กว่าจะมาเป็นวันนี้
เรื่องราวจากการที่ได้ส่งตัวแทนเข้าอบรม ณ บ้านลาดด้วนต้นแบบของการแบ่งปันอาหารในยามวิกฤตโควิด-๑๙ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับกรมการพัฒนาชุมชน เกิดแรงจูงใจในการที่อยากจะทำ ในการอบรมครั้งนั้น ก็ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัวและนำรายได้มาสู่ชุมชน ลงพื้นที่แนะนำให้ชาวบ้านปลูกผักกินเอง ทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัว เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จึงได้คิดไอเดียทำสวนผักคนเมือง วิถีพอเพียง ตามรอยพ่อ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ พร้อมทั้งชักชวนเพื่อนบ้านในชุมชให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าภายในบริเวณริมรั้วบ้าน และพื้นที่รกร้างว่างเปล่าภายในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
เริ่มโดยพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคกได้ส่งเสริมให้ผู้นำน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงที่มีแพร่ระบาดของโควิด ๑๙ ในระยะแรกแล้วมาต่อยอด ขยายผลการดำเนินงาน โครงการปลูกผักสวนครัวในชื่อโครงการ “ปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยมีการรณรงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านทำการคัดแยกขยะ โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจและกิจกรรมสร้างแรงจูงใจ ให้ทุกครัวเรือนสามารถในการบริหารจัดการขยะเปียก นำเศษอาหารมาทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพใส่แปลงผัก การดูแลรักษาความสะอาดครัวเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ดูแลรักษาภูมิทัศน์/สิ่งแวดล้อมให้ชุมชนน่าอยู่ น่ามอง ขยายผลการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การสร้างคลังอาหารเพิ่มขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน
นอกจากนั้นแล้วยังมีการบริหารจัดการขยะโดยส่งเสริมให้ชุมชนดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำกลับขยะมาใช้ประโยชน์รวมถึงการรวบรวมขยะ ส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกฝังจิตสำนึก การลด คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในชุมชน และมีส่วนร่วมของคนในชุมชนลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก 3Rs คือ การลดปริมาณ นำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง และยังมีโครงการธนาคารขยะเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกในชุมชน โดยมุ่งหวังสู่ชุมชนปลอดขยะอย่างแท้จริง
ความท้าทาย
๑.การพัฒนาแบบเดิมมักมองกันว่าประชาชนเป็นผู้ไม่รู้ ไม่มีความคิดในการพัฒนา จึงให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำการพัฒนาในทุกด้าน เข้าไปปฏิบัติงาน ในหมู่บ้านและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชนนั้น จำเป็นที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้ชาวบ้านเสนอภูมิปัญญาที่มีอยู่ในตัวเองออกมาให้ได้
๒.ผู้ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนามักจะท้อแท้ ที่มองเห็นว่าชุมชนล่มสลายและขาดการมีส่วนร่วมมักจะเป็นข้ออ้างว่าพัฒนาไม่ได้แน่นอน แล้วพากันละทิ้งชุมชนนั้นไปซึ่งทำให้ชุมชนขาดโอกาสที่จะมีผู้เข้าไปร่วมเป็นภาคีการพัฒนา
๓.ประชาชนในชนบทมักไม่กล้าแสดงออกแม้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามทำให้การวางแผนการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่สามารถประเมินผลได้ในทันที
๔.ในพื้นที่เป้าหมายส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่ล่มสลาย ผู้นำหมู่บ้านตามกฎหมายมักไม่มีลักษณะเป็นผู้นำธรรมชาติ ความร่วมมือในการพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาจึงมีน้อย
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์ ตำบลบางเตยมีการบริหารร่วมกันทั้งฝ่ายปกครองและเทศบาลตำบลรวมถึงหน่วยงานพัฒนาชุมชน ปลูกผักสวนครัวเป็นครัวชุมชน และสามารถจัดการขยะส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้ “ชุมชนสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” สร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนสีเขียว “จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม” ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหารรักษ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา นำไปสู่ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนสามัคคี วิถีพอเพียง สามารถดูแล ช่วยเหลือ และแบ่งปันจัดตั้งศูนย์ขยายคลังเมล็ดพันธุ์ผักสำรองของตำบลไปต่อถึงอำเภอ เมื่อขาดแคลนชาวบ้านสามารถมารับเมล็ดพันธุ์ผักไปเพาะปลูกได้ เป็นการขับเคลื่อนมุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง
๑)ประชาชนมีพืชผักปลอดภัยไว้กินเอง และแบ่งปันเหลือก็จำหน่ายเพิ่มเป็นรายได้
๒)ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ถอดบทเรียนความสำเร็จ และการถอดบทเรียนจากตำบลที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น ที่มีความเข้มแข็ง มีผลการดำเนินงานดีเด่นระดับจังหวัดปทุมธานี ผู้นำการเปลี่ยนแปลงดีเด่นเป็นการประกวดผลการดำเนินงาน ระดับตำบล คัดเลือกตำบลที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ผ่านกระบวนการของผู้ตรวจราชการกรม
ผลกระทบ คือ ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลบางเตยในการ สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
๑.เพื่อให้ชุมชนในตำบลได้ชุดความรู้ท้องถิ่นที่ส่งเสริมรายได้โดยยึดฐานอาชีพเดิมและบริบทพื้นที่
๒.เพื่อให้ชุมชนในตำบลได้นวัตกรรมองค์ความรู้ในการลดต้นทุน/เพิ่มมูลค่า ของผลิตภัณฑ์ในบริบทพื้นที่
๓.เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนในตำบลบางเตยเป็นไปตามเป้าหมาย
ข้อมูลการติดต่อ
นางสมร ฟ้าคุ้ม โทร.๐๘๕-๔๘๒-๒๐๒๙
แสดงความคิดเห็น