community image

องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ตำบลเสม็ดใต้

อ.บางคล้า ต.เสม็ดใต้ จ.ฉะเชิงเทรา
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 0 คน
cover

“อบตเสม็ดใต้ รวมใจพัฒนา

อาสาสมัคร อผส. รุ่นใหม่ ใส่ใจผู้สูงอายุ

ชุมชนปลอดขยะ ถนนกินได้ เสม็ดใต้ปันสุข”


ตำบลเสม็ดใต้นั้นเด่นในเรื่องของการมีชมรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในการทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่สังคม ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครที่สามารถทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นได้ในทุกๆ ด้าน

นอกจากนี้แล้วยังมีกองทุนบริหารจัดการขยะ โดยเริ่มแนวทางการบริหารจัดการขยะจากปัญหาการร้องเรียนบ่อทิ้งขยะมูลฝอยและปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะเพื่อลดปริมาณขยะในพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีดังนั้นแนวทางที่จะจัดการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องมีการให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะในครัวเรือน ตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการการสร้างนวัตกรรมมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในครัวเรือนโดยประชาชนทั้ง ๖ หมู่บ้านมีข้อตกลงจากผลการประชุมประชาคมหมู่บ้านให้ยกเลิกการจัดจ้างเอกชนในการจัดเก็บขยะ ซึ่งดำเนินไปเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นพื้นที่ต้นแบบ

เส้นทางของการมาเป็นต้นแบบนั้น เริ่มต้นจากความทุกข์ยากของคนในชุมชนและนโยบายภาครัฐในเรื่องของการพัฒนานโยบายสาธารณะ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเท่าเทียม ด้านสิทธิมนุษย์ชน ให้สามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐและสิทธิต่างๆ ที่พึงได้รับ มีความเสมอภาคกันและให้ทุกคนในตำบลเสม็ดใต้มีความสงบสุข สามารถสร้างชีวิตอยู่ภายใต้การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย


วัยเด็ก พัฒนาเรื่องการศึกษา

วัยทำงาน พัฒนาเรื่องการให้องค์ความรู้ต่างๆในการดำเนินงาน

วัยผู้สูงอายุ ส่งเสริมและดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา และให้มีการทำกิจกรรมร่วมกันคือกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุแก่นเสม็ดใต้


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

ผลลัพธ์หรือพฤติกรรมของคนในชุมชนทางด้านคุณภาพชีวิตที่ส่งผลให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมจากการทำงานของจิตอาสาในแต่ละกลุ่ม เช่น

จิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และการดำเนินกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีชุมชน

การบริการของกลุ่มจิตอาสาทำให้คนในชุมชนเกิดการยอมรับและเชื่อใจ เกิดความศรัทธาและปฏิบัติตามในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมในชุมชนต่อไป

มีวินัยการคัดแยกขยะจากครัวเรือนในชุมชน โดยมีการสร้างความเข้าใจให้แต่ละครอบครัวรู้ถึงหลักการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สู่ตำบลที่มีการบริหารจัดการขยะได้ดี

เกิดการปลูกฝังค่านิยมและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับคนในชุมชน โดยเริ่มจากการจัดตั้งธนาคารขยะในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนทั้ง ๔ แห่ง

พฤติกรรมเชิงบวกที่มีต่อตนเองทำให้บุคคลมีการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงสุด เป็นคนคิดบวกช่วยเหลือสังคมมีความเอื้อเฟื้อมีจิตใจอ่อนโยน

พฤติกรรมเชิงบวกที่มีต่อเพื่อนร่วมงานในกลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงาน มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและการอุทิศตนเพื่อส่วนรวม

พฤติกรรมเชิงบวกที่มีต่อเพื่อนบ้าน เกิดสังคมที่มีความรักซึ่งกันและกัน เอาใจใส่ช่วยเหลือบ้านใกล้เรือนเคียง มีความหวังดีต่อกันเป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร ดังคำขวัญ “ลูกหลวงพ่อโสธร ไปด้วยกัน ไปด้วยกัน”

เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วม มีการทำงานร่วมกันอย่างจริงใจในการแก้ไขปัญหาทุกปัญหา ทำให้กลายเป็นคนที่มีคุณภาพส่งผลให้กลุ่มองค์กรมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้หน่วยงานและองค์กรภาครัฐในพื้นที่ได้มีการประสานการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันขององค์กรหลักในพื้นที่คือผู้นำท้องถิ่น ผู้นำส่งที่ หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน


ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

         ความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนคุณธรรม ผ่านการบริหารจัดการแบบ ๓ ด้านประกอบด้วย

๑)สร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากที่สุด

๒)สร้างการเรียนรู้ มีการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับคนในชุมชนอย่างเป็นระบบ

๓)สร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้ดำรงผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน


ผู้ประสานงานในพื้นที่

นางสาวณิชากร อินอ่อน

ตำแหน่ง ผู้อำนวนการกองสวัสดิการสังคม

โทร ๐๘๙ ๘๕๖ ๖๙๔๓

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสาวณิชากร อินอ่อน ๐๘๙ ๘๕๖ ๖๙๔๓

แสดงความคิดเห็น

profile