“ชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างโอกาสทางสังคม
เพื่อความอยู่ที่ดีมีสุข แบ่งปันช่วยเหลือ
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
องค์การบริหารส่วนตําบลแว้งได้มีการพัฒนาศักยภาพพื้นที่โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาคน และใช้วิธีการ “สร้างโอกาสทางสังคม” ให้คนทุกกลุ่มได้เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต นับได้ว่าเป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่น ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสร้างโอกาสทางสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและพื้นที่ โดยเส้นทางการพัฒนานั้นมีรูปธรรมในการดําเนินงานอย่างชัดเจน เน้นที่การขับเคลื่อนจากกลไกภายใน เชื่อมประสานกับกลไกภายนอก ก่อเกิดการขับเคลื่อนงานในตําบลจนเกิดความเข้มแข็ง
องค์การบริหารส่วนตําบลแว้งได้มีการดําเนินกิจกรรม ทั้งที่เกิดจากการรับฟังปัญหาและความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และกิจกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบายของส่วนกลาง โดยเส้นทางการพัฒนาสามารถสรุปได้เป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนขึ้นเป็นศูนย์จัดการเครือข่าย (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๖)
ระยะที่ ๒ ยุคสร้างความเข้มแข็ง เกิดเป็นศูนย์จัดการเครือข่าย (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๐)
ระยะที่ ๓ ยุคการจัดการตัวเอง ของชุมชนท้องถิ่นและการต่อยอดพัฒนา (พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน )
ความเชี่ยวชาญของพื้นที่ตําบลแว้งในการสร้างโอกาสทางสังคม
เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗ ตําบลแว้งได้ก่อเกิดศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน (ศจค.) มีการถอดบทเรียน แหล่งเรียนรู้โดยใช้โดยการวิจัยชุมชน (RECAP) และการจัดการข้อมูลตําบล (TCNAP) สามารถจัดไว้เป็นระบบต่าง ๆ พร้อมกับแบ่งระดับของแต่ละแหล่งเรียนรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ทั้งหมด ๗ ระบบ ๓๗ แหล่งเรียนรู้ ทําให้ได้เห็นทุนและศักยภาพของตําบลแว้งอย่างชัดเจนขึ้น และเกิดการต่อยอดพัฒนากิจกรรมเพื่อการสร้างโอกาสทางสังคม ตัวอย่างเช่น
๑.ชมรมผู้สูงอายุได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุตําบล มีการจัดสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ กองทุนจัดการกูโบร์ กองทุนชารีกัตมาดี จัดกิจกรรมเพื่อเยี่ยมเพื่อนและกิจกรรมเพื่อช่วยเพื่อนที่เป็นผู้สูงอายุด้วยกัน
๒.การดูแลเด็กและเยาวชน กลุ่มเด็กและเยาวชนสร้างสุขกําลังสาม เป็นการรวมกลุ่มของแกนนําเด็กและเยาวชนโดยมีการปั่นจักรยานเพื่อเก็บขยะในชุมชน และช่วยดูแลบ้านผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย กลุ่มกีรออาตีพี่สอนน้อง คือ กลุ่มเยาวชนที่เป็นอาสาสมัครในการสอนอ่าน คําภีร์อัลกุรอ่าน ตามหลักไวยากรณ์ที่ถูกต้องให้กับเด็กในพื้นที่แบบพี่สอนน้อง แสดงความเป็นจิตอาสาเยาว์วัย
๓.โรงเรียนชาวนาพัฒนา จากกลุ่มนาร้าง เป็นโรงเรียนการทําเกษตรอินทรีย์
๔.การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่เน้นการทํางาน ๔ องค์กร และผู้นําทางศาสนา ทุกศาสนาให้ความร่วมมือ
๕.กลุ่มชาเจ๊ะเหม ทําชาเพื่อสุขภาพและจัดการสิ่งแวดล้อม และเป็นสินค้าชุมชน
๖.กลุ่มส้มโชกุน ทําเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเพื่อลดการใช้สารเคมีทําการเกษตร
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มจิตอาสาในพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เช่น ลดจํานวนขยะบริเวณถนน ในลําน้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่ในครัวเรือน เป็นต้น
ถอดบทเรียนกระบวนการทำงาน
จากความเชี่ยวชาญในการสร้างโอกาสทางสังคม แสดงให้เห็นผ่านงานกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดการสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ การสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม และการสร้างการเข้าถึงบริการและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ดังนั้นแล้ว สามารถสรุปรูปแบบงานและกิจกรรม ในการสร้างโอกาสทางสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขได้ ๕ กลุ่ม คือ
๑) การจัดสวัสดิการสังคมในชุมชน
๒) การส่งเสริมการดูแล ๑๓ กลุ่มประชากร
๓) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔) การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
๕) การสร้างจิตอาสา
จากกระบวนการทำงานนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีในตำบลแว้งและเป็นการส่งเสริมศักยภาพของคนพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พร้อมจะต่อยอดในการพัฒนาต่อไป
ผู้ประสานงานติดต่อพื้นที่ :
นายอาซื้อมิง เจ๊ะอุเซ็ง ผู้ประสานงานชุมชน
ที่อยู่ ๒๓๔/๑๒ หมู่ที่ ๒ ตําบลแว้ง
อําเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ๕๕๖๑๖๐
โทรศัพท์ ๐๘๑ ๒๗๔ ๖๕๓๖
แสดงความคิดเห็น