคล สนับสนุนการปฏิบัติงาน
๔.ชุมชน บ้าน วัด ราชการ ร่วมกันจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของชุมชน
๕.สรุปรายงานผลการดำเนินงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมคุณธรรมฯ ต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมอำเภอ และจังหวัดตามลำดับต่อไป
๖ประเมินตนเองตามตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ๙ ขั้นตอนของชุมชนคุณธรรมต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
๗.ติดตามประเมินผลตามแผนงานส่งเสริมคุณธรรมชุมชนวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์
ความท้าทาย
เริ่มแรกคือคนในชุมชนให้ความสำคัญน้อยไม่ค่อยให้ความร่วมมือ จึงเริ่มมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความเข้าอกเข้าใจในชุมชน จึงทำให้มีประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง และเกิดรวมพลังสามัคคีมากยิ่งขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกปี
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ประชาชนหันมาให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนมากขึ้น ประชาชนยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือเป็นหลักในการดำรงชีวิต น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำรงชีวิต และรักษา สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ซึ่งเกิดผลลัพธ์กับชุมชน ดังนี้
๑.ปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งอบายมุข ทะเลาะวิวาท การทุจริต ขยะ สิ่งแวดล้อม การแสดงที่ไม่เหมาะสมในงานบุญงานเทศกาลประเพณี ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ลดลงตามลำดับ
๒.เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มจิตอาสา ทำความดี การรวมกลุ่มภูมิปัญญาและกลุ่มดนตรีไทย การจัดกิจกรรมและเข้าร่วมงานวันสำคัญมากขึ้น
๓.เกิดการฟื้นฟู พัฒนา ต่อยอด ถ่ายทอดงานเทศกาลประเพณีของชุมชน
๔.เกิดการพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค และช่องทางอื่น ๆ
๕) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานระหว่างชุมชนและการสร้างช่องทางสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
๖.เกิดการพัฒนาเส้นทาง และจุดท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทำให้มีนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนเข้าสู่ชุมชน
๗.เกิดมัคคุเทศก์ท้องถิ่น เพื่อบริการแนะนำ เล่าเรื่อง อัตลักษณ์ของชุมชน ตลอดจน
เกิดศิลปะการแสดง มีอาหารพื้นถิ่น สำหรับนักท่องเที่ยว
๑๐.มีข้อมูลจัดเก็บแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กลุ่มอาชีพในชุมชน
๑๑.เกิดความรัก สามัคคี เอื้ออาทรแบ่งปันซึ่งกันและกันในชุมชน มีระเบียบ วินัย ประหยัด อดออม สามารถพึ่งพาตนเอง และหาเลี้ยงชีพได้ เกิดการให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้น
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
ชุมชนคุณธรรมวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ มีเป้าหมายในการยกระดับชุมชนเป็น ชุมชนคุณธรรมฯ ต้นแบบ โดยการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ๙ ขั้นตอน ตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙ –๒๕๖๔) อย่างต่อเนื่องและเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ทำให้ประชาชนมีความสามัคคี มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ตามลำดับ
ข้อมูลการติดต่อ
พระครูปลัดธนกร เตชธฺมโม ๐๙๕-๔๙๒-๙๙๗๘
แสดงความคิดเห็น