วัดไผ่รอบเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน โดยมีพระครูวิสิฐเวฬุวัน เจ้าอาวาสวัดไผ่รอบ รองเจ้าคณะอำเภอ โพธิ์ประทับช้าง และกำนันสมชาย กิตต์ญาณ กำนันตำบลไผ่รอบ เป็นผู้นำโดยใช้พลังบวรเชื่อมโยงประสานกับหน่วยงานต่างๆ ให้มาร่วมคิด ร่วมทำกับคนในชุมชน เพื่อทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนยึดมั่นในหลักในหลักธรรมทางศาสนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และร่วมสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน มีระบบขยายเครือข่ายชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน รวมถึงการเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีกิจกรรมที่โดนเด่น อาทิ วัดจัดกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไทดำ เป็นต้น จึงส่งผลให้วัดไผ่รอบได้รับคัดเลือกให้เป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดพิจิตร และชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรที่มีแผนงานโดดเด่น จากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
มีการกำหนดปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำเพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนไปสู่ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ประกอบด้วย
ปัญหาที่อยากแก้
๑)ปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีของครัวเรือนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งมีต้นทุนสูง ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ ต้องกู้เงินมาลงทุน เป็นหนี้ต่อเนื่อง
๒)คนในชุมชนขาดความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะการจัดการภูมิทัศน์และการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น
๓)คนในชุมชนไม่มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลให้คนในชุมชนขาดความรักความสามัคคีกัน
ความดีที่อยากทำ
๑)ยึดมั่นในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และงานประเพณีต่างๆ
๒)การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการเกิดรายได้ในชุมชนเพิ่มขึ้น
๓)สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน รวมทั้งฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชน โดยการทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวม การรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์กิจกรรม รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชน การเผยแพร่ผลงานออกบูทแสดงผลิตภัณฑ์ ในชุมชนและจำหน่ายสินค้าชุมชนในราคาต้นทุน เป็นต้น
๔)ทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเอง พอมี พอกิน พอใช้ มีเหตุผล โดยยึดหลักธรรม ทางศาสนา รักษาศีล ๕
กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม
ดำเนินการโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน มีขั้นตอนดังนี้
๑)แต่งตั้งคณะกรรมการพร้อมทั้งคณะทำงาน
๒)ประชุมผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มเพื่อชี้แจงนโยบายและวัตถุประสงค์
๓)ประชุมประชาชนร่วมกันวิเคราะห์ประเมินศักยภาพหมู่บ้านและความต้องการของชุมชน โดยเริ่มที่การวิเคราะห์ต้นทุนชุมชน
๔)จัดทำแผนชุมชน กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
๕)ประชาสัมพันธ์แผนดำเนินการในชุมชน
๖.ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการชุมชนอย่างต่อเนื่อง
๗)ถ่ายทอด ให้ความรู้ พร้อมขยายเครือข่ายประเมินผลการดำเนินงาน
๘)ประเมินผลการดำเนินงาน
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
จากการดำเนินงานนั้นส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดประชาชน เด็ก เยาวชน มีจิตอาสา ทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเอง พอมี พอกิน พอใช้ มีเหตุผล โดยยึดหลักธรรมทางศาสนา รักษาศีล ๕ ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี ลดปัญหาสิ่งเสพติด อบายมุข การทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว เกิดการรวมกุล่มกัน และยังทำให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญที่ทางวัดดำเนินการมากขึ้น รวมถึงมีการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
๑)สนับสนุนกลุ่มเยาวชนทั่วไป เริ่มแรกตั้งแต่โรงเรียนต้องมีการเข้าไปอบรมให้ความรู้ โดยยึดหลัก เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา ให้เยาวชนนั้นส่งเสริมให้ทำกิจกรรมดีๆ มีการจิตสาธารณะหรือจิตอาสา นำเยาวชน ชุมชนมาทำงานร่วมกัน เป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อปลูกฝังให้เด็กเหล่านี้เกิดความเสียสละ การช่วยเหลือสังคม
๒)ขยายผลชุมชนคุณธรรมไปทุกหมู่บ้านในตำบลไผ่รอบ ให้เกิดเป็น“ตำบลคุณธรรม” ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
แสดงความคิดเห็น