“ทุ่งโพธิ์ถิ่นธรรมชาติ ต้นยางใหญ่เด่นสง่า ภูเขาสวยตระการตา เกษตรนานาวิถีพอเพียง”
กว่าจะมาเป็นวันนี้
ประชากรในพื้นที่เป็นโดยมากเป็นชาวพุทธ ประกอบไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย เนื่องจากเป็นประชากรที่ย้ายถิ่นฐานมากจากภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก จึงทำให้ภาษา และวัฒนธรรมบางประการคล้ายคลึงกับคนภาคอีสาน มีประเพณีการทำขวัญข้าว ทำบุญข้าวประดับดินหรือที่เรียกว่า “บุญเดือนเก้า” ทำกันในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า โดยรวมประชากรมาจากหลายพื้นที่ ตั้งเป็นชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีลักษณะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ช่วยเหลืองานส่วนรวม แม้จะมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม แต่คนในชุมชนนั้นต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งปัญหาหนี้สิน ปัญหาสังคม อาชีพไม่มั่นคง การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก ขาดระแบบชลประทาน เป็นต้น
เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ
ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้ความสนใจในการร่วมกิจกรรมโครงการ ซึ่งเป็นการจุดประกายให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยกลไกด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านสังคมส่งเสริมสวัสดิการสังคม ด้านความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรในชุมชน ด้านวัฒนธรรม-ประเพณี จึงเกิดสังคมที่หน้าอยู่ ประชาชนมีความรู้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่สังคมที่มีคุณธรรม มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักความพอเพียง มีจิตสาธารณะ ประชาชนมีส่วนร่วม
ชุมชนตำบลทุ่งโพธิ์นั้นมีการดำเนินงานผ่านการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
๑.ด้านคนและสังคม : ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ส่งเสริมในเรื่องของการศึกษา จัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒.ด้านเศรษฐกิจ : ส่งเสริมในเรื่องของการประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ของคนในชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาคนว่างงาน ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน
๓.ด้านแหล่งน้ำ : จัดให้มีการพัฒนาปรับปรุง บำรุงรักษาหรือซ่อมแซมแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคการอุปโภคและเพื่อการเกษตร จัดหาและส่งเสริมให้มีแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลนโดยเฉพาะฤดูแล้ง เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ
๔.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนให้รัก หวงแหน ตระหนักและเห็นความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตลอดจนจัดให้มีการป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและจัดการดูแลและจัดการทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามตามธรรมชาติ
ความท้าทาย
การที่ตำบลทุ่งโพธิ์มีเขตติดต่อกับเขตอุตสาหกรรมกบินท์บุรีที่ตำบลหนองกี่ทำให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนตำบลทุ่งโพธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งเป็นผลดีและผลเสียต่อชีวิตประจำวันเนื่องจากอาชีพจะเปลี่ยนจากภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 60 และภาคการเกษตรจะขาดแรงงานทำให้มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานรับจ้างภาคเกษตรกรรม ดังนั้นเมื่อชุมชนมีประชากรที่ไม่ใช่คนดั้งเดิมจะส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมของตำบลทุ่งโพธิ์อย่างแน่นอน
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
๑.เกิดอาชีพ กิจกรรมที่มีประโยชน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
๒.สร้างรายได้ให้ชุมชนและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
๓.ขยายฐานการผลิตสินค้าชุมชนและมีตลาดรับรองผลผลิต
๔.เกิดกลไกตลาดชุมชนสีเขียวที่มีถนนสายหลักผ่านจำนวน ๓ จุด ได้แก่ ตลาดชุมชนบ้านทุ่งแฝก ตลาดชุมชนบ้านคลองปลาดุกลาย และตลาดชุมชนบ้านนิคมสหกรณ์
๕.กองทุนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยตำบลทุ่งโพธิ์มีการพัฒนาทุกๆมิติ เช่นด้านอาหารจะมีกองทุนข้าวสาร ด้านปัจจัยการผลิตภาคเกษตรจะมีกองทุนปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และมีกองทุนไบโอชาสำหรับพลังงานทางเลือก
๖.เกิดการรวมตัวระดับกลุ่มในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ทำให้เกิดชุดข้อมูลชุมชนสำหรับผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับ พมจ. ปราจีนบุรี แล้วส่งเสริมให้มีทักษะด้านการผลิต การแปรรูป และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อเชื่อมโยงกับสำนักงานเกษตรอำเภอนาดี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาดี
เป้าหมายที่จะเดินต่อ
แผนการขับเคลื่อนงานต่อไปการเคลื่อนงานด้านสังคมได้แก่สวัสดิการสังคมต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุจะต้องดูแลมากเป็นพิเศษงานพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมก็มีความสำคัญเนื่องจากความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเช่นการขาดแคลนน้ำ การขาดแคลนอาหารปลอดภัย พื้นที่ป่าลดลงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศตลอดเวลา
ข้อมูลการติดต่อ
นายไชยยศ โนจิตต์ ๐๘๑๘๖๔-๗๘๙๗
แสดงความคิดเห็น