“คุณธรรมนำการพัฒนา
ชาวประชาอยู่เย็นเป็นสุข”
ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ มีความโดดเด่นด้านผู้นำศาสนาและประชาชนในชุมชนมีการรวมตัวกัน มีการดำเนินงานแบบร่วมคิด ร่วมทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีการเรียนรู้การจัดการและการแก้ไขปัญหาของชุมชนซึ่งทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ชุมชนที่มีการจัดการตนเอง (Community Management) ชุมชนที่มีจิตวิญญาณ และชุมชนมีสันติภาพ (Peaceful) ตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชน นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในระยะยาว
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือนั้นประชากรในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการปลูกพืชผักผลไม้ ซึ่งมีประชากรที่เดินทางเข้าออกคล้ายประชากรแฝงคลอดเวลาส่งผลทำให้เกิดปัญหาในชุมชน ดังนั้น ผู้นำชุมชนจึงจัดให้มีการประชุม เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยวิเคราะห์ต้นทุนชุมชนด้วยหลักการ“ปัญหาที่อยากแก้
ความดีที่อยากทำ”ปัญหาที่เกิดในชุมชนคือ
๑)เรื่องขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
๒)ด้านบุคลากรไม่เพียงพอ (ขาดแรงงาน)
๓)ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานต่างๆ ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
หัวใจของ “ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ” คือ คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รู้จักเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม กล่าวคือ ยึดมั่นหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เมื่อคนในชุมชนปฏิบัติตามหลักศาสนา อยู่ในกรอบของศีลธรรมและข้อปฏิบัติตามศาสนาที่ตนเคารพนับถือ ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนก็จะลดลงหรือหมดไป เกิดสิ่งดีงามในชุมชน นอกจากนี้ ประชาชนในชุมชนมีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ที่สามารถช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับคนในชุมชน และยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการในนามกลุ่มสามารถสร้างอาชีพ และรายได้ ตลอดจนมีเงินปันผลให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง
ความท้าทาย/พลังแห่งการขับเคลื่อน
พบปัญหาเรื่องขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ปัญหาด้านบุคลากรไม่เพียงพอ และปัญหาด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานต่างๆ ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ สาเหตุเกิดจากการที่ประชาชนไม่ค่อยมีเวลาว่างตรงกัน เพราะต่างก็ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ซึ่งมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเป็นตัวแทนของคนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ก่อให้เกิดระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และเป็นยอมรับว่าได้ผลในเชิงปฏิบัติ ตลอดจนมีภาครัฐเข้ามาขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร และช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนลดลง
ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
การดำเนินงานชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ ได้ดำเนินการตามหลัก ๓ ประการ ได้แก่ ๑)ยึดและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา ๒)น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ และ ๓) ดำรงชีวิตตามแบบวิถีวัฒนธรรมไทย ทำให้คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคี และมีพลังที่จะสร้างความเข้มแข็งในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำให้ลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันเพิ่มมากขึ้น
ก้าวต่ออย่างมีคุณธรรม
ชุมชนคุณธรรมวัดบางช้างเหนือ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน มีการช่วยเหลือดูแลคนในชุมชน สืบสานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแผนระยะ ๕ ปี โดยการดำริของ พระพิพัฒน์ศึกษากร เจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ ซึ่งจะจัดสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้วยการเจริญจิตภาวนา ตลอดจนใช้เป็นที่สงเคราะห์แก่ประชาชนตามโอกาสอันสมควร ต่อไป
ผู้ประสานงานในพื้นที่
วัดบางช้างเหนือ โทรศัพท์ ๐๓๔ ๓๒๕๕๒๐
ผู้ประสานงาน (ของชุมชนฯ)
นางขวัญเรือน แก้วประเสริฐ ครูสอนศีลธรรม ศพอ.วัดบางช้างเหนือ
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ ๘๐๒ ๔๓๕๙
แสดงความคิดเห็น