community image

ชุมชนคุณธรรมวัดราษฎร์ศรัทธาทรงธรรม

อ.บางมูลนาก ต.วังสำโรง จ.พิจิตร
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 0 คน
cover

วัดราษฎร์ศรัทธาทรงธรรม ได้เข้าร่วมโครงการชุมชนคุณธรรม ทำให้มองเห็นการพัฒนาสังคมได้ชัดเจนขึ้น เริ่มต้นจากการพัฒนาจิตใจก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งทำให้ชุมชนคุณธรรมนั้นน่าอยู่มากยิ่งขึ้นเพราะชาวบ้านช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์กลางของจิตใจ โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประเพณีที่ดีงามมาสู่ชุมชน และส่วนหนึ่งมาจากความศรัทธาในกิจวัตรของพระสงฆ์ในวัดที่ปฏิบัติศาสนกิจพัฒนาวัดให้มีความเจริญทางด้านวัตถุเสนาสนะภายในวัด มีการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง และปฏิบัติตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา รักษาจารีต มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น

ก้าวสู่ชุมชนคุณธรรม

          เริ่มต้นด้วยการสำรวจต้นทุนของชุมชนและตกผลึกออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติ

ปัญหาที่อยากแก้ความดีที่อยากทำ

ชุมชนคุณธรรมวัดราษฎร์ศรัทธาทรงธรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญทางด้านการฟื้นฟูภูมิปัญญาชาวบ้านด้านวัฒนธรรม เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงได้รื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าๆ ขึ้นมา เพื่อให้ชาวบ้านและเยาวชนได้สืบสานให้ยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันได้เลือนหายไปตามกาลเวลา คือ “ประเพณีการทำขวัญข้าว” และการสืบสานปณิธานตามรอยพ่อหลวงในด้าน เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักสัมมาชีพ อีกทั้งยังมีพื้นฐานทางด้านจิตใจที่มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางด้านจิตใจ


กระบวนการก่อเกิดการพัฒนาคุณธรรม

๑)การพัฒนาผู้นำชุมชน ให้เป็นตัวอย่างกับชาวบ้าน โดยเริ่มจากครอบครัวมาสู่ชุมชน

๒)ระเบิดจากภายใน โดยเริ่มจากสร้างความเข้าใจอันดี ร่วมกันพร้อมแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน

๓)ส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิต โดยสนับสนุนรายได้เข้าสู่ชุมชนและส่งเสริมด้านการศึกษา

๔)ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน เช่นการส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

๕)การประเมินผล โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีงามและการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป


ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

: ที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม

๑)ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ มีระดับจิตสำนึกและพฤติกรรม ในการอยู่ร่วมกันเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดสำนึกรักชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น เพราะกระบวนการนั้นส่งผลให้คนที่เข้าร่วมเรียนรู้คุณค่าและ เอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและเกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ

๒)เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโดยใช้มิติด้านคุณธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ก่อนที่ปัญหาทุกอย่างจะจบลงด้วยความรุนแรง หรือบ้างก็จบ ด้วยกระบวนการทางกฎหมายชุมชนอาจใช้มิติคุณธรรมความดีใช้การประนีประนอม เจรจาเพื่อการแก้ไขปัญหามากขึ้น เพื่อลดความรุนแรงต่อกันลง

๓)ได้ก่อให้เกิดการร่วมมือจากหลายฝ่ายในชุมชน ทั้งองค์กรชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และสมาชิกชุมชน ซึ่งได้มีส่วนร่วมเข้ามาคิดและลงมือทำโดยไม่แยกฝ่าย ไม่แยกสีมีเจตนาร่วมกัน คือ ทำอย่างไรให้คนในท้องถิ่นของตนอยู่อย่างมีความสุข

๔)ปัญหาทางสังคมลดลง เช่น อาชญากรรม ปัญหาความไม่สงบ สถิติอุบัติเหตุต่างๆ เหล่านี้จะลดลง เพราะชุมชนส่วนใหญ่ตั้งมั่นอยู่ในหลักคุณธรรมความดี


ธรรมนูญความสุขชุมชนสู่การพัฒนา

         ๑)ค้นหาความจริงข้องพื้นที่ ชุมชนร่วมกันค้นหาต้นทุนทางสังคม ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรม เพื่อสานต่อ

         ๒)ตั้งเป้าหมายความเปลี่ยนแปลง ร่วมกันกำหนดนโยบาย ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ

         ๓)ออกแบบและกำหนดวิธีการดำเนินงานร่วมกัน

         ๔)ลงมือปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต โดยการปฏิบัติให้เป็นปกติสุขอย่างต่อเนื่อง

         ๕)ถอดบทเรียนความสำเร็จ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาขยายผล

         ๖)ชื่นชมยกย่องให้กำลังใจในการทำความดี พร้อมเผยแพร่ขยายผลสู่เครือข่าย


ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม

ขยายเครือข่ายคุณธรรมไปสู่ระดับหมู่บ้าน และหน่วยงานราชการในตำบล โดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมแบบพลังบวร มีการประสานงานระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน


ช่องทางติดต่อ

แสดงความคิดเห็น

profile