community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านหุบกะพง

อ.ชะอำ ต.เขาใหญ่ จ.เพชรบุรี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 3 คน
cover

“หุบกะพงแผ่นดินพระราชา”


กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ชุมชนบ้านหุบกะพง เป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นทีโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง มีกลุ่มอาชีพต่างๆ ตามพระราชดำริ เช่น กลุ่มสตรีศิลปาชีพป่านศรนารายณ์สหกรณ์หุบกะพง กลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย กลุ่มผู้เลี้ยงโค เป็นต้น เป็นแหล่งศึกษาดูงานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ในแต่ละปีที่จะหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนักท่องเที่ยวเข้าศึกษาดูงานและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่โดดเด่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ และพืชผลทางการเกษตร คนในชุมชนมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ภายในชุมชนมีวัดหุบกะพง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชุมชน มีโรงเรียนบ้านหุบกะพง เป็นโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ และสถานศึกษาต้นแบบด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ ถือได้ว่ามีความพร้อมในทุกด้านจึงได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดเพชรบุรี


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ 

         ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบของบ้านหุบกะพง มีการดำเนินงาน ดังนี้

         ๑) มีการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนคุณธรรม

         ๒) ชุมชนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ”

         ๓) ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมชองชุมชน เกี่ยวกับ“ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ”ซึ่งเป็นความต้องการของคนในชุมชน เพื่อประโยชน์สุขของชุมชน

๔) มีการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีการส่งเสริมการทำความดีเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามหลักคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

         ๕) ชุมชนมีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคคลผู้ทำความดี และบุคคลผู้มีคุณธรรมในชุมชน


ความท้าทาย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจชุมชนแย่ลง   มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย และการลดลงของนักท่องเที่ยว ชุมชนจึงต้องสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว มีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 อย่างต่อเนื่อง มีการปรับภูมิทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เข้ากับแนวทาง New Normal เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวว่าแม้จะเป็นการท่องเที่ยวที่จัดขึ้นโดยชุมชน แต่ยังมีมาตรฐานของการดูแลความปลอดภัยที่เป็นหลักสากลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนลายชื่อ การใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง การตรวจสอบอุณหภูมิร่างกาย การล้างมือ การฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อหลังร่วมกิจกรรม การดูแลความสะอาดของพื้นที่ เป็นต้น

ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานชุมชนคุณธรรม คนในชุมชนได้ระดมความคิดเห็น กำหนดเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ” และได้จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยชุมชนบ้านหุบกะพงมีปัญหาในเรื่องความสะอาดของชุมชน เนื่องจากเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชุมชนเป็นจำนวนมาก จึงได้ตั้งกลุ่มจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ทำให้ชุมชนสะอาดสวยงาม พร้อมต้อนรับผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ชุมชนบ้านหุบกะพง มีเป้าหมายที่จะดำเนินการ ดังนี้

๑) ส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาชุมชน โดยอิงกับวิถีชีวิตของชุมชนเป็นหลัก

๒) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในชุมชน ให้มีองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวชุมชน

๓) ส่งเสริมอาชีพที่ตอบสนองต่อเศรษฐกิจแบบใหม่ มีรายได้และมีความยั่งยืน

๔) พัฒนากลุ่มต่างๆ ให้มีทักษะการเป็นนักเล่าเรื่องชุมชนที่ดี สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ประวัติความเป็นมาและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชนได้

๕) พัฒนาชุมชนให้สอดรับกับการท่องเที่ยวในมิติที่หลากหลาย เช่น การบริการ ความปลอดภัย การอำนวยความสะดวก การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ชุมชนผ่านเทคโนโลยี เป็นต้น

๖) พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชน

๗) ผลักดันให้แต่ละภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน

๘) สร้างการรับรู้ในเรื่องของการพัฒนาชุมชนในแต่ละมิติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่แรงขับเคลื่อนภายในชุมชน

๙) .พัฒนาสื่อออนไลน์ให้มีความน่าสนใจ เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชน

๑๐) ปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งในส่วนของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวให้เหมาะสม

ข้อมูลการติดต่อ

นางสุมนา โชคลาภ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ๐๘๑-๘๗๔-๕๐๙๖

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางสุมนา โชคลาภ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ๐๘๑-๘๗๔-๕๐๙๖

แสดงความคิดเห็น

profile