community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านคอกช้าง

อ.ธารโต ต.แม่หวาด จ.ยะลา
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 30 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 5 คน
cover

“ชุมชนหลากหลายวัฒนธรรม ศักยภาพเข้มแข็ง สามัคคี กองทุนดี มีทรัพย์ยากรสมบูรณ์”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ชาวบ้านคอกช้าง ในอดีตคือชาวบ้านโตที่ได้อพยพจากพื้นที่เดิม ในปี พ.ศ ๒๕๑๙ ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำ คือ เขื่อนบางลาง ชาวบ้านคอกช้างหรือชาวบ้านโต ได้อพยพมาอยู่ที่ของทางไฟฟ้าฯจัดสรรไว้ให้คือบ้านคอกช้างในปัจจุบัน ในอดีตบริเวณบ้านคอกช้างเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างป่า ควาญช้างจึงทำการคล้องช้างและทำคอกบริเวณสนามโรงเรียนบ้านโตในปัจจุบัน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามคำเรียกขานของชาวบ้านว่า " คอกช้าง" เป็นชุมชนที่ใช้วัดคอกช้างเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ศูนย์รวมชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ             

 

เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ

         ชุมชนบ้านคอกช้างไม่ค่อยจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากนัก เพราะภายในชุมชนมีการวางแผนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมสร้างสันติสุขที่มีวัตถุประสงค์ โดยใช้พลังครอบครัว พลังมวลชนผ่านผู้นำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา ร่วมสร้างความปลอดภัย และความรักความสามัคคีทำให้ชุมชนเข้มแข็งและมีความสุข จึงกำหนดป้ายหมายหลัก คือการลดเหตุการณ์ความไม่สงบและความสูญเสียในพื้นที่หมู่บ้าน โดยกองกำลังประชาชน (ชรบ.) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญโดยมีผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เป็นแกนหลักสำคัญ ในการดำเนินงานต่างๆ ประกอบด้วย

         ๑. การจุดประกายความคิดในกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นของชุมชนบ้านคอกช้าง

          ๒.มีวัฒนธรรม ประเพณีของศาสนาที่ต่างกัน ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม คนไทยเชื้อสายจีน สามารถร่วมกิจกรรมของกันและกันได้ ผู้นำชุมชนสามารถประสานงาน และอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน อย่างเข้มแข็ง

         ๓.แม้จะมีความต่างในเรื่องของศาสนา แต่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงทำให้ชุมชนไม่ยุ่งยากต่อการบริหารจัดการ หรือสร้างความเข้าใจของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันโดยไม่สร้างความแตกแยก

         ๔.คนในชุมชนต่างเข้าใจถึงนโยบาย หลักการดำเนินยุทธศาสตร์ของศาสนาหรือหน่วยราชการในพื้นที่เป็นอย่างดี สามารถนำหลักศาสนาของตน รวมถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตจนเป็นที่ประจักษ์

          ๕.ชุมชนมีต้นทุนทางวัฒนธรรม สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนมาใช้ในการต่อตั้งกลุ่มเพื่อสร้างรายได้ มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน สามารถนำ ผลของกิจกรรมมาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาชุมชนของตนได้อย่างเด่นชัด

         ๖.ชุมชนบ้านคอกช้างถือว่ามีศักยภาพในการเป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นผู้นำชุมชนจึงนำเครือข่ายไปการศึกษาดูงานนอกสถานที่ แล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ ควบคู่กับดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เพื่อการบริหารจัดการ วางแผนการพัฒนา ให้สามารถขยายผลออกไปสู่ภายนอก


ความท้าทาย

๑.ปัจจัยภายในคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจการขาดความเชื่อมั่นในการพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยส่วนใหญ่ชาวชุมชนอยู่ในวัยกลางคน และเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ชุมชนขาดพลังในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และขาดการร่วมแรงในการพัฒนากิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวซ้ำ

     ๒. ปัจจัยภายนอกชุมชน ประกอบด้วยด้านนักท่องเที่ยว และภาครัฐ ด้านนักท่องเที่ยวไม่เข้าใจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างแท้จริง ไม่สร้างความผูกพันกับสถานที่ที่เคยไปเที่ยว ทำให้อัตราการกลับไปเที่ยวซ้ำมีน้อยลง และการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐด้านประชาสัมพันธ์ ทำให้การพัฒนาชุมชนด้านการท่องเที่ยวดำเนินไปอย่างช้าๆ


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ชุมชนคุณธรรมฯบ้านคอกช้าง มีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ร่วมสร้างความปลอดภัย และความรักความสามัคคีทำให้ชุมชนเข้มแข็ง อย่างมีความสุข มีวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างต่างศาสนา สามารถร่วมกิจกรรมซึ่งกันและกันได้ ผู้นำชุมชนสามารถประสานงาน และอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน อย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีต้นทุน และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนอย่างชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน สามารถสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองให้ปรากฏ มากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน มีการก่อตั้งกลุ่ม สร้างรายได้ บริหารจัดการกลุ่มของตนได้อย่างชัดเจน สามารถนำผลงานของกลุ่มต่างๆ นำเสนอสู่ชุมชนภายในให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาชุมชนการได้อย่างเด่นชัด โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ชุมชนบ้านคอกช้าง มีทรัพยากรและพื้นที่ที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ การส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบยั่งยืนนั้น จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาให้หมู่บ้านที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรและความต้องการของชุมชน ดังนั้นชุมชนจึงตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาให้ชาวบ้านในชุมชนคุณธรรมต้นแบบบ้านคอกช้าง ให้ “อยู่ดี มีสุข” ได้แก่ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำสวนยางพาราและไม้ผลให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้เลี้ยงสัตว์และปลูกผักสวนครัว ส่งเสริมเกษตรกรทำปุ๋ยชีวภาพเอง และการใช้ปุ๋ยให้ได้ประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้


ข้อมูลการติดต่อ

นายสุวรรณ ขุนอินทร์ ๐๘๔ ๙๖๔ ๗๖๔๖

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายสุวรรณ ขุนอินทร์ ๐๘๔ ๙๖๔ ๗๖๔๖

แสดงความคิดเห็น

profile