community image

ชุมชนคุณธรรมบ้านดงน้อย

อ.นาดูน ต.พระธาตุ จ.มหาสารคาม
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 27 กันยายน 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 3 คน
cover

“หมู่บ้านมะพร้าวน้ำหอม กระปุกไม้ไผ่ออม

เงินแสน ดินแดนวิถีพุทธ จุดเริ่มต้นถนนมาลา เห็ดนางฟ้าแสนหวาน สรภัญญ์เสนาะหู

ดอนปู่ตาศักดิ์สิทธิ์ ร่วมน้อมจิตบุญรวมญาติ”

 

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ชุมชนคุณธรรมบ้านดงน้อย จากการบอกเล่าของบรรพบุรุษ นั้นสืบเชื้อสายมาจากเมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์ล้านช้าง) ชาวบ้านดงน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ก่อนจะมีความเข้มแข็งได้อย่างทุกวันนี้ แต่ก่อนเป็นชุมชนที่มีปัญหาด้านยาเสพติด การพนัน ดื่มสุรา และเกิดการทะเลาะวิวาท เกิดความแตกแยกกันอย่างรุ่นแรง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย มีหนี้สิน ทำให้คนในชุมชนไม่มีความสามัคคี ขาดการมีส่วนร่วม ส่งผลทำให้ชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา เด็กและเยาวชนไม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         ๑.มีการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายพลังบวร เพื่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชนอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีทักษะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่คนในชุมชนและการท่องเที่ยวการบริการของชุมชน อาทิ จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โครงการส่งเสริมอาชีพ

         ๒.ประกาศเจตนารมณ์ของชุมชน ความมีระเบียนวินัย บ้านเรือนสะอาด การจัดการขยะ คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรคโควิด-๑๙ อยู่กันแบบพึ่งพาอาศัย มีความรักความสามัคคี เน้นความเป็นวิถีวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

         ๓.วางแผนการดำเนินงานร่วมกันมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยว คนในชุมชนทำหน้าที่เจ้าบ้านที่ดี มีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนท่องเที่ยว มีโอกาสในการมีรายได้จากการค้าขายสินค้า และให้บริการแก่นักท่องเที่ยวภายใต้การจัดการที่เป็นระบบ ทำให้มีการหมุนเวียน ชุมชนมีการจัดทำข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน และด้านภูมิปัญญาของชุมชนไว้อย่างเป็นระบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีการจัดงานวัฒนธรรมประเพณีคนในชุมชนยึดถือคือประเพณีฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ โดยได้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่องกันมาทุกปี และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนถึงปัจจุบัน

๔.คนในชุมชนมีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา โดยบูรณาการทำงานกับสมาชิกในชุมชน มีรายได้โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิตวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านดงน้อยขับเคลื่อนด้วยพลังบวรอย่างเข้มแข็ง

         ๕.มุ่งเน้นให้คนในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรม อนุรักษ์ประเพณี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของชุมชน โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ “บวร On Tour” ของชุมชนคุณธรรมบ้านดงน้อย โรงละครหุ่นกระติ๊บข้าว เป็นต้น


ความท้าทาย

         เดิมความท้าทายของชุมชนบ้านดงน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน และการนำทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์วิถีชีวิตประวัติศาสตร์ของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ส่งเสริมให้เป็นชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยว เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่ สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน และจากการท่องเที่ยว

         ยึดความพอเพียงในการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง มีเหตุผล ใช้ความรู้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา มีความพอประมาณ ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ตลอดทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และมีการวางแผนงานชุมชนทุกระยะ

         ยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ทั้งวินัยต่อตนเองในการดำเนินชีวิต วินัยต่อส่วนรวม เคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกา มารยาทของสังคม

         มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหยัดในการรักษาความจริง ความถูกต้อง และเป็นธรรม

         มีความใส่ใจต่อสาธารณะ และอาสาลงมือทำอันมิใช่หน้าที่ของตนเอง ด้วยความรักความสามัคคี เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยมิได้หวังผลตอบแทน

         ชุมชนเกิดความรักความสามัคคี มีความสงบสุขมากขึ้น ปัญหาด้านต่างๆ ในชุมชนลดลง อย่างเห็นได้ชัด


เป้าหมายที่จะเดินต่อ

         ชุมชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะขยายผลภูมิปัญญา ความรู้ด้านการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมไปสู่สังคมภายนอก เพื่อให้ชุมชนอื่นที่สนใจ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ ไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้ อีกทั้งยังคงพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญา รักษา สืบทอดให้เด็ก เยาวชนในชุมชน เป็นการอนุรักษ์สิ่งเดิมให้คงไว้ และพัฒนาสิ่งใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนปลูกฝังให้เด็ก เยาวชนในชุมชนปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม สืบสานประเพณีชาวอีสาน ประเพณีท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป


ข้อมูลติดต่อ

นายสุวรรณ สีเถื่อน ๐๖๓-๖๖๗-๖๖๓๑

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นายสุวรรณ สีเถื่อน ๐๖๓-๖๖๗-๖๖๓๑

แสดงความคิดเห็น

profile