community image

เทศบาลตำบลหนองบัว

อ.เมืองอุดรธานี ต.หนองบัว จ.อุดรธานี
วันที่สร้างโพสต์ : 20 กันยายน 2567
วันที่อัปเดต : 1 ตุลาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชม: 2 คน
cover

กว่าจะมาเป็นวันนี้

         ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองบัว เป็นเครือข่ายบริการปฐมภูมิเมืองอุดรธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นระบบบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลอุดรธานีซึ่งมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ คือส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมชุมชน/ภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนให้ตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และเข้าถึงบริการที่ดีมีคุณภาพอย่างสมดุล


เส้นทางสู่ความสำเร็จของการมาเป็นชุมชนต้นแบบ

         ขั้นตอนการดำเนินงาน ยึดหลักความโปร่งใสและระเบียบการปฏิบัติงาน ในการดำเนินโครงการเป็นระบบตามขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้จากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก

๑.ศึกษาระเบียบ กฎเกณฑ์ และแนวทางที่เกี่ยวข้อง เพื่อยึดเป็นหลักในการปฏิบัติงาน ป้องกันการเกิดปัญหาข้อร้องเรียนที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงาน และการให้บริการด้านสาธารณะของหน่วยงาน

๒.ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการระดมความคิดจากผู้เกี่ยวข้อง มีการถอดบทเรียนนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง นำข้อมูลจาการวิเคราะห์ ในด้านจุดอ่อนมาปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเวลาให้บริการคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้มากขึ้น ขยายกรอบรับบุคลากรเพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ การปรับปรุงสถานที่ให้ได้ตามมาตรฐาน

๓.ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นของคนในเขตพื้นที่เอง สามารถมารับบริการได้ตามสิทธิประโยชน์ของตนเอง สามารถให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะได้ เป็นการร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผลประโยชน์ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข มุ่งเน้นการให้บริการด้วยความเต็มใจ เป็นมิตร ดูแลผู้มารับบริการเหมือนคนในครอบครัว

๔.มีโครงการฝึกอบรมการเสริมสร้างวินัย ในการปฏิบัติราชการ และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสำนึกถึงการปฏิบัติตนให้เป็นข้าราชการที่ดี มีภูมิคุ้มกันตนเอง ไม่ให้กระทำผิดวินัย เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีต่อไป


ความท้าทาย

         จากการดำเนินงานได้ส่งผลกระทบเชิงบวกนอกกลุ่มเป้าหมาย จะเห็นได้จากมีผู้ป่วยนอกเขตมารับบริการด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้นำมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ดังนี้

         ๑.บุคลากรทางการพยาบาลยังไม่เพียงพอ

         แนวทางการแก้ไข ขยายกรอบอัตรากำลังเพื่อรับบุคลากรเพิ่ม

         ๒.ไม่มีระบบจ่ายตรงทำให้ผู้มารับบริการที่มีสิทธิเบิกได้ต้องสำรองจ่ายก่อน

         แนวทางการแก้ไข เสนอข้อมูลการทำระบบจ่ายตรงแก่ผู้บริหารเพื่อเพิ่มระบบจ่ายตรง

         ๓.เขตรับผิดชอบเป็นพื้นที่กึ่งเมือง ทำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรบ่อยส่งผลให้ยากต่อการควบคุมและติดตามเกี่ยวกับเรื่องระบาดวิทยา

         แนวทางการแก้ไข วางแผนการควบคุมและป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน

         ๔.คนในพื้นที่เป็นวัยทำงาน และเดินทางไปทำงานในเมืองทำให้การเข้าถึงเป็นไปได้ยาก

         แนวทางการแก้ไข วางแผนปฏิบัติงานนอกเวลาสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว


ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ประชาชนมีการตอบรับและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานในแต่ละชุมชนเป็นอย่างดี

         เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรต่อชุมชนเนื่องจากสามารถให้บริการทั้งผู้มารับบริการทั้งในและนอกเขตบริการ โดยมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลอุดรธานีมาตรวจรักษาทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ สามารถวินิจฉัยและส่งต่อได้ตรงจุด สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ลดความแออัดในการไปรับบริการสถานบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย (โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี) และการออกเยี่ยมบ้านในรายที่มีอาการซับซ้อนร่วมกับทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

         เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับภาคประชาชนหรือหน่วยงานอื่นที่สนใจการดำเนินงานของหน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มาศึกษาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการดำเนินการต่อยอดการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป

เป้าหมายที่จะเดินต่อ

๑.นำข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขและสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้สอดคล้องตามความต้องการของประชาชน

๒.จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองบัวและมีนโยบายขยายศูนย์บริการสาธารณสุขเพิ่มเป็นแห่งที่ 2 ให้ครอบคลุม ทั้ง ๓๘ ชุมชน ในเขตบริการของเทศบาลตำบลหนองบัว


ข้อมูลติดต่อ

นางนิตยา พลนิกร ๐๘๙-๕๗๖-๑๔๗๗ 

ช่องทางติดต่อ
ติดต่อได้โดยตรง
นางนิตยา พลนิกร ๐๘๙-๕๗๖-๑๔๗๗

แสดงความคิดเห็น

profile